Practical School of Design Interview — IDEA magazine Issue#394
เผยแพร่ 26.09.2021
IDEA magazine Issue#394
https://www.idea-mag.com/en/idea_magazine/394/
https://santivithee.design/2021/09/26/interview-idea-magazine-issue%EF%BC%83394/
Q1 Please introduce yourself briefly.
Hi! Sawasdee krub, ผมชื่อสันติ ลอรัชวี ผมเป็นนักออกแบบกราฟิก ศิลปินทัศนศิลป์ และอาจารย์ด้านการออกแบบให้กับมหาวิทยาลัยหลายแห่งในประเทศไทย โดยได้ร่วมเปิดสตูดิโอออกแบบที่ชื่อ PRACTICAL Design Studio และล่าสุดได้ร่วมเปิดพื้นที่การเรียนรู้ด้านการออกแบบที่ชื่อว่า PRACTICAL school of design โดยทำงานศิลปะและงานเขียนบทความควบคู่ไปกับการทำงานออกแบบและงานสอน
Hi! Sawasdee krub, my name is Santi Lawrachawee. I am a Thai graphic designer, artist, and instructor who has been instructing in multiple universities across Thailand. I have co-founded PRACTICAL Design Studio, which recently has shifted our objective to design pedagogy and become PRACTICAL school of design. Our school act as an experimental design space that aims to raise awareness about design towards everyday lives for everyone. Besides those, I am also creating art and writing educational content along with teaching and designing careers.
Q2 You have been teaching (had taught?) at many educational organizations such as Chulalongkorn University, Rangsit University and Bangkok University. Could you please tell us about the outline of each school and your class.
ผมเริ่มเป็นอาจารย์มาตั้งแต่ ปี 2540 จึงได้มีโอกาสเป็นทั้งอาจารย์ประจำและอาจารย์พิเศษให้กับหลายมหาวิทยาลัย แต่ปัจจุบันจะรับผิดชอบงานที่แตกต่างกัน เช่น ที่ Commnication Design (CommDe), Chulalongkorn University ผมจะทำหน้า Technical Advisor ให้กับนักศึกษาในการทำโครงการปริญญานิพนธ์ ซึ่งจะทำงานประสานกับ Studio Advisor ในการให้คำปรึกษาแก่นักศึกษารายบุคคล ส่วนที่มหาวิทยาลัยรังสิต ผมสอนวิชา Design Semiotics ให้กับหลักสูตรปริญญาโท MFA Design โดยจำนวนนักศึกษาในชั้นเรียนจะมีประมาณ 10-15 คน และผู้เรียนกลุ่มนี้จะมีพื้นฐานในการออกแบบที่แตกต่างกัน เพราะเป็นการเปิดรับบุคคลที่ไม่ได้จบสาขาการออกแบบให้เข้าเรียนได้ด้วย ส่วนที่ Communication Design Department มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ผมสอนในสถานะอาจารย์ประจำ โดยจะรับผิดชอบวิชาทั้งวิชาพื้นฐานอย่าง 2 Dimensional Design และกลุ่มวิชาออกแบบต่อเนื่อง ทำให้มีโอกาสร่วมชั้นเรียนกับนักศึกษากลุ่มเดิมตั้งแต่ปีแรกจนปีสุดท้าย และล่าสุดกับ PRACTICAL school of design นั้นเป็นการเปิดพื้นที่การเรียนรู้ด้านออกแบบสำหรับบุคคลทั่วไป จึงทำหน้าเป็นผู้ออกแบบแผนและเนื้อหาการเรียนรู้ รวมถึงการปรับบทบาทของตนเองเป็น Learning Facilitator มากกว่าเป็นผู้สอน บทบาทของผมในแต่ละที่จึงค่อนข้างแตกต่างกันมากในปัจจุบัน
Since 1997, I became a design instructor and have worked in both full-time and part-time positions in multiple universities. Nowadays as an educator, I am responsible for various teaching fields. For example: at Chulalongkorn University, Faculty of Communication Design(CommDe), I act as a Technical Advisor for students who work on their senior project which I also have to work closely with Studio Advisor to guide the student through their developing process. At Rangsit University, I teach ‘Design Semiotics Class’ in MFA Design. The class contains 10-15 students with different design and non-design educational backgrounds. At Bangkok University, I work as a full-time instructor for the Communication Design Department and responsible for a design fundamental class called 2 Dimensional Design which allowed me to closely guide the same group of students through their college years. While the most recently, I’ve co-founded PRACTICAL school of design which is an open space for everyone to learn about design. I’ve designed the course outline, learning contents, and also adjust my instructor role to become a Learning Facilitator. Therefore, you can say that my educational roles are different and influenced based on each work I am responsible and assigned for.
