Let’s try to leave
สันติ ลอรัชวี
มิถุนายน 2564
บทนำนิทรรศการ Leave your mark 2022
กล่าวออกตัว
ผมคิดว่ามันเป็นสิ่งที่ต้องระมัดระวังอย่างยิ่งในการให้คำแนะนำนักสร้างสรรค์รุ่นใหม่ที่มีผลงานที่น่าสนใจและเริ่มมีแนวทางมี่เป็นเอกลักษณ์ในการสร้างสรรค์ผลงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเชื้อเชิญให้ทดลองแสวงหาความเป็นไปได้อื่นๆ จากแนวทางที่ตนเองได้ฝึกฝนและทำงานมาอย่างหนัก ดังนั้นจึงจำเป็นต้องชี้แจงถึงเจตนารมย์ของโครงการจัดเวิร์คช็อป Check Shift Change ภายใต้ธีม Leave Your Mark ว่าไม่ได้เป็นการวิพากษ์ผลงานหรือแนวทางของผู้เข้าร่วมโครงการว่ามีข้อบกพร่องหรือข้อน่าปรับปรุงใดๆ หากแต่เราต้องการเพียงแค่เสนอประสบการณ์ที่เป็นทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจในการบริหารการสร้างสรรค์เฉพาะตัว ให้ผู้เข้าร่วมได้มีโอกาสได้สำรวจและทดลองหาความเป็นไปได้ใหม่ๆ จากโจทย์และข้อจำกัดหนึ่งๆ เท่านั้น
เดวิดคาร์สัน (1954 – )
จากนักเล่นกระดานโต้คลื่นครูโรงเรียนมัธยมสู่ตำนานปฏิวัติการออกแบบกราฟิก
David Carson เป็นนักออกแบบกราฟิกและผู้กำกับศิลป์ร่วมสมัยที่โดดเด่น รูปแบบกราฟิกที่แปลกใหม่และเต็มไปด้วยการทดลองของเขาได้ปฏิวัติฉากการออกแบบกราฟิกในอเมริกาในช่วงปี 1990 เขาเป็นผู้กำกับศิลป์ของนิตยสาร Ray Gun ซึ่งเป็นที่ที่เขาได้สร้างการออกแบบตัวอักษรและเลย์เอาต์ที่แตกต่างจนถือเป็นแนวทางใหม่ จนได้รับการขนานนามว่าเป็นก็อดฟาเธอร์แห่ง ‘Grunge Typogarphy’
คาร์สันเกิดในเมืองคอร์ปัส คริสตี รัฐเท็กซัส เขาศึกษาสังคมวิทยาจากมหาวิทยาลัยแห่งรัฐซานดิเอโก และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีศิลปศาสตร์ เขามีโอกาสได้สัมผัสกับการออกแบบกราฟิกในช่วงเวลาสั้นๆ ขณะเข้าเรียนในชั้นเรียนการออกแบบเชิงพาณิชย์สองสัปดาห์ที่มหาวิทยาลัยแอริโซนาในปี 1980 (อายุ 26 ปี) ต่อจากนั้น เขาได้เข้าเรียนที่ Oregon College of Commercial Art เพื่อศึกษาการออกแบบกราฟิกและเข้าร่วมเวิร์กช็อปสามสัปดาห์ในสวิตเซอร์แลนด์ เขารับงานสอนที่โรงเรียนมัธยมในแคลิฟอร์เนียอยู่หลายปี นอกจากนี้ยังเป็นนักเล่นกระดานโต้คลื่นมืออาชีพ และเขาได้รับการจัดอันดับที่ 9 ในปี 1989 อีกด้วย
