Exchange: EP29, Lesson Learned from Leave Your Mark

บทบันทึกจากการสนทนา PS±D Night Club เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2564

ในห้องเล็กๆย่านสมุทรปราการที่มีสายลมแสงแดดพาดผ่านในตอนบ่าย ที่แห่งนั้นปกคลุมไปด้วยสีเทาฝุ่น ปลิดปลิวจากปล่องระบายอากาศของโรงงานอุตสาหกรรมหลายแห่ง ตื่นนอนยามเช้าผมมักจะคัดจมูกอยู่บ่อยๆ และรู้สึกตาพร่ามัวจากฝุ่นควันจนเป็นเรื่องปกติ ห้องแห่งนั้นมีสิ่งของไม่กี่อย่าง อย่างโต๊ะกินข้าวหนึ่งตัว คอมพิวเตอร์เครื่องเก่าๆที่พอใช้งานแค่การค้นหาความรู้ทางอินเตอร์เน็ต 

 ผมผ่านวันคืนเหล่านั้นด้วยกองชั้นหนังสือ หลากหลายเรื่องราวที่ทำให้ผันผ่าน ต่างจากเด็กทั่วไปในวันเดียวกันที่หากมีคุณภาพชีวิตที่ดีพอ ที่ได้ออกไปใช้ชีวิตภายนอก ใต้ร่มเงาของสวนส่วนกลาง ใต้ร่มยางต้นไม้สูง ใต้แรงลมพัดผ่านปลิวฝุ่นให้จางหาย ใต้เมฆขาวแห่งความฝันและใต้แรงขับเคลื่อนของเหงื่อกาย

ผมผ่านวันคืนเหล่านั้นด้วยกองชั้นหนังสือ หนังสืออย่าง การเดินทางของคิโนะ ที่ชวนหวนคิดถึงความหลากหลายของผู้คน การเดินทาง และ จุดมุ่งหมายในการใช้ชีวิต  เจ้าชายน้อย ที่เต็มไปด้วยสัญญะ คำถามมากมายของการเป็นผู้ใหญ่ ความสัมพันธ์ และการคงอยู่ของความเป็นเด็กในตัวเรา ตลอดจน อิฐหนังสือเล่มแรกของนิ้วกลมที่ทดลองการขีดเขียนรูปแบบต่างๆ อันเป็นตัวเปิดประตูความฝันสู่การขีดเขียนของตัวผม

หนึ่งในเรื่องเล่าของหลากหลายผู้คนนับพันที่บอกเล่าผ่านหนังสือเหล่านั้น บอกเล่าให้แรงบันดาลใจกับผมไว้ว่า คนเราไม่จำเป็นต้องเติบโตและใช้ชีวิตเพียงแค่ด้านเดียว

ในปีที่ผ่านมานั้น นักสร้างสรรค์ทั้ง 3 คน ได้แก่ Eaowen, Mu, Malinda ได้มีโอกาสเข้าร่วมเวิร์คช็อป Check±Shift±Change™ กับทาง PS±D (PRACTICAL school of design) ที่มอบเป็นรางวัลให้กับนักสร้างสรรค์จากงาน Bangkok Illustration Fair 2021  โดยทั้งนี้ในการทำกิจกรรมได้มีการชวนในการออกนอกเส้นทางที่คุ้นชินเพื่อสำรวจและทดลองวิธีการทำงานไม่ถนัดหรืออาจจะเคยมองข้ามอีกครั้ง และมีโอกาสหาความเป็นไปได้ใหม่ๆ ในการสร้างสรรค์ผลงาน

การได้เริ่มต้นออกจากกรอบเดิมๆ (Leave Your Mark) ของตัวเอง กลายเป็นผลลัพธ์ที่สำคัญที่ได้จากการจัดกิจกรรมครั้งนี้ แล้วการออกจากกรอบของตัวเองมันดีอย่างไรนั้นจะเป็นเรื่องที่ต้องอภิปรายกันต่อ

Leave Your Mark คือกิจกรรมที่ชวนให้ผู้เข้าร่วมออกจากกรอบของตัวเอง ออกจากเซฟโซนของตัวเอง โดยมีมุมมองที่ว่าไม่ต้องแตกต่างจากคนอื่น แต่ให้ตัวเองออกจากสถานที่ที่คุ้นชิน หรือทักษะแบบต่างๆ ที่ได้ลองทำ ทำให้เกิดความเป็นไปได้ใหม่ๆ มากขึ้น เพราะว่ามีอะไรที่เรายังสามารถเรียนรู้ได้อีกเยอะ จากกรอบความเป็นไปได้เดิมๆ จากการทำงานแบบเดิมๆ นั่นเอง

และอีกหนึ่งตัวแปรที่สำคัญก็คือ การวิพากษ์วิจารณ์ให้คำแนะนำชิ้นงานระหว่างกระบวนการออกจากกรอบเดิมๆ ของแต่ละคนจากการเปิดพื้นที่ทดลอง ตั้งคำถามดัวยความสงสัยใคร่รู้ การวิพากษ์นี้กลับเป็นอีกหนึ่งแรงผลักดันที่สำคัญที่ทำให้งานออกแบบมีผลงานที่ดีขึ้นมากขึ้นต่อไปอีกทางหนึ่งด้วย

คล้ายๆกับสิ่งที่ คาร์ล มากซ์ (Karl Marx) ยกย่องสิ่งที่สามัญชน กรรมกร ช่างฝีมือ ยอมออกจากกรอบอาชีพเดิมๆ ของตนหาความเป็นไปได้ใหม่ๆ ในการค้นหาคำตอบที่ตนมีต่อสังคม แล้วกระทำต่อการเปลี่ยนแปลงจนเกิด Commune de Paris ในปี  1871

ด้วยการทดลองผิดลองถูก ด้วยคำถามสงสัยใคร่รู้ว่ามนุษย์เรายังสามารถที่จะหักไปให้พ้นจากกรอบเดิม ๆ  ต้องใช้ความกล้าหาญเพื่อการเติบโตของตัวเองทั้งในความหมายของชีวิตและการทำงาน

ผมยังเห็นอีกว่าเพราะเช่นนี้เองชีวิตยังมีความเป็นไปได้อีกหลากหลายอย่างนอกเหนือจากการร่องรอยเดิมๆที่เราคงเดินอยู่โดยเลือกสรรออกแบบเริ่มต้นง่ายๆจากสิ่งที่เราชอบแล้วในที่สุดเราอาจจะพบความงดงามระหว่างทางเลือกเหล่านั้น

Realated Content

25 Jul 2024
EveryOne-O-One (2024) : Class Note #10
18 Jul 2024
EveryOne-O-One (2024) : Class Note #9
18 Jul 2024
EveryOne-O-One (2024) : Class Note #8
08 Jul 2024
ANATOMY OF MIND & IKKYO-SAN
HASHTAG