Q3 Please tell us about the entrance exams, admission requirements and basic design education after admission in design school in Thailand.
การสมัครเข้าเรียนสาขาการออกแบบในประเทศไทยมีตั้งแต่ระดับอาชีวะที่ผู้สมัครจะต้องสอบวิชาทั่วไป พร้อมกับการเสนอ portfolio หรือการสอบวิชาวาดเส้น สำหรับระดับปริญญาตรี ปัจจุบันประเทศไทยใช้ระบบการคัดเลือกสอบเข้ามหาวิทยาลัยรูปแบบใหม่ ที่เรียกว่า TCAS (Thai University Central Admission System) เป็นระบบที่เริ่มนำมาใช้ตั้งแต่ปีการศึกษา 2561 โดยทุกๆ ปี TCAS จะมีการคัดเลือกผู้สมัครจำนวน 5 รอบ แต่สำหรับปี 2564 มีการเปลี่ยนรูปแบบใหม่ ลดเหลือ 4 รอบ โดยมีทั้งรูปแบบการสอบวิชาสามัญกับการยื่น Portfolio หรือการสอบวิชาสามัญกับข้อสอบความถนัดด้านศิลปะและการออกแบบตามสาขาวิชาที่เลือก รวมถึงรูปแบบการรับสมัครนักศึกษาโดยตรงตามเกณฑ์ของแต่ละคณะ (วิธีนี้จะใช้ทั้งมหาวิทยาลัยของรัฐบางคณะ และมหาวิทยาลัยเอกชน) ส่วนในระดับปริญญาโทและเอกส่วนมากจะเป็นการข้อเขียน สัมภาษณ์ วัดทักษะภาษาอังกฤษ และแสดงหนังสือรับรอง (recommendation) เมื่อเข้าศึกษาแล้วโดยมากจะเริ่มต้นด้วยกลุ่มวิชาพื้นฐานทางการออกแบบ เช่น 2 dimensional / 3 Dimentional Design, Color Theory, Design Basics, Drawing รวมถึงกลุ่มวิชา General Education ที่ทางคณะจัดให้เรียน ก่อนจะเริ่มเข้าสู่รายวิชาที่เน้นตามสาขาตามลำดับ
There are many ways to attend design school in Thailand. For Vocational Education, students have to take general exams along with drawing tests or submitting portfolios. For Design Bachelor Degree, recently Thailand has applied the new type of admission test called TCAS (Thai University Central Admission System) which has been used since 2018. Every year, TCAS will select the applicant for 5 rounds, yet, it has decreased into 4 rounds in 2021. The exam format includes general subjects with a portfolio or a general subject with a specialized art and design test according to the selected field or students can also apply directly to some public and private universities. For master and Ph.D. degrees, most of the time students have to take writing tests, interviews, English skills tests, and present recommendation letters. When accepted, the student will start with design fundamental classes such as 2 Dimensional / 3 Dimensional Design, Color Theory, Design Basics, Drawing, along with other General Education that each faculty prepared before entering the selected field.
Q4 Please introduction 2-3 assignment and student works from the class.