David Carson เริ่มหลงใหลในการออกแบบกราฟิกในช่วงหลังของชีวิต ในช่วงเริ่มต้นเขาทำงานเป็นนักออกแบบให้กับนิตยสาร Self and Musician และยังได้ทำงานให้กับนิตยสาร Transworld Skateboarding จากความหลงใหลในการเล่นเซิร์ฟ ซึ่งปูทางไปสู่การออกแบบเชิงทดลองของเขา จนได้เป็นผู้กำกับศิลป์ของนิตยสารในปี 1984 และได้ทำการแก้ไขรูปแบบและเลย์เอาต์ตลอดการทำงานที่นั่น ในช่วงเวลาที่เขาอยู่ที่ Transworld Skateboarding นี่เองที่ได้พัฒนาสไตล์ที่เป็นเอกลักษณ์โดยใช้เทคนิคการตัวอักษรเชิงถ่ายภาพแบบ ที่แปลกใหม่ ไม่เนี๊ยบเป็นระเบียบอย่างที่ยึดถือกันในงานกราฟิกก่อนหน้านี้ (the use of unconventional ‘dirty’ type photographic techniques) และในปีพ.ศ. 2530 เขายังมีส่วนในขยายไปสู่นิตยสาร Transworld Snowboarding อีกด้วย
ในปี 1989 เขาทำงานที่นิตยสาร Beach Culture ในฐานะผู้กำกับศิลป์ หลังจากการตีพิมพ์เพียงหกฉบับ นิตยสารก็ปิดตัวลง อย่างไรก็ตามคาร์สันก็ได้สร้างชื่อให้กับตัวเองผ่านโอกาสนี้ เนื่องจากการออกแบบที่มีสไตล์เด่นชัดเป็นเอกลักษณ์ของเขา และทำให้เขาได้รับรางวัลด้านการออกแบบมากกว่าร้อยรางวัล จนในปี 1992 เขาได้รับเสนองานในนิตยสารเพลงอัลเทอร์เนทีฟ Ray Gun ซึ่งผู้จัดพิมพ์เห็นศักยภาพที่แท้จริงของทักษะการออกแบบกราฟิกของเขา คาร์สันพิสูจน์ตัวเองอีกครั้งเมื่อยอดจำหน่ายนิตยสารเพิ่มขึ้นถึงสามเท่า และสามารถดึงดูดผู้อ่านในวงกว้างได้เป็นอย่างมาก ไม่เว้นแม้กระทั่งนักออกแบบและนักเรียนออกแบบกราฟิกไทยในยุคนั้นก็แทบจะไม่มีใครไม่รู้จัก รวมถึงหลายคนยังต้องคอยซื้อ Ray Gun ตามแผลหนังสือต่างประเทศในสวนจตุจักร
งานของเขามีลักษณะเฉพาะด้วยตัวอักษรที่ดูเหมือนจะไม่เป็นระเบียบ มีองค์ประกอบที่ยุ่งเหยิง รวมถึงการจัดวางภาพถ่ายที่ซ้อนทับกัน ดูเหมือนไร้ความหมายที่พื้นผิวแต่กลับนำเสนอภาพหลักให้ปรากฏขึ้น เป็นการใช้ตัวพิมพ์อย่างไม่เป็นระเบียบ
CHECK ± SHIFT ± CHANGE™ : LEAVE YOUR MARK 2022 เป็นเวิร์คช็อปพิเศษสำหรับนักวาดภาพประกอบและนักสร้างสรรค์สาขาอื่น เน้นการทดลองให้ออกจากแนวทางทำงานเดิมๆ ของแต่ละคน เป็นการสำรวจแนวทางพัฒนาตนเองและหาความเป็นไปได้อื่นๆ ผ่านการริเริ่มทำ Side Project ทุกคนจะได้ร่วมกันค้นหาประเด็นที่น่าสนใจแล้วนำมาต่อยอด พัฒนาเป็นผลงานส่วนบุคคล และปิดท้ายด้วยการให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้นำเสนอผลงานผ่านการจัดแสดงนิทรรศการในงาน Happening Exhibition ณ River City Bangkok
(เรียบเรียงจาก https://www.famousgraphicdesigners.org/david-carson)
