THINK VISUALLY

สันติ ลอรัชวี
2022

การมองเห็นมาก่อนถ้อยคำเด็กๆมองเห็นและจดจำก่อนที่จะพูด
Seeing comes before words.
The child looks and recognizes before it can speak
— John Berger. Way of seeing : 1973

“ดวงตาเป็นหน้าต่างของหัวใจ (The eyes are the windows to the soul)”
เป็นสำนวนที่มักใช้เพื่ออธิบายความเชื่อมโยงที่ลึกซึ้งที่รู้สึกเมื่อมองเข้าไปในดวงตาของอีกคนหนึ่ง
อย่างไรก็ตาม เช่นเดียวกับหน้าต่าง ดวงตาทำงานทั้งสองด้านเช่นกัน มีความสำคัญต่อการที่เรามองโลกรอบตัวเรา (sight) และยังสำคัญต่อการคิด (vision) ของเราด้วยเช่นกัน การมองจึงมีความสำคัญต่อมนุษย์ เนื่องจากช่วยให้เราเชื่อมต่อกับสิ่งแวดล้อมรอบตัว ทำให้เราปลอดภัย และช่วยรักษาความคมชัดของความคิดและจิตใจของเรา ดังจะเห็นได้ว่าเรามักพบคำที่เกี่ยวข้องกับการมองที่หมายถึงความคิดหลายคำในภาษาอังกฤษ เช่น persepective, vision, point of view, I see เป็นต้น

กล่าวได้ว่าภาษาแรกที่มนุษยชาติใช้ในการสื่อสารกันคือภาษาภาพ
ตามที่เราพบได้จากภาพเขียนผนังถ้ำในยุคโบราณ 
หลังจากนั้นภาพจะถูกใช้ในการออกแบบภาษาเขียนอย่างที่เราเคยได้เห็นในตัวหนังสือโบราณ อักษรเหมือนภาพที่เก่าแก่ที่สุดจึงถือกำเนิดขึ้น ในอักษร “เจี่ยกู่เหวิน”  (อักษรที่แกะสลักบนกระดองเต่าและกระดูกสัตว์) ส่วนมากจะเป็นอักษรที่พยายามสร้างภาพลายเส้นจากรูปทรงของสิ่งที่กำลังหมายถึง เช่น พระอาทิตย์ ภูเขา หรือแม่น้ำ เป็นต้น

ต่อมามนุษย์จึงมีการพัฒนาอักษรชนิดแทนหน่วยเสียง โดยมีจุดเริ่มต้นอยู่ในอียิปต์โบราณ อักษรแทนหน่วยเสียงชนิดแรกเป็นอักษรไร้สระ โดยชาวเซมิติกในอียิปต์โดยได้รับอิทธิพลจากอักษรที่ใช้แทนเสียงพยัญชนะซึ่งใช้คู่กับอักษรคำในอักษรไฮโรกลิฟฟิก อักษรอื่น ๆ ที่ใช้ในปัจจุบันส่วนใหญ่พัฒนามาจากอักษรนี้
จนกระทั่งภาษากลายมาเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อความคิดของเรามากที่สุด ทั้งก่อให้เกิดความรู้และประโยชน์มากมาย ในขณะเดียวกันก็เป็นอุปสรรคและปัญหาต่อการทำเข้าอกเข้าใจในการอยู่ร่วมกัน ดังที่พระคัมภีร์ไบเบิลบทปฐมกาล 11 (Genesis 11) ได้ให้เหตุผลเอาไว้ว่า เหตุใดโลกของเราจึงได้มีภาษามากมายหลายหลากจนทำ ให้ยากในการติดต่อสื่อสารถึงเพียงนี้ และคำตอบนั้นก็คือ แรกเริ่มเดิมทีมนุษย์เราพูดจาภาษาเดียวกันทั้งหมด และได้พยายามที่จะสร้างสิ่งปลูกสร้างที่สูงเทียมฟ้าที่ถูกเรียกว่า หอคอยบาเบล (Tower of Babel) ขึ้นมาในนครแห่งหนึ่ง เมื่อมนุษย์สื่อสารด้วยภาษาเดียวกันจึงทำให้พวกเขาเข้าใจกันได้เป็นอย่างดี มนุษย์จึงสามารถทำได้ทุกสิ่งที่ต้องการ เมื่อพระเจ้าเห็นดังนั้นจึงเข้ามาแทรกแซงด้วยการทำให้มนุษย์พูดกันคนละภาษาเสียเลย ในที่สุดมนุษย์ทั้งหลายก็กระจัดกระจายออกไปทั่วแผ่นดินและเลิกล้มความตั้งใจที่จะสร้างเมืองและสิ่งปลูกสร้างสูงเทียมฟ้าไปสิ้น