ผมมักจะเริ่มต้นด้วยการให้นักศึกษาสำรวจตนเองใน 4 ด้าน เพื่อค้นหาความสนใจและทักษะที่สอดคล้องของแต่ละคน Self-reflection จึงเป็น assignment ที่มีลักษณะเหมือน questionaire ที่ผู้เรียนจะได้ตอบคำถาม 4 ข้อต่อเนื่องกันทุกคนจนครบ 1 สัปดาห์ ได้แก่ 1. “สนใจ” สิ่งที่คุณสนใจ 2. “มั่นใจ” สิ่งที่คุณทำแล้วมั่นใจหรือคนอื่นมั่นใจให้คุณทำ 3. “ตั้งใจ” สิ่งที่คุณมีความตั้งใจที่จะทำให้ได้ และ 4. “ค้างคาใจ” สิ่งที่คุณคิดว่ามันมีปัญหา ผมเชื่อว่าการสำรวจทั้ง 4 ด้านนี้จะทำให้นักศึกษาเกิดมุมมองที่มีมิติขึ้นต่อการเรียนและพัฒนาตนเอง อีกกิจกรรมหนึ่งที่มักมอบหมายให้นักศึกษาทำคือการฝึกฝนเร็วๆ แต่ต่อเนื่อง อย่างการให้นักศึกษาสร้างผลงานอะไรก็ได้ทุกวันต่อเนื่องกันในระยะยาว เช่น 21 วัน (ระยะเวลาที่สมองจะสร้างการจดจำจนเป็นทักษะที่คุ้นเคย) หรือ 1 เดือน กระบวนการนี้จะสร้างความคุ้นเคยต่อการการสร้างสรรค์อะไรบางอย่างในฐานะการดำเนินชีวิตประจำวัน จะทำให้พัฒนามุมมองและทักษะได้อย่างเป็นธรรมชาติ เหมือนการฝึกซ้อมของนักกีฬานั่นเอง เช่น การดรออิ้งภาพใบหน้าของคนๆ เดียวกันทักวันจนครบ 30 วัน เราจะได้เห็นผลลัพธ์ที่น่าทึ่งทีเดียว หรือการออกแบบโปสเตอร์จากข่าวสารรอบตัวทุกคน ก็จะทำให้นักศึกษาสามารถใช้ visual language ตอบสนองต่อชีวิตประจำวันได้ดีขึ้น และตัวอย่างสุดท้ายจะเป็นการให้นักศึกษาได้ทดลองออกแบบสัญลักษณ์หรือสื่ออื่นๆ ผ่านหลักการทางสัญศาสตร์ เช่น Class of sign ที่จำแนก sign เป็น iconic, indexical, และ symbolic เพื่อให้เกิดประสบการณ์ฝึกฝนภายใต้ทฤษฎีต่างๆ ทั้งด้านการออกแบบและสังคมวิทยา กระบวนการลักษณะนี้จะช่วยเชื่อมโยงภาคทฤษฎีให้เชื่อมโยงกับภาคปฏิบัติได้
First, I would give a Self-reflection assignment that allows students to discover themselves from 4 different angles to find their interests and abilities. Each student will experience the assignment in form of a questionnaire and have to complete the answer within 1 week. The questions are: 1. “Interest” What are your interests? 2. “Confident” What are you confident in? And What others are confident about you? 3.” Purpose” What is your purpose to succeed? 4. “Unsolved” What do you think are your problems? I truly believe that by discovering these 4 pillars will help students create their perspective toward learning and self-developing. Another assignment I always give to my students is ‘continually fast practicing’. For instance, I would encourage them to create any work every day for 21 days or more (the period that allows their brains to remember those practices as their own intuition). This process will create the familiarity of creating something as their usual behaviors which help enhance their perspectives and skills naturally. Just like when athletes practice for their progress. Likewise, design students can practice by drawing a person’s face for 1 month which will give a surprising result or they can design posters from daily news which will encourage their visual language skills in everyday lives. The last example is to let students design symbols or other communications media under semiotics theory such as Class of Sign that divides sign into iconic, indexical, and symbolic that will let students experience design principle and sociology under different theories and also connect theoretical and practical practices.
Q5 Is there any trends in students’ works, and please tell us a career after graduation.
คำถามนี้อาจขอตอบจากการสังเกตส่วนตัวมากกว่าจะเป็นข้อเท็จจริง แต่ก็จะเห็นได้ชัดตั้งแต่ตอนเป็นนักศึกษา ไปจนถึงการเสนอโครงการปริญญานิพนธ์ว่า งานออกแบบกราฟิกสำหรับสิ่งพิมพ์จะค่อยๆ ลดลงตามลำดับ ในขณะที่งานประเภทสื่อออนไลน์อย่างการออกแบบ UX/UI รวมถึงสื่อเคลื่อนไหวจะเพิ่มขึ้น รวมถึงงานออกแบบตัวอักษร คาแรคเตอร์ illustration บรรจุภัณฑ์ Branding การสื่อสารประเด็นทางสังคม การเมือง และสิ่งแวดล้อม จะยังพบเห็นได้อย่างต่อเนื่อง ข้อสังเกตที่เพิ่มเติมก็คือการนำเสนอผลงานในรูปแบบหรือสื่อที่แตกต่างออกไปอย่างการนำเสนอผลงานในรูปแบบของ installtion หรือในภาพลักษณ์ของนิทรรศการศิลปะ ก็เริ่มพบเห็นมากขึ้นในผลงานของนักศึกษา
ในด้านอาชีพของคนรุ่นใหม่นั้นมีทางเลือกหลายหลายขึ้นมากกว่าแต่ก่อน จึงพบว่านักออกแบบรุ่นใหม่ส่วนหนึ่งจะรับงานออกแบบอิสระมากขึ้น รวมถึงการเข้าสู่กระบวนการเป็น Start up ด้วย จึงพบว่าหลายสตูดิโอออกแบบให้ข้อมูลว่า ปัจจุบันหานักออกแบบที่ตรงความต้องการมาทำงานได้ยากขึ้น รวมถึงการมีทำงานหลายๆ ด้านไปพร้อมๆ กันของคนรุ่นใหม่ด้วย ที่กล่าวมานี้อาจเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดความหลากหลายของการทำงานหลังจบการศึกษาในปัจจุบัน
Apart from the truthful fact, I would like to answer this question based on my own experiences. As I have observed design students in their early years to students who work on their graduation projects, the interest in graphic design for publication has decreased. On the other hand, designing for online-based such as UX/UI and motion graphic has been increasing. Typography, Character Design, Illustration, Packaging, Branding or Communication for Social Issues, Politics Topics, Environmental Concerns can be seen widely across the generation. Another distinct remark is more students choose to execute their work in alternative formats such as installation and exhibition.