ซึ่งมีจุดประสงค์ของตัวเอง เหมือนกับทีแปรงแต่ละครั้งของจิตรกร ที่สร้างให้เกิดอารมณ์ ภาพ และความคิดที่แตกต่างกัน การออกแบบของคาร์สันก็มีคุณลักษณะดังกล่าวเช่นกัน รูปแบบใหม่ในผลงานของเขาดึงดูดผู้อ่านใหม่ ๆ แต่ก็ทำให้หลายคนที่ไม่เห็นด้วยหรือไม่ชอบหันหลังให้โดยสิ่นเชิงเช่นกัน
ปก Ray Gun ของคาร์สันมักจะโดดเด่น รุนแรง และกล้าหาญ แต่ก็ดึงดูดใจผู้อ่านรุ่นเยาว์ ดังนั้นบริษัทใหญ่ๆ จึงจ้างเขาให้โฆษณาแบรนด์ผ่านทั้งสื่อสิ่งพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในปี 1995 คาร์สันลาออกจากงานที่ Ray Gun และก่อตั้งบริษัท David Carson Design ขึ้นเอง เขาเซ็นสัญญากับลูกค้าองค์กรรายใหญ่หลายแห่ง เช่น Nike, Pepsi Cola, Ray Bans, Levi Strauss และ MTV Global เป็นต้น นอกจากนี้เขายังได้ตีพิมพ์ผลงานกราฟิกของเขาอย่าง The End of Print: The Graphic Design of David Carson (1995) และงานทดลองอื่นๆ 2nd Sight, Trek และ Fotografiks
Finding your own style as a designer.
ผมมักถูกถามจากนักออกแบบรุ่นใหม่ว่าพวกเขาหาสไตล์ที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเองได้อย่างไร และด้วยเหตุผลบางอย่าง คนส่วนใหญ่คิดว่าการมีสไตล์ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวจะเป็นสิ่งที่ทำให้ประสบความสำเร็จในอุตสาหกรรมนี้ ผมคิดว่าการมีสไตล์เป็นเรื่องที่ดี อย่างน้อยเราก็ควรกำหนดความหมายของการค้นหาสไตล์ของตัวเอง และระวังอย่าสับสนระหว่างแฟชั่นหรือเทรนด์กับสไตล์ สิ่งเหล่านี้เป็นสองสิ่งที่แตกต่างกัน
“แฟชั่นจางหายไปมีเพียงสไตล์เท่านั้นที่ยังคงเหมือนเดิม” (Fashion fades, only style remains the same.)
— โคโค่ชาแนล (Coco Chanel)
เมื่อเริ่มต้นเป็นนักออกแบบ ผมมักจะรู้สึกหงุดหงิดเล็กน้อยที่มีแรงกดดันจากนักออกแบบรุ่นก่อนบอกให้ค้นหาสไตล์ของตัวเอง ซึ่งส่วนใหญ่มีประสบการณ์มากกว่าหลายสิบปี แต่ผมคิดว่าสไตล์ไม่ใช่สิ่งที่จะเกิดขึ้นมาได้วันนี้พรุ่งนี้ โดยปกติสไตล์ของแต่ละคนจะมีวิวัฒนาการอย่างเป็นธรรมชาติ และคนอื่นอาจจะเป็นจะบอกคุณเกี่ยวกับสไตล์ของคุณก่อนที่คุณจะรู้ตัวสไตล์ของเราจึงเป็นเหมือนกันเมื่อเราต้องเดิน ขับรถ พูด เต้นรำ หรือสวมเสื้อผ้าที่คุณใส่เป็นประจำ มันคือสิ่งที่มีวิวัฒนาการมาจากการฝึกฝนหลายต่อหลายปี ในทางกลับกัน นักออกแบบหลายคนก็ดูจะพอใจที่ไม่ได้มีสไตล์เฉพาะเจาะจง เมื่อต้องทำงานให้กับลูกค้าหรือแบรนด์อื่นๆ การคิดหาทางออกที่ดีที่สุดสำหรับลูกค้า และบ่อยครั้งที่สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับลูกค้าไม่ใช่สิ่งที่ดีที่สุดจากมุมมองส่วนตัว
