EveryOne-O-One (2024) : Class Note #9

บทความนี้เป็นบันทึกการเรียนรู้ จากห้องเรียน EveryOne-O-One วันเสาร์ที่ 13 กรกฎาคม 2567
บันทึกโดยคุณเกวลี วรุตม์โกเมน และ คุณณัฐชยาพร แสงคำ (EveryOne-O-One : Note Taker)

EveryONE-O-ONE week 09:
Designing Design Project 03 : “เสนอสิ่งที่สนใจให้น่าสนใจ”

Host: กนกนุช ศิลปวิศวกุล (เบล)

แชร์ความคืบหน้า

แชร์ความคืบหน้าโปรเจคเพื่อที่จะได้กลับไปเตรียมพร้อมสำหรับการจัดแสดงงาน การมาแชร์อัพเดทครั้งนี้สามารถแชร์ทั้งเรื่องที่ติดขัดและที่ลื่นไหล เวลาทำงานจริงย่อมมีติดขัดเป็นเรื่องธรรมดา

คุณเบส

A Fool’s Journey นำเสนอโปรโตไทป์ทำ 9 แนวทาง

  • ทางแรก ตั้งใจว่าอาจจะมีไพ่เดิมโชว์ด้วยและคัดบางส่วนมานำเสนอ  
  • ทางที่สอง วาดตามออริจินัลที่คนมักใช้กัน
  • ทางที่สาม เนื่องจากชอบภาพวาด The wanderer เป็นทุนเดิมอยู่แล้วและเห็นว่าการที่ไม่เห็นหน้าช่วยให้ดูมีอะไรเลยหยิบมาวาดด้วยคอนเซปต์เดียวกัน เห็นด้านหลัง
  • ทางที่สี่ Distance (Context) เห็นภาพสถานที่รวมของไพ่แต่ละใบ เน้นที่บริบทภาพกว้าง
  • ทางที่ห้า Fool’s Journey ไพ่แต่ละใบมีภาพของเดอะฟูลอยู่ร่วมกับตัวละครอื่น ให้ตัวละครมีปฏิสัมพันธ์กับกับเดอะฟูลด้วย 
  • ทางที่หก Remembrance นำสิ่งที่ได้ลองจากคลาสสัปดาห์ก่อนที่ดึงเอากระดาษไขมาใช้ประโยชน์ในการซ้อนกับภาพด้านหลัง แต่ว่ายังอยู่ในช่วงทดลองว่าจะทำเป็นซองหรือว่าอื่นใด
  • ทางที่เจ็ด Literally นำสิ่งที่ตรงข้ามกันมาโยง Subject เน้นที่ Text ของตัวละครเน้น ๆ เลย
  • ทางที่แปด Being Fools วาดใบหน้าเปล่าแล้วดึงให้คนได้มาร่วมวาด
  • ส่วนทางที่เก้ายังคิดไม่ออก

อาจจะพับเป็น Accordion ป๊อปอัพเพื่อนำเสนอข้อมูล แต่ยังไม่ได้ลงรีเสริชวิธีทำ อาจเล่าทั้งด้านหน้าด้านหลัง เลยกำลังตัดสินใจอยู่ รวม ๆ อยากให้มีมิติมากกว่าการวาดเฉย ๆ น่าจะไม่ได้วาดครบทุกใบ

ความเห็นทีม PS±D: อยากเพิ่มคือ โปสเตอร์ใหญ่อยากให้ทำหน้าที่ช่วยอธิบายความเป็นมาและกระบวนการของเส้นทางและการ์ดแต่ละชิ้น รวมถึงวางแผนว่าจะเล่าอย่างไร จะเล่ากระบวนการคิดต่อกระบวนการรวมอย่างไร การพับกระดาษแบบ Accordion ที่เคยลองจะช่วยในการเล่ากระบวนการอย่างไร ด้านหลังของกระดาษเองอาจจะแทรกอะไรได้อีก การโชว์ของเดิมกับของใหม่ให้มีความหมายจะโชว์อย่างไร อาจเป็นภาคขยายกันและกัน เทคนิคกระดาษไขเป็นเทคนิค Time-Based 2 เลเยอร์หรือมากกว่านั้น การมาของเทคนิคจะต้องซัพพอร์ตงานของเรา การมีระยะจะช่วยในการเล่าได้อย่างไรแค่มีมิติด้านหน้าอย่างเดียวหรือเห็นด้านข้างแล้วพบตัวละครหรือบริบทมากขึ้น เสน่ห์ของไพ่คือการไม่ต้องอธิบายทั้งหมดแต่ต้องอธิบายให้คนรู้ว่าทำไมเลือกเรื่องนี้มาทำ หลังจากที่พูดคุยเลยคิดว่าอาจซ้อนเส้นทางการเรียนเข้ากับเรื่องราวของไพ่ตอนที่นำเสนอ