There is a wide range of career choices for the young generation. Many young designers become design freelancers while some of them join Start-Up. Many existing design studios admit that it’s getting harder to find someone who meets their requirements since the younger generation tends to have a multi-tasking working style. These might be some factors that create varieties of work after graduation nowadays.
Q6 I heard that in Thailand, institutions such as the TCDC, which was established in 2005, are taking the lead in focusing on design education but what is the status of design education in the country? Is there any changes after 2005.
ผมเห็นว่าการเรียนรู้เกี่ยวกับการออกแบบของสังคมไทยนั้นก้าวหน้าไปกว่าเดิมมาก ไม่เพียงแต่การดำเนินโครงการของ TCDC เท่านั้น (ซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนเป็น Creative Economy Agency (CEA)) แต่สถาบันการศึกษาและหน่วยงานภาคเอกชนต่างๆ ได้แก่ สมาคมวิชาชีพ เครือข่ายนักออกแบบสาขาต่างๆ สื่อสารมวลชน สตูดิโอออกแบบ แบรนด์สินค้าและบริการ รวมถึงระดับบุคคล ต่างมีส่วนในการสร้างสรรค์โครงสร้างและกิจกรรมต่างๆ จนภาพรวมของ Design Education ขยับตัวไปจากปี 2005 ไปมาก จะเห็นได้จากความเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ในระดับบทสนทนาทั่วไปที่ให้ความสำคัญกับการออกแบบมากขึ้น จนถึงการมี Bangkok / Chiang Mai Design Week (จัดโดย CEA) แม้ว่ากิจกรรมทางการออกแบบจะกระจุกอยู่ในเมืองใหญ่ แต่ก็เริ่มมีพื้นที่ทางการออกแบบมากขึ้นในภูมิภาคต่างๆ ฯลฯ แต่ในมุมมองส่วนตัวก็อาจยังไม่มากจนน่าพอใจกับเวลา 16 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งบทบาทของสถาบันการศึกษาด้านการออกแบบยังมีบทบาทต่อการเรียนรู้ทางการออกแบบของสังคมได้ไม่มากเท่าที่ควร ซึ่งน่าสนใจว่าในช่วง COVID19 ที่ทำให้รูปแบบการศึกษาต้องปรับตัวอย่างมาก โดยเฉพาะการหันมาใช้ online platform มากขึ้น อาจเป็นอีกปัจจัยที่น่าจะทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่หลังจากนี้ ไม่ใช่เพียงแค่จากฝั่งสถาบันหลักเท่านั้น แต่จะเกิดจากพฤติกรรมใหม่ในการเรียนรู้ของนักออกแบบรุ่นใหม่และผู้คนในสังคมด้วยเช่นกัน
I would say that design education in Thailand has grown plentifully. Apart from TCDC (which now changed to Creative Economy Agency or CEA), educational institutions and private organizations such as professional associations, designers network, mass media, graphic design studios, product and service brands, including personal affairs have played parts in creating design projects and activities that strengthen the overall well-being of Design Education from 2005. The result can be seen from a basic conversation toward design to Bangkok/Chiangmai Design Week which was held by CEA. Even though design activities have gathered in the big cities but other regions start to involve design activities in their area. However, in my opinion, the progress is not satisfied enough for the past 16 years especially for design institutions that do not play enough part in society. The latest situation of COVID19 has extremely affected the institutions to rely most of their schedule on the online platform. There will be a major change in design education not only from the main institution but from the young generation’s behavior and people in the society afterward.