“สไตล์คือภาพสะท้อนของทัศนคติและบุคลิกภาพของคุณ” (Style is a reflection of your attitude and your personality.) — ชอว์นแอชมอร์ (Shawn Ashmore)
แต่การมีสไตล์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวนั้นเหมาะสมอย่างยิ่งหากคุณเป็นนักวาดภาพประกอบ ช่างภาพ หรือนักออกแบบแฟชั่น ปกติแล้วลูกค้าจะจ้างนักวาดภาพประกอบโดยพิจารณาจากรูปแบบของผลงานที่ผ่านมาของพวกเขา
ดังนั้นคงพูดได้ว่าการมีสไตล์ที่เป็นเอกลักษณ์ในฐานะนักวาดภาพประกอบนั้นน่าจะดี
จนกระทั่งถึงช่วงที่คุณเบื่อหน่ายและเริ่มเกลียดการทำงานแบบเดิมๆ ซ้ำแล้วซ้ำเล่า
ลูกค้าอาจจะดูพอร์ตโฟลิโอของคุณ แล้วชี้ไปที่ผลงานเก่าของคุณแล้วพูดว่า:
“เราต้องการประมาณนี้ แต่ให้ไม่เหมือนนะ” นั่นคือผลลัพธ์ของการมีสไตล์ของคุณเอง
ทันทีที่เราผูกมัดกับสไตล์ใดสไตล์หนึ่ง แม้ว่าคุณจะไม่ได้ตั้งใจก็ตาม
เราจะพบความยุ่งยากในการเปลี่ยนแปลงสไตล์นี้ในอนาคต
แน่นอนว่าอาจจะมีบางคนพบสไตล์ของตนเองและไม่เคยต้องการเปลี่ยน
ในฐานะนักออกแบบ หลายคนมักจะคิดว่าตัวเองไม่ได้จำเป็นจะต้องค้นหา “สไตล์”
หลายคนชอบที่จะให้ผลงานมีความหลากหลายอยู่เสมอ แต่ในความ “ไม่มีสไตล์” นั้น
เราน่าจะรับรู้ถึงการมีสไตล์บางอย่าง และมันสะท้อนให้เห็นในงานของเรา
แต่มันอาจจะไม่ใช่รูปแบบของงาน
การมีสไตล์จึงอาจเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
“สไตล์” อาจเป็นคำจำกัดของสิ่งที่ทำ เป็นวิธีการทำงานเฉพาะตัว วิธีทำงานกับผู้คน รวมถึงแนวทางแก้ปัญหา
เรามักจะพูดเสมอว่าเมื่อทำงานให้กับลูกค้า ควรนำความคิดเห็นส่วนตัวของคุณออกจากงานทั้งหมด
ควรทำให้ดีที่สุดสำหรับลูกค้า โดยไม่คำนึงถึงสิ่งที่ตนเองคิด
https://vanschneider.medium.com/finding-your-own-style-as-a-designer-cecd12cf874d
ในทางทฤษฎีฟังดูดีมาก แต่ในฐานะนักออกแบบ เรายังคงเป็นมนุษย์
เรามีความคิดเห็นและความคิดเห็นเหล่านี้จะส่งผลและมีอิทธิพลต่องานที่เราทำเสมอ
อีกเหตุผลที่มีคนจ้างเรา จึงเป็นเพราะมีบางคนเชื่อในชุดค่านิยมเดียวกันกับที่เราเชื่อ
และคุณค่าเหล่านี้ก็เป็นส่วนหนึ่งของ “สไตล์” ของเราด้วย
ตัวอย่างเช่น สมมติว่านักออกแบบระดับโลกสองคนมาพัฒนาแบรนด์สำหรับบริษัท
ทั้งสองทำด้วยความตั้งใจโดยอิงจากการบรรยายสรุปของลูกค้า
และนำความคิดเห็นส่วนตัวออกจากสมการในการทำงาน
