Round table: EP8, Design as Art
บทบันทึกจากการสนทนา PS±D Night Club เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2564
เคยได้ยินใครบางคนบอกไว้ว่า งานศิลปะกับการออกแบบไม่ต่างกันมากนัก
ใครอีกคนคนอาจจะเห็นแย้ง ว่ามันต่างกัน งานออกแบบต้องใช้วิธีการทำงานกับผู้คน แต่งานศิลปะนั้นกลับใช้ตัวตนของศิลปินเป็นผู้ผลิตงานเป็นสำคัญ
และใครอีกคนบอกว่า จริงๆแล้ว มันไม่ต่างกันนักหรอก มันมีความใกล้เคียงกัน บางครั้งบางครา การออกแบบก็สามารถนำเสนอสิ่งที่ตนเองคิด สิ่งที่ตนเองเชื่อ สิ่งที่ตนเองกระทำได้เหมือนกัน ตรงจุดนี้เอง อาจจะเป็นความเหมือนกันระหว่างงานศิลปะและงานออกแบบ
แน่นอนว่าคำถามนี้เกิดขึ้นกับ สันติ ลอรัชวี เช่นกัน
ย้อนกลับไปช่วงปี 2551 หอศิลปมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (BUG) ได้เริ่มมองหานักสร้างสรรค์สาขาอื่นที่ไม่ใช่แค่ศิลปินมาจัดแสดงผลงาน ที่แห่งนี้เองที่เป็นที่แรกที่สันติเองได้เริ่มแสดงงาน โดยในตอนแรกนั้นเองที่ตัวเขาก็ไม่รู้ว่าจะได้อะไรจากการจัดแสดงงาน
การทำการจัดแสดงงานเดี่ยวครั้งแรกนี้เองที่ทำให้กรอบความคิดของตัวเขาเองขยับขยายจากแค่โจทย์ที่ลูกค้าให้มาสู่การนำเสนอสู่การนำเสนอในสิ่งที่ตัวเองคิด ได้พบความสุขของผู้มาชม ตลอดจนได้รับการตอบรับเป็นการแสดงความคิดเห็นจากผู้เข้ามาชมงาน
การออกแบบถูกปรับเปลี่ยนความหมายให้ลึกซึ้ง จากเดิมที่ต้องทำงานกับผู้คน ต้องคิดถึงคนอื่นเป็นสำคัญ แต่พอมาทำงานศิลปะ ทำให้การทำงานกับคนอื่นดูน้อยลง ทำให้ได้มีพื้นที่และเวลาที่กลับมาตรวจสอบความคิดตัวเอง ปรับแต่อารมณ์ ขัดเกลาความคิด
กลับกลายเป็นการออกแบบเพื่อจัดการ สร้างความสมดุลของชีวิต
จนมาถึงนิทรรศการล่าสุดที่ชื่อว่า Memorandum of Understanding (MOU) หรือข้อตกลง ที่เริ่มต้นจากการการถ่ายรูปแม่น้ำจากสถานที่ต่างๆ ที่สันติได้เดินทางไปพบเจอ จากตอนแรก ถ่ายด้วยการที่ยังไม่มีเป้าหมายในการถ่าย จวบจนมาช่วงหลังๆ ที่ปรับเปลี่ยนการถ่ายภาพแม่น้ำโดยความคิดที่ว่าว่า เรามีความคิดอะไรกับแม่น้ำสายนั้น ความรู้สึกอย่างไร ควบเข้ากับลักษณะของสายน้ำ มีการออกแบบการเก็บภาพ
งานนี้ตัวเขาเองคิดว่ามีความเป็นศิลปะมากกว่างานออกแบบ เนื่องจากมองว่าเป็นกระบวนการออกเดินทางไปพร้อมกับการทำงานและด้วยแบบแผนไม่ค่อยชัดเจน คิดอะไรได้ก็ทำ ไม่ได้เน้นเรื่องการสื่อสาร ว่าต้องการพูดถึงเรื่องใดเรื่องหนึ่งเป็นพิเศษ ความที่มีความรู้สึกปลายเปิดอย่างนี้ เลยเป็นการแสดงรูปธรรมของความทรงจำตลอด 10 ปีของตนเขาเอง
ความยากของงานนี้ คือความคาดไม่ถึง คือการที่ได้กลับไปยัง ต้นทางของความทรงจำของตนแล้วรู้สึกด่ำดิ่งไปกับมัน การรื้อของตัวเขาเอง แม้จะทำให้เกิดการเปิดแผล หยิบจับความทรงจำในลิ้นชักออกมา แต่ด้วยการกระทำกับความทรงจำนี้เองที่ทำให้วิธีการทำงานออกแบบ มีส่วนที่ใช้ศิลปะในการออกแบบโดยการกลับไปพูดคุยกับตัวเอง ทำให้การออกแบบและงานศิลปะกลับมีบางส่วนที่เกี่ยวโยงกันขึ้นอยู่กับตัวผู้สร้างสรรค์นั้นเอง
แน่นอนว่าหลังจากนี้แววตาของเราในการมองภาพศิลปะและการออกแบบจะเปลี่ยนไปจากเดิม
งานนิทรรศการ MemOyoU จะจัดแสดง ที่ CASE Space Revolution ตั้งแต่วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤษภาคม 2564 – 31 สิงหาคม 2564 โดยจะเปิดให้เข้าชมผ่านการนำชมแบบส่วนตัว โดยสามารถจอง เข้าชมได้ที่เบอร์ 085-492-6422 หรือติดตามรายละเอียดตารางเข้าชมเพิ่มเติมได้ที่ FB : CASE Space Revolution