Q7 If you are proceeding any project connect to the education, please tell me. Or if there is any interesting design education project, teacher and school in Thailand, please tell me the details.
ผมและหุ้นส่วน PRACTICAL Design Studio ได้หันมาให้ความสนใจกับการทดลองสร้างพื้นที่การเรียนรู้การออกแบบกันขึ้นมา หลังจากที่แต่ละคนมีโอกาสได้สอนตามมหาวิทยาลัยกันมาเป็นเวลาหลายปี เราเชื่อว่า Design Education นั้นควรจะมีส่วนที่สามารถเชื่อมโยงไปกับทุกคนในสังคมได้ และคำว่าโรงเรียนอาจไม่ได้จำกัดความหมายอยู่แค่สถานที่ ห้องเรียน หรือรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง แต่มันเป็นโจทย์ที่ท้าทายต่อการออกแบบว่า เราจะนำพาทักษะการออกแบบไปสู่ผู้คนในวงกว้างได้อย่างไร โดยที่ไม่จำเป็นต้องมีอาชีพนักออกแบบ เพราะการออกแบบเป็นศักยภาพที่มีได้ในทุกคน เราจึงเริ่มเปิด PRACTICAL school of design ขึ้นเมื่อต้นปี 2021 (www.practicalschoolofdesign.com) โดยเริ่มออกแบบโปรแกรมการเรียนรู้ให้กับผู้ที่สนใจ ทั้งที่เป็นนักศึกษา นักออกแบบ และบุคคลทั่วไป ผ่านรูปแบบที่หลายหลายตามความสอดคล้องการหัวข้อในการเรียนรู้ และเริ่มเปิดให้คนมาร่วมกิจกรรมแล้วตั้งแต่ต้นปี อาทิ การอบรมกระบวนการสร้างสรรค์โครงการออกแบบให้กับนักศึกษาที่กำลังเสนอหัวข้อปริญญานิพนธ์ (Designing Design Project), การอบรมและแนะนำการส่งผลงานโปสเตอร์ในโครงการ Japan International Student Poster Awards (JISPA) โดยร่วมมือกับ JAGDA, Design Club ที่อบรมเรื่อง Creative Drawing, การจัดรายการ Design Night Club ทุกคืนวันศุกร์ผ่านทาง Clubhouse เพื่อเป็นพื้นที่สนทนาทางการออกแบบ และการจัดนิทรรศการศิลปะและการออกแบบในพื้นที่ของโรงเรียนที่ชื่อ PS±D Space เป็นต้น รวมถึงโปรแกรมอื่นๆ ที่กำลังจะดำเนินการในปีนี้ เช่น Design Walk, การเปิดคอร์ส Design Fund. ให้ผู้ที่สนใจ, การเปิดให้คำปรึกษาด้านการออกแบบแก่ผู้ประกอบการ และเมื่อเราผ่านวิกฤตการณ์โรคระบาดแล้ว เราตั้งใจจะทำ Design Camp เพื่อเปิดการเรียนรู้ด้านการออกแบบร่วมกับการท่องเที่ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศอีกด้วย
After years of teaching experience in multiple universities for each of us, I and my partners at PRACTICAL Design Studio have converted our interests toward creating the space for exploring design. We truly believed that Design Education should be a vital part that can connect everyone in society. While the definition of ‘School’ should not be limited to some particular place, classroom or form, instead, it should be our biggest challenge of how we can reach and enlarge the design skill to a wider range of people including those who might not be proficient since everyone was born with the design ability. Thus, we established the “PRACTICAL school of design” at the beginning of 2021 (www.practicalschoolofdesign.com) and started designing the course for people who are interested whether they are students, designers, or others through various types of courses according to the topics. Since the beginning of this year, many have participated in our course such as a course that designed for students who prepared for their senior projects called ‘Designing Design Project’, a 1-day workshop in collaboration with JAGDA to introduced Japan International Student Poster Awards (JISPA) to Thai students, Create ‘Design Club’ that focused on creative drawing, Held ‘Design Night Club’ every Friday through Clubhouse application to open the space for design discussion, managing the art and design exhibition in our PS±D Space, and so on. We also have other incoming programs throughout the year such as Design Walk, Design Fundamental, Design consultation for the entrepreneur. And after this Covid-19 crisis, we’re aiming to launch our Design Camp to promote design education through traveling in both Thailand and other countries.