Learning: EP19,Conversation with students series ตอน นักออกแบบการสอน (2)

บทบันทึกจากการสนทนา PS±D Night Club เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2564

แม้สภาพอากาศตอนนี้จะเหมือนกับหลายปีก่อนที่เห็นอากาศแปรเปลี่ยนจนชินตา ทั้งฝนตกโปรยปรายนอกฤดู พายุเหมันต์ที่พัดปลิดปลิวเอาลมหมุนวนพัดพาสายน้ำเข้าถาโถมตรอกซอกซอยในเมืองฝันสลาย แทบทุกวัน ทุกวัน วันละหลายเวลา เหมือนอยู่ท่ามกลางสงครามของน้ำท่วมขังและฟ้าฝนโดยมีที่อยู่อาศัยของมนุษย์เป็นตัวประกัน

แม้จะยังไม่หมดปี 2022 ดี (ข้อเขียนในเขียนไว้ราวกลางปี 2022) เราก็ค้นพบว่าความผิดปกติสังเกตได้ง่ายยิ่งขึ้น ทั้งโรคระบาดที่คงจะวิวัฒนาการตัวเองให้แข็งแรงกว่ายารักษา โรคภัยใหม่ๆ วิกฤตการเงิน สงครามน้ำมัน พลังงานธรรมชาติที่ดูราวกับจะสูญสลายตรงกันข้ามกับเรื่องราวที่เกิดขึ้นถาโถมราวกับฝนตกนอกฤดู จนชินตา จนชาชิน จนเริ่มรู้สึกปกติกับความไม่ปกติ

ยิ่งหากใช้ชีวิตด้วยความเคยชิน จนหลงลืมที่จะตั้งคำถามแน่นนอนว่าสภาพการณ์เช่นนี้ที่ถูกปรับเปลี่ยนไปจนก่อเกิดคำอย่าง ‘New Normal’ , ‘Work from home’ ถูกนำมาใช้ซ้ำๆ จนแพร่หลายและเห็นได้ทั่วไป ไม่ว่าเราจะยังคงโหยหาและคิดถึงชีวิตช่วยก่อนอย่างไร คงเป็นเรื่องที่ต้องยอมรับให้ได้ ว่าชีวิตของเรานั้นกำลังถูกปรับเปลี่ยนไปจนไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป ผลกระทบที่เกิดขึ้นนั้นล้วนขยายวงกว้างต่อทุกภาคส่วนจนก่อให้เกิดการหยุดชะงักต่อการพัฒนามิใช่น้อย

ไม่เว้นแม้แต่ระบบการศึกษาด้านการออกแบบที่ถูกสภาพการณ์ที่ปรับเปลี่ยนตัวเองตลอดเวลา กระทบกระทั่งถาโถมจนต้องแปรเปลี่ยนแนวทางและจุดประสงค์ของหลักสูตรในระบบ

บ่อยครั้งที่คำถามหลากหลายถูกตั้งเพื่อกลับไปถามต่อระบบการศึกษาและผู้เรียนว่าหลังสำเร็จการศึกษาออกไปใช้ชีวิตตามกระแสอุตสาหกรรม หรือตามเสียงเรียกร้องของหัวใจแล้ว เราอยากที่จะเป็นนักออกแบบอย่างไรในกระแสที่ปรับเปลี่ยนและตั้งคำถามกับเราตลอดเวลา

คำถามนี้เกิดขึ้นกับ มด อครพล กฤตฤานนท์วงศ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ และรองคณบดีฝ่ายบริหาร วิทยาลัยการออกแบบ มหาวิทยาลัยรังสิต ในห้วงยามที่ทุกสิ่งทุกอย่างดูปรับตัวแปรเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ด้วยโรคระบาด ด้วยการเจอะเจอนักศึกษารุ่นใหม่ๆที่มีรูปแบบวิถีชีวิตแตกต่างจากตอนที่เขาเป็นนักศึกษา ด้วยการพบเหตุการณ์อะไรต่อมิอะไรอีกมากมายที่เกิดขึ้นในช่วงขวบปี

ทำให้เกิดวิธีการออกแบบการเรียนการสอนในวิชาการออกแบบต่อนักศึกษาหน้าใหม่ที่เข้ามาในระบบมหาวิทยาลัยอย่างการทดลองทำ Workshop ก่อนจะสอดแทรกบทเรียนเข้าไปเพื่อให้นักศึกษาคุ้นชินกับเนื้อหาทางวิชาการที่จะพบเจอ

หรือไม่ก็เป็นการแนะนำจุดประสงค์ของวิชาเรียนเพื่อให้ตัวผู้เรียนเองได้เห็นภาพ แนวทางของวิชาหลังจบแต่ละคาบว่าจะได้อะไรกลับไปบ้าง ทั้งนี้ทั้งนั้น การแนะนำจุดประสงค์นี้เองที่ทำให้เขาในฐานะอาจารย์ ยังได้แลกเปลี่ยนกับนักศึกษา เพื่อสร้างจุดประสงค์ร่วมกันในการเรียนรู้ในห้องเรียนระหว่างผู้สอนและผู้เรียนอีกด้วย

มดเน้นย้ำนับว่าสิ่งที่ทำในขณะเป็นอาจารย์เป็นการออกแบบอย่างหนึ่ง นั้นคือการออกแบบวิธีการเรียนรู้ด้านการออกแบบให้กับนักศึกษา ซึ่งเรื่องนี้เองที่ทำให้คำว่า การออกแบบ ของตัวเขานั้นขยับขยายความหมายออกไปกว้างไกลกว่าเดิม

การออกแบบการเรียนรู้สำหรับนักออกแบบโดยการตั้งคำถามถึงความต้องการของผู้เรียน แล้วยังตั้งคำถามย้อนกลับไปถึงบทบาทตำแหน่งแห่งที่ของนักออกแบบ แล้วตั้งคำถามต่อความหมายของ นักออกแบบ ที่แปรเปลี่ยนไปตลอดเวลาตามช่วงเวลาและสภาพแวดล้อม

การตั้งคำถามเหล่านี้เองก่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลง อภิวัฒน์ ดั่งแสงสว่างในช่วงเวลาที่มืดหม่นที่สถานการณ์ต่างๆ ถาโถม

คงจะไม่มีช่วงเวลาที่เหมาะสมกับการหยิบเอาเรื่องที่ยังค้างคา ผิดปกติ ต้องการพัฒนามาพูดคุยเพื่อก่อให้เกิดการอภิวัฒน์ พูดคุยในที่แจ้งเพื่อเดินหน้าต่อไปยังโลกที่ดีกว่าเดิม

ยิ่งหากใช้ชีวิตด้วยความเคยชิน ความชินชาต่อความผิดปกติ ไม่คิดที่จะตั้งคำถาม
อยู่ที่เราจะออกแบบว่าต้องการจะมีชีวิตอย่างไรต่อไป
เลือกว่าจะก้าวไปข้างหน้า หรือจะย่ำอยู่กับที่เดิม
เพราะชีวิตของเรา ออกแบบได้

Realated Content

25 Jul 2024
EveryOne-O-One (2024) : Class Note #10
18 Jul 2024
EveryOne-O-One (2024) : Class Note #9
18 Jul 2024
EveryOne-O-One (2024) : Class Note #8
08 Jul 2024
ANATOMY OF MIND & IKKYO-SAN
HASHTAG