Exchange: EP21, กระบวนการย้อนยุคที่ก้าวไปข้างหน้า
บทบันทึกจากการสนทนา PS±D Night Club เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2564
มนุษย์มีชีวิตเพื่อการเรียนรู้ ใครบางคนบอกไว้อย่างนั้น
หลายครั้งที่เรื่องราวในอดีตเป็นบทเรียนที่แสนสำคัญต่อการออกแบบพัฒนา สร้างสรรค์สิ่งใหม่ของผู้คนในสังคม
หากแต่การปิดกั้นการเรียนรู้ ปิดกั้นข้อมูลข่าวสาร ปิดกั้นกี่สร้างพื้นที่ไว้โต้แย้ง แลกเปลี่ยนข้อมูล ปิดกั้นความเชื่อ ตลอดจนปิดกั้นคำถาม สังคมแบบนั้นคงจะดูไม่มีหนทางในการพัฒนามากนัก
ใช่หรือไม่ มนุษย์มิอาจจะเรียนรู้ได้เลยหากขาดการส่งต่อความรู้เหล่านั้น เท่าที่พอจะมีการจดบันทึกแรกเริ่มเกี่ยวกับพัฒนาการด้านการสื่อสารของคนเรานั้น มีการค้นพบภาพวาดจิตรกรรมราว 1500 ก่อนคริสต์ศักราชพบที่เกาะครีต ประเทศกรีซ เป็นภาพฝาผนังชื่อว่า “The Toreador” ซึ่งบอกเล่าเรื่องราวพิธีกรรมตามความเชื่อในการกระโดดขึ้นหลังวัว ภาพวาดจิตรกรรมส่วนใหญ่ที่ค้นพบมักบันทึกเรื่องราวพิธีกรรม หรือศาสนาตามความเชื่อ เช่นการค้นพบภาพวาดชาดก ที่ถ้ำอจันตาประเทศอินเดีย วาดไว้ระหว่าง 200 ปีก่อนคริสต์ศตวรรษถึงราว ค. ศ. 600
จาก ภาพวาดจิตกรรมฝาผนังสู่ ภาพพิมพ์กระดาษราว 3,000 ปีก่อนคริสตกาล กระดาษแรกเริ่มจากหนังสัตว์สู่ พาไพรัส (papyrus) ในประเทศอียิปต์ถูกพัฒนาคู่ขนานมากับการวาดภาพจิตกรรม พาไฟรัสถูกจดบันทึกเรื่องราวของศาสนา พิธีกรรมบทสวด คำสาบาน
โดยเฉพาะกับศาสนาแล้วกลับกลายเป็นเรื่องที่ถูกเขียนบันทึกไว้ในเทคโนโลยีที่เรียกว่ากระดาษมาเป็นเวลานานเห็นได้ชัดจาก การปฏิวัติของกูเทนเบิร์ก (Johannes Gutenberg ) ที่มีการพัฒนาเทคโนโลยีการพิมพ์ในช่วงทศวรรษ 1450 โดยการรวมตัวพิมพ์โลหะอัลลอยและหมึกที่ใช้น้ำมันเป็นฐาน ทำให้สามารถทำแม่พิมพ์ที่หล่อตัวพิมพ์ได้อย่างแม่นยำ [1] โดยมีผลงานจากการพิมพ์แบบนี้ชิ้นแรกคือ กูเทนเบิร์กไบเบิ้ล หรือ ไบเบิ้ล 42 บรรทัด ที่ออกมาราว ค.ศ. 1453
จากการทำเครื่องพิมพ์ของกูเทนเบิร์กทำให้ราว ค.ศ. 1500 เกิดร้านช่างพิมพ์จำนวนมากมาย จากเรื่องราวของศาสนาที่ถูกตีพิมพ์อย่างต่อเนื่อง การเกิดการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ในราวคริสต์ศตวรรษที่ 17 ก็เป็นจุดกำเนิดของเทคโนโลยีทางวิทยาศาสตร์มากมายจากการเผยแพร่ความรู้ผ่านทางหนังสือเพราะเกิดจากการใช้เครื่องพิมพ์กูเทนเบิร์กอำนวยความสะดวกในการส่งต่อความรู้อย่างง่ายดายมีประโยชน์ต่อความก้าวหน้าทางการเรียนรู้อย่างเห็นได้ชัดจนพัฒนามาเป็นเครื่องพิมพ์แบบที่เราเห็นกันทุกวันนี้