แต่ในท้ายที่สุด โซลูชันการสร้างแบรนด์ทั้งสองจะยังคงดูแตกต่างกัน
นั่นเป็นเพราะวิธีการและสไตล์ที่แตกต่างกัน
โซลูชันทั้งสองสามารถให้บริการลูกค้าได้อย่างสมบูรณ์
แต่มีเพียงหนึ่งวิธีเท่านั้นที่จะทำงานได้ดีกว่าเล็กน้อยอยู่ดี
ทำไม? เพราะการออกแบบยังคงเป็นอัตนัย
แม้ในนักออกแบบระดับสูง ที่เราคิดว่ากระบวนการออกแบบจะเป็นภววิสัย สุดท้ายก็ไม่ได้เป็นเช่นนั้นอยู่ดี
Tobias van Schneider พูดถึงสไตล์ส่วนตัวว่า
- การมีสไตล์อาจเป็นพรและคำสาป ปกติมันเป็นพรก่อนที่มันจะกลายเป็นคำสาป
- โดยมากตัวเราจะไม่ค่อยเป็นคนกำหนด แต่คนอื่นจะบอกเมื่อคุณมีสไตล์
- แนะนำว่าอย่าผูกมัดกับ “สไตล์” ใดรูปแบบหนึ่งอย่างเต็มที่ เว้นแต่จะรู้สึกสบายใจกับมัน 100% โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเริ่มต้นของอาชีพการงาน ให้ลองหลายๆ ปรับตัวหลายๆ แบบก่อน
- หากสังเกตเห็นว่าการมีสไตล์เป็นของตัวเองนั้นเริ่มน่าเบื่อและเริ่มย่ำอยู่กับที่ ให้เปลี่ยนมัน เลือกทิศทางใหม่ มันจะยาก แต่คุ้มค่า แม้ว่าคนอื่นจะชอบ “สไตล์” ของเรา แต่ก็ไม่ได้มีความหมายอะไรมากไปกว่านี้ และอย่าสับสนความสำเร็จทางการค้ากับความสุขส่วนตัว
- อย่าพยายามเก็บงำสไตล์ของคุณ เพราะสไตล์จะคงอยู่กับเราตลอดไป ความคิดเห็นส่วนตัวของเรามีค่า มันคือสิ่งที่แตกต่างกันระหว่างนักออกแบบสองคน
ลองขยับออกจากตำแหน่งที่ตั้ง
เป้าหมายสำคัญหนึ่งของการออกแบบ ได้แก่การนำพาบุคคลหรือกลุ่มคนไปยังตำแหน่งที่ตั้งใหม่ๆ และนั่นหมายถึงตัวเราเองด้วย ดังนั้นในกระบวนการเรียนรู้เป็นโอกาสที่ลำลองและปลอดภัยในการที่นักสร้างสรรค์จะสามารถทดลองขยับตัวเองออกจากทักษะที่เชี่ยวชาญ เครื่องมือที่ชำนาญ เรื่องราวที่ผูกพัน หรือประเด็นที่ให้ความสำคัญ พาตนเองไปอยู่ในสถานการณ์หรือบริบทที่ท้าทาย โดยการจำลองสถานการณ์เช่นนี้ไม่ได้เป็นข้อตกลงหรือผูกมัดว่าเราจะกลับมาในตำแหน่งเดิมไม่ได้ เปรียบเสมือนการออกเดินทางไปยังสถานที่ใหม่ๆ และหลายครั้งเราก็กลับมายังบ้านที่เรารักด้วยสายตาใหม่ ได้พบเห็นสิ่งที่บ้านเราขาดไป ในขณะเดียวกันเราก็มักพบข้อดีของบ้านตนเองที่เคยมองข้ามไปจากการได้ไปเยือนในสถานที่อื่นๆ เช่นกัน
Tobias is a Designer & Maker + Co-Founder of Semplice, a new portfolio platform for designers. Also host of the show NTMY — Previously Art Director & Design Lead at Spotify & Board of Directors AIGA New York.