แม้มนุษย์จะพัฒนาตัวอักษรและภาษาจนเป็นเครื่องมือสื่อสารที่จำเป็นต่อชีวิตทุกคน แต่มนุษย์เองก็ยังใช้ภาพมาเป็นองค์ประกอบหลักในการนำเสนอเรื่องราวต่างๆ รวมไปถึงการนำมาใช้ในกระบวนการคิดมาตลอดประวัติศาสตร์

หากยังจำกันได้เมื่อเราเป็นเด็ก พวกเราทุกคนชอบวาดรูป หลายครั้งที่เราสื่อสารกันด้วยรูปวาด เป็นรูปที่ไม่ได้มีกฏเกณฑ์ตายตัวว่าเด็กต้องจะวาดให้เหมือนจริง ไม่ว่าภาพเหล่านั้นจะสื่อออกมาได้เข้าใจมากน้อยแค่ไหน แต่กลับให้จินตนาการและความทรงจำที่ดีแก่เรา อาจเป็นเพราะสมองของคนเราถูกออกแบบให้จำเป็นภาพมากกว่าจะจำสัญลักษณ์อย่างตัวหนังสือ แต่ขณะที่ภาษาเขียนจะมีความตายตัวว่าจะต้องเขียนแบบนี้ สะกดแบบนี้ จึงทำให้เป็นทั้งข้อดีและข้อจำกัดไปในตัว

ขณะที่ภาษาเขียนลดความคลาดเคลื่อนในการสื่อสาร

การกำเนิดของอักษรจีนตั้งแต่เมื่อไรยังยากที่จะบอกได้แน่นอน อักษรที่โบราณที่สุดเท่าที่พบเห็นในทุกวันนี้คือ ตัวอักษร “เจี่ยกู่เหวิน” ที่ขุดพบจากโบราณสถานยินซวี เมืองอันหยัง มณฑลเหอหนานของจีน สมัยราชวงศ์ยินซาง การที่ได้ชื่อว่า “เจี่ยกู่เหวิน” เพราะว่าตัวอักษรเหล่านี้แกะสลักบนกระดองเต่าและกระดูกสัตว์ โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องการทำนายในช่วง 270 ปีนับตั้งแต่ระยะหลังของราชวงศ์ซางที่พระเจ้าผานเกิงย้ายราชธาณีไปอยู่ยินไปจนถึงพระเจ้าโจ้ว ซึ่งห่างจากปัจจุบันนี้ประมาณ 3,400 ปี

https://th.wikipedia.org/wiki/ประวัติศาสตร์อักษร

https://www.thairath.co.th/lifestyle/travel/abroad/1338905

แต่ภาษาเขียนก็อาจไม่สามารถสะท้อนความคิดสร้างสรรค์ ความคิดริเริ่ม หรือสร้างความสนุกสนาน ในการสื่อสารของคนแต่ละคนได้ รูปแบบการสื่อสารโดยใช้คำพูดและตัวหนังสือกลายเป็นกรอบความคิดเดิมๆ ที่ทำให้การสื่อสารและกระบวนการสร้างสรรค์นั้นถูกจำกัดลงได้เช่นกัน