จะเห็นได้ว่าวิวัฒนาการของเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าทำให้มนุษย์อย่างเราๆ มีการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์มากขึ้นไปด้วยจนพัฒนามาเป็นเครื่องพิมพ์แบบต่างๆทั้งแอนะล็อกและดิจิตอลอย่างในปัจจุบัน
Risograph เป็นประเภทของการพิมพ์อย่างหนึ่งที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมโดยการพิมพ์แบบนี้นี้เองผลิตครั้งแรกช่วงปี 1980 ในประเทศอัสดงสีแดง ดินแดนของเหล่าซามูไร ประเทศญี่ปุ่น หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ตั้งชื่อให้สอดคล้องกับชื่อบริษัทผู้ผลิตอย่าง Riso Kagaku Corporation
Riso (理想 – ภาษาญี่ปุ่น Risō ) เป็นคำที่แปลว่า ในอุดมคติ ด้วยชื่อที่เป็นเหมือนดังความหวังที่ถูกวาดฝันไว้ให้กับคนในประเทศใ ห้มีความหวังและสามารถสรังสรรค์สร้างออกมาเป็นสิ่งของที่จับต้องได้ในโลกแห่งความเป็นจริงจากเครื่องพิมพ์นี้เอง
Risograph สรรสร้างผลงานจากการผสมผสานระหว่างกระบวนการแอนะล็อกและดิจิทัล ด้วยต้นทุนการพิมพ์ไม่สูง และ รองรับการพิมพ์ปริมาณมาก แต่ไม่มาก
ถึงขนาดโรงพิมพ์ขนาดใหญ่
การเปลี่ยนแปลงของโลกยุคใหม่ หน้าที่ บทบาทของนักออกแบบ ดีไซเนอร์ การใช้การออกแบบมาสื่อสารผ่านสื่อต่างๆ ทั้งเก่าและใหม่ มันจะทำได้ยังไงบ้าง
ด้วยความที่ตัว Risograph มีการใช้ทั้งกระบวนการดิจิตอลและอะนาล็อก จึงเป็นจุดที่น่าสนใจของการผสมผสานกันของความรู้หลากหลายสาขา และด้วยความที่มันสามารถเป็นตัวแทนของการเชื่อมโลกเก่าและโลกใหม่นี้เอง จึงมีส่วนอย่างมากต่อการตัดสินใจของ witti.studio ที่เลือกเครื่องพิมพ์ชนิดนี้เพื่อให้บริการพิมพ์งานสำหรับศิลปินและนักออกแบบทั่วไป
ความเป็นตัวกลางนี้เอง ที่ทำให้ตัว Risograph ชวนเราตั้งคำถามถึง การเปลี่ยนแปลงของโลกยุคใหม่ คำถามของหน้าที่และบทบาทของนักออกแบบ ดีไซเนอร์ การใช้การออกแบบมาสื่อสารผ่านสื่อต่างๆ ทั้งเก่าและใหม่ มันจะทำได้ยังไงบ้าง และจะทำได้อย่างไรบ้างถึงจะสามารถยั่งยืน สามารถแก้ปัญหาด้วยวิธีการออกแบบได้
คำถามนี้อาจจะต้องการคำตอบจากการได้เรียนรู้วิธีการในอดีต เพื่อที่จะสามารถนำเอาความรู้เหล่านั้นมาพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของพวกเรา เหล่ามนุษย์
บ่อยครั้ง เรามักจะเห็นพลวัตในรูปแบบต่างๆของความเก่าก่อนเฉกเช่นอดีตกาลต้องการพยายามยื้อหยุด อนาคต ให้เชื่อฟังและยอมรับ ศิโรราบต่อ ความเก่า ยอมแพ้ต่ออดีต
คงจะดีกว่าใช่ไหม หากเราสามารถหาที่ทางระหว่างอดีตและอนาคตได้
เหมือนกับสิ่งที่ Risograph พยายามบอกกับเรา