Round table 2 : EP3, Post-Covid Design Education

บทบันทึกจากการสนทนา PS±D Night Club เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2564

ไม่นานมานี้หลังสภาวะอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย อากาศหนาวในตอนเช้าเดือนเมษายน ฝนตกในฤดูร้อน คนรอบตัวเริ่มพูดถึงชีวิตประจำวันก่อนหน้าสถานการณ์โรคระบาด COVID-19 

การที่ได้หวนกลับไปคิดถึงเรื่องราวตอนนั้น ก็ชวนน่าขบคิดถึงการปรับตัวเพื่อเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตจากรูปแบบก่อนหน้าสถานการณ์โรคระบาด มาสู่รูปแบบการอยู่ร่วมกันกับโรคระบาดที่เกิดขึ้น

สถานการณ์ที่เกิดขึ้นมานั้นกลับชวนให้เรามาทำงานออนไลน์กันมากขึ้น และเจอหน้ากันน้อยลง
เราจำเป็นต้องยอมรับก่อนว่าโลกเราเปลี่ยนแปลงไปแล้ว
สิ่งหนึ่งที่พอจะนึกออกว่าพวกเราน่าจะทำได้…

คือการที่เราต้องรู้จักและเข้าใจเครื่องมือที่เรามี (ในที่นี้คือ เข้าใจเทคโนโลยีให้มากขึ้น และใช้งานให้เหมาะสมกับเป้าหมายที่เราอาจจะทำ) 

และด้วยความเปราะบางจากความไม่แน่นอนของสถานการณ์ในตอนนี้ ชวนให้คิดถึงต้นไม้สูงใหญ่ ยามพายุถาโถม หากมันไม่เอนอ่อน ปรับเปลี่ยนตนให้เข้ากับสถานการณ์ ต้นไม้สูงใหญ่แข็งแรงเพียงใดก็คงหักโค่นได้เช่นกัน เช่นเดียวกันกับมนุษย์หากไม่เปลี่ยนพฤติกรรมแน่นอนว่าจะต้องเผชิญหน้ากับสถานการณ์เลวร้ายอันเป็นผลพวงจากการไม่ยอมปรับตัว ไม่เพียงเฉพาะการทำงานเท่านั้น ยังรวมถึงการใช้ชีวิตประจำวันทั่วไป และรวมถึงการศึกษา

ในบางครั้งคนสอนก็จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการสอน จากเดิมที่เห็นหน้าผู้เรียน กลับต้องจดจ่อมองหน้าจอแทน บางครั้งก็ต้องคิดล่วงหน้าต่อผู้เรียน คิดวิธีการแก้ปัญหาที่ถาโถมเข้ามาอย่างไม่คาดคิด เมื่อผู้เรียนไม่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้ เช่น บางครั้งโปรแกรมอาจจะเกิดปัญหา การวางแผนการเรียนการสอน การเพิ่มเติมคลิปการสอนให้หลังคาบเรียน

การออกแบบการเรียนการสอนแบบเผชิญหน้าปกติ อาจจะใช้ไม่ได้ในยุคโรคระบาด การสื่อสารผ่านทางกายภาพลดน้อยลง อาจทำให้ต้องเน้นเนื้อหาที่น้อยลง รวมถึงลดการพูดถึงสิ่งที่ไม่เคยได้ยินมาก่อน เพื่อให้นักเรียนได้เข้าใจถึงบทเรียนได้มากขึ้น เช่น การมอบหมายให้ค้นคว้าบทเรียนล่วงหน้า ให้นักศึกษาได้ผ่านหูผ่านตากับเนื้อหามาก่อน แต่ในบางกระบวนการอย่างการตรวจแบบ (Sketch) กลับให้ผลดีกว่าจากการใช้เครื่องมือประชุมออนไลน์ ทำให้ชวนคิดว่าจริง ๆ แล้วมีกระบวนการใดบ้างที่จำเป็นต่อการศึกษาด้านการออกแบบแล้วกระบวนการใดบ้างที่ไม่จำเป็น ขั้นตอนใดควรพบปะเจอตัว และขั้นตอนใดควรออนไลน์

ยูเนสโกได้เสนอความเห็นว่าปัญหาแรกที่ควรแก้ คือ ความเหลื่อมล้ำ เมื่อทุกคนไม่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้ เราจะแก้ปัญหานี้กันอย่างไร จะสามารถออกแบบการศึกษาในสถานการณ์นี้อย่างไรให้เข้าถึงทุกคน ทั้งคนที่เข้าถึงและไม่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยี

ในขณะที่บทความจาก Eye on design หัวข้อ We are design student what happens next ได้มีการพูดถึงการมาถึงของสถานการณ์ COVID-19 ทำให้สังคมเราขาดช่วง ทำให้เราต้องพยายามเข้าถึงผู้คนในโลกออนไลน์มากขึ้น การปรับเปลี่ยนเพื่อเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้ชีวิตให้อยู่กับสถานการณ์เช่นนี้ ทำให้เกิดข้อคำถามที่ชวนคิดเพื่อค้นหาคำตอบร่วมกันต่อไปว่า
การออกแบบของเราคืออะไร
เราสามารถทำอะไรได้บ้าง
เราสามารถออกแบบเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมได้มากที่สุดอย่างไรบ้าง

แม้ระยะห่างทางกายภาพจะมากขึ้นจนก่อเกิดการเปลี่ยนแปลงการใช้ชีวิตประจำวันมันกลับจะยังมีผลดีอยู่บ้างที่ทำให้เรากลับสื่อสารได้มากขึ้นทั้งกับคนข้างนอกจอและกับตัวเราเองทุกครั้งที่การเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นแม้จะยากสำหรับการปรับตัวคล้ายรอวันฟ้าหลังฝนแต่เชื่อว่าหากเราผ่านมันไปได้จะพบกับสายรุ้งสวยงามแล้วจะมีสิ่งดีๆเกิดขึ้นสอดรับกับการเปลี่ยนแปลงเสมอ

Realated Content

25 Jul 2024
EveryOne-O-One (2024) : Class Note #10
18 Jul 2024
EveryOne-O-One (2024) : Class Note #9
18 Jul 2024
EveryOne-O-One (2024) : Class Note #8
08 Jul 2024
ANATOMY OF MIND & IKKYO-SAN
HASHTAG