Visual Thinking หรือการคิดเป็นภาพกลับกลายเป็นทักษะสำคัญที่ผู้คนทั่วไปหันมาให้ความสนใจมากขึ้น สามารถช่วยสร้างสรรค์นวัตกรรมและความคิดใหม่ๆ รวมถึงการนำมาใช้ในการนำเสนอความคิดที่เป็นนามธรรมให้เกิดความเข้าใจได้ชัดเจนขึ้น แต่พอพูดถึงการวาดรูปแล้ว หลายๆ คนก็รู้สึกกลัวหรือไม่มั่นใจที่จะวาดรูป ซึ่งครั้งสุดท้ายที่วาดอาจนานมาแล้ว แต่หากจำกันได้ เราทุกคนน่าจะวาดรูปเล่นกันทุกคนตอนที่ยังเป็นเด็ก แต่เราได้ทิ้งทักษะที่เราเคยมี เคยใช้มันจินตนาการถึงสิ่งต่างๆ และเคยมีความสุขกับมัน 

อาจถึงเวลาแล้วที่เราจะกลับไปสื่อด้วยภาพอีกครั้ง

การคิดด้วยภาพคืออะไร?
แผนที่ โลโก้ อีโมติคอน แผ่นพับคำแนะนำประกอบสินค้า
เราทุกคนรับข้อมูลจากรูปภาพนับไม่ถ้วนในแต่ละวัน

พวกเราหลายๆ คนอาจเคยเป็นเหมือนกัน
เวลาที่เราต้องคิดหนักเมื่อกำลังอธิบาย
บางสิ่งที่สลับซับซ้อน แล้วก็หยิบดินสอมาขีดเขียนบางอย่างออกมา

บางทีเรากำลังพยายามแสดงความคิดของเราเป็นภาพ
เพราะต้องการให้ความคิดนามธรรมที่มองไม่เห็นและจับต้องไม่ได้
มองเห็นขึ้นมาได้ จับต้องได้มากขึ้นนั่นเอง
(when you need to give shape to an abstract concept
make invisible — visible and intangible — tangible)

รูปภาพมีพลังที่กระชับชัดเจน
มันทำให้เราจดจำประเด็นสำคัญได้
และทำให้ความซับซ้อนง่ายขึ้นต่อการสื่อสารและทำความเข้าใจ

การคิดด้วยภาพเป็นมากกว่าแค่รูปภาพ
มันเกี่ยวกับการเดินทางทางความคิดด้วย
ภาพเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการคิดของเราด้วยเช่นกัน

เราทุกคนทำได้ และไม่จำเป็นต้องเป็นศิลปินหรือนักออกแบบ
การใส่ความคิดของเราลงในภาพวาดง่ายๆ
จะทำให้มีความชัดเจนและจุดโฟกัส
จนคุณสามารถตัดสินใจว่าอะไรที่สำคัญ
อะไรที่คุณต้องแก้ไข และจัดลำดับความสำคัญอย่างไร

การจำลองความคิดออกมาเป็นรูปภาพหรือแผนภูมิง่ายๆ
จะช่วยสกัดสิ่งที่เกี่ยวข้องและมีประโยชน์ออกมาจากสิ่งที่อยู่ในหัวของเรา
และนำออกมาแสดงในที่ที่คนอื่นมองเห็นได้เข้าใจ
และยังช่วยให้เรามองดูความคิดตัวเองจากมุมที่ต่างออกไป
ทำให้เราง่ายต่อการแก้ไขปรับปรุง หรือเชื่อมโยงต่อไปได้
นำไปสู่มุมมองใหม่ๆ จนเกิดไอเดียดีๆ ที่ไม่เคยคาดคิดถึงมันมาก่อน

Realated Content

25 Jul 2024
EveryOne-O-One (2024) : Class Note #10
18 Jul 2024
EveryOne-O-One (2024) : Class Note #9
18 Jul 2024
EveryOne-O-One (2024) : Class Note #8
08 Jul 2024
ANATOMY OF MIND & IKKYO-SAN
HASHTAG