Exchange: EP18, ออกแบบประเทศ
บทบันทึกจากการสนทนา PS±D Night Club เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2564
ตั้งแต่จำความได้ ผมรู้สึกนับถือพ่อแม่คนเฒ่าคนแก่ที่จดจำสายรถราสาธารณะเดินทางในเมืองหลวงที่มีทางเดินรถตรอกซอกซอยสลับซับซ้อนได้ จำได้แม้กระทั้งการนั่งต่อสายของรถสาธารณะจากคันหนึ่งไปอีกครั้ง ต้องขึ้นตรงไหน ต้องรออย่างไร
นับถือในความหมายว่านับถือจริงๆ
แต่ก่อนไม่มีแม้กระทั่งแอปพลิเคชันบอกเส้นทาง บอกสายป้ายรถเหมือนกับในปัจจุบัน ยิ่งกับป้ายรถประจำทางประจำแต่ละจุด มีเพียงป้ายบอกจุดจอดสายรถประจำทางที่ขับผ่าน … มีแค่นั้น
เป็นประชาชนคนทั่วไปต้องจดและจำสายเดินรถประจำทางหมายเลขต่างๆ ว่าผ่านตรอกซอกซอย ถนนแห่งหนไหนบ้าง
แต่หากได้ลองไปเยี่ยมชมเมืองนอกเมืองนา เรียนรู้วิธีคิด ศึกษาการวิวัฒน์พัฒนาความเป็นอยู่ ตลอดร่องรอยรูปร่างตัวตนของแต่ละเมือง ปฏิเสธไม่ได้หรอกว่า การออกแบบร่างภาพประเทศ เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ประเทศเหล่านั้น มีตัวตนที่ชัดเจน แจ่มแจ้ง และมีเป้าหมายของความเป็นเมือง ขับเคลื่อนด้วยผู้คน เพื่อเมือง ตลอดจนประชาชนของพวกเขาเอง
ไอเลิฟนิวยอร์ก( I Love New York; เขียนตามสไตล์เป็น I ❤ NY)
เชื่อว่าหลายคนน่าจะเคยเห็นคำคำนี้ผ่านตาบ้าง
ไอเลิฟนิวยอร์ก เป็นคำยอดฮิต ภาพลักษณ์ ตัวตน ที่ใช้วงกว้างในการโฆษณาเมืองนิวยอร์กเพื่อที่พัฒนาโดยบริษัทโฆษณาของเวลล์ส ริช กรีน คือผลงานการสร้างสรรค์ชิ้นสำคัญของ มิลตัน เกลเซอร์ (Milton Glaser) กราฟฟิกดีไซเนอร์เพื่อสนับสนุกการท่องเที่ยว เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวในรัฐนิวยอร์ก จากวิกฤตทางเศรษฐกิจ มาตั้งแต่ ค.ศ. 1977 ซึ่งรวมไปถึงมหานครนิวยอร์กจนกระทั้งมาเป็นสโลแกน ทางการของรัฐนิวยอร์ก ในปัจจุบัน
“ส่วนหนึ่งที่มันยืนยงผมคิดว่าเป็นเพราะมันไม่ได้เป็นแค่เครื่องมือทางการตลาดแม้ว่ามันจะเป็นส่วนหนึ่งของโปรโมตการท่องเที่ยวก็ตามแต่มันเป็นการแสดงความรู้สึกที่ประชาชนรู้สึกต่อนิวยอร์กในช่วงเวลาที่สุดแสนจะยากลำบากช่วงปลายยุค 70 เราอยากให้โลกรู้ว่าเรายังรักเมืองนี้อยู่มันเป็นอารมณ์ความรู้สึกและมันก็เป็นเรื่องจริง”
เกลเซอร์ เผยถึงแนวคิดเบื้องหลังการออกแบบโลโก้ฉันรักนิวยอร์กที่เราไว้ใน www.gothamist.com
แน่นอนว่า หลังเหตุการณ์ 9/11 เกลเซอร์ ได้พัฒนาโลโก้ใหม่ให้เป็น “I Love New York More Than Ever.”
เพื่อสื่อสารต่อผู้คนในเมืองและคนทั่วไปถึงความผูกพันธ์ ตัวตนของเมืองนิวยอร์ก
จากตัวอย่างจะเห็นได้ว่าคำสั้นๆแต่กลับมีความหมายลึกซึ้งอย่าง ไอเลิฟนิวยอร์ก กลับถูกนักออกแบบออกแบบประเทศของพวกเขา โดยมีจุดเริ่มต้นจากตัวตนภาพร่างร่อยรอยที่พวกเขามี
ตัวตน Branding ของประเทศ กลับต้องมาจากตัวตนของบุคคลในประเทศนั้นๆ เเล้วค่อยขยายไปขนาดชุมชน สังคม เมือง จวบจนมาเป็นประเทศ แน่นอนว่าสิ่งนี้ไม่อาจจะที่จะพัฒนาได้อย่างยั่งยืนจากนักออกแบบไม่กี่คน แต่กลับต้องอาศัยอำนาจจากผู้มี บางอย่างอาจจะเริ่มจากการวางรากฐานให้แข็งแรงก่อน
ในหลายประเทศ ทุกอย่างนั้นถูกออกเเบบเพื่อให้ประชาชนทั่วไปใช้ชีวิตได้ง่ายมากขึ้น แม้ในปัจจุบันเราจะไม่ต้องจดและจำสายเดินรถประจำทาง เพราะว่ามีการออกแบบป้ายรถสาธารณะจากกลุ่มคนที่ชื่อว่า เมย์เดย์ (MAYDAY!) ที่ภายหลังภาครัฐก็ได้นำเอาแนวคิดนี้ไปพัฒนาป้ายรถสาธารณะให้ผู้คนสามารถใช้งานได้อย่างสะดวกมากขึ้น
จากแต่เดิมที่การออกแบบบางสิ่งบางอย่างในสังคมของเรา กลับออกเเบบให้รับใช้คนไม่กี่คนเท่านั้นร่องรอยเริ่มต้นจากนักกออกแบบคล้ายดั่งแสงสว่างแห่งความหวังต่อการสรรค์สร้างประกอบร่างออกแบบประเทศที่เหมาะสมกับประชาชนเพื่อคนทั่วไป
อ้างอิง