คุณแก้ว

ลองวาดลองคิดแล้วยังคิดไม่ออกเลยกลับไปทบทวนแต่ละกิจกรรม เลือกนำสิ่งที่ได้จากการทำสามมิติมาใช้ คิดว่าฟ้อนต์อยู่ในพื้นที่สองมิติยังแบน เลยลองตัดกระดาษมาเพื่อดัดตัวอักษรให้เป็นสามมิติ แต่ติดปัญหาว่าแบนและไม่อยู่ตัว เลยเอาลวดกำมะหยี่แต่ส่วนที่เป็นขน ๆ รู้สึกยังไม่ใช่ เลยลองเอาเอาลวดร้อยลูกปัดมาดัด บางตัวอักษรอย่างตัวบีมีปัญหาตั้งไม่ได้ แล้วลองมองหลายมุม มองหน้าตรง มองเอียง มองเงาตรง มองเงาเอียง มีวิดีโอแสงขยับเล่นกับเงา จากคลาสที่แล้วชอบคำว่า Inbetween  เลยร้อยเหลืองดำให้เหมือนผึ้งเพื่อสอดแทรกให้เชื่อมโยง  ซึ่งคิดว่าน่าจะสื่อสารอะไรเล่นได้มากกว่านี้ ในส่วนของการเซ็ตไฟจะต้องอยู่ห่างหน่อยเพื่อให้อ่านออก และคิดว่าตอนจัดแสดงเนื่องจากบางตัวอักษรตั้งไม่ได้อาจจะต้องเอาเอ็นมาห้อย

ความเห็นทีม PS±D: ตัวอักษรเองก็เป็นการสื่อสาร Inbetween ระหว่างคนกับผึ้ง อาจลองมองในมิตินี้ ในนิทรรศการลองเลือกคำที่จะมาใช้ที่แทนการสื่อสารระหว่างคนกับผึ้งเป็นแคปชันสำหรับจัดแสดง ไม่จำเป็นต้องเป็นตัวอักษร A ถึง Z อยากให้ค่อนข้างชัวร์กับวิชวลก่อนเลือกคำที่จะนำเสนอ ในตัวหนังสือแบบสคริปต์มักมีการเชื่อมอาจจะลองไปดูตรงนั้นเพื่อช่วยในการออกแบบ การจัดแสดงที่เงามันเคลื่อนจะมีผลต่อการวางอย่างไร มีเพื่อนเสนอว่าทำแบบหนังตะลุงที่เอาฉากรับแสงเพื่อสื่อสารยิ่งถ้าเป็นวัตถุที่แตกแสงเป็นสีได้อาจช่วยทำให้คนดูอยากไปดูหลังผ้าใบว่าใช้วัตถุอะไร หาทาไปต่อกับหน้าที่ของแสงและเงา เชื่อมคำว่าระหว่างบรรทัด มุมมองมาจากคนละด้านจะเห็นไม่เหมือนกัน แสงทำหน้าที่เห็น Variation ของการเล่าเรื่อง จากที่ลองทำออกมาอย่างน้อยได้ช่วยทำให้เล็งเห็นว่าต้องจัดแสดงแบบเดินดูได้รอบด้าน เวลาผึ้งคุยกันเป็นการเต้นแบบไหนอย่างไรซึ่งน่าถอดรหัสมาว่าคุยเป็นคำนั้นคุยอย่างไร ชุดคำว่า Inbetween อาจแทนความสัมพันธ์อะไรบางอย่าง ลวดกำมะหยี่ก็ชวนให้นึกถึงเกสรดอกไม้ ไม่จำเป็นต้องเก็บแล้วใช้ทุกอย่าง เช่นอาจไม่จำเป็นต้องสื่อสารด้วยรูปลักษณ์ของผึ้งอย่างเดียว ให้คนลืมความเข้าใจเดิมเกี่ยวกับผึ้งไป นอกจากนี้ Inbetween ยังพูดเรื่องความใกล้ไกลได้ด้วย Inbeeeeeetween ยานขึ้น การยืดหดของภาษามาเล่นกับการที่ผึ้งใช้ส่ายก้นเพื่อสื่อสารก็น่าสนใจ

คุณส้ม

จากที่ให้เล่นทดลองกล้าแล้วฟังฟี้ดแบ้ก เลยไปศึกษาเจาะลึกเพิ่ม ส้มพยายามเลี่ยง Deconstrauction เพราะมีความเป็นปรัชญา มองว่าการศึกษากลุ่มเดียวจะรื้อสิ่งนั้นได้อย่างไร เลยลองแวะดูหัวข้อนี้ พบว่ามีคำเชื่อมที่เกี่ยวข้องเยอะมาก ของหนึ่งชิ้นมีได้หลายความหมายนำสู่การพบคีย์เวิร์ดอีกมากมาย และถ้าวิเคราะห์อย่างสบายใจมากขึ้น สิ่งที่แน่นอนในชีวิตคืออยู่กับปัจจุบัน สิ่งที่แน่นอนคือการเปลี่ยนแปลงคล้องจองกับ Deconstruction เส้นของหมาล่าจากอ่อนไปแข็งก็เป็นเวลาได้เหมือนกัน เลยเลือกลงลึกกับวัตถุดิบด้วยกรอบของเวลา พร้อมทดลองทำโมบายออกมา เน้นที่ง่าย ๆ และใช้ของใกล้มือ อยากให้มีความกุ๊งกิ๊ง ลองเพิ่มภาชนะเช่นตะเกียบเหล็กเพื่อให้กระทบกันแล้วเกิดเสียง หรือเพิ่มอะไรที่เป็นใบพัด กุ๊งกิ๊งแบบแสงก็น่าสนใจแต่ว่ากลัวทำให้เกิดอุบัติเหตุไฟไหม้ หรืออาจเล่นสเตนกลาส

ความเห็นทีม PS±D: คำว่าถอดรื้อหรือ Deconstruction การที่ส้มแยกชิ้นเพื่อทำความเข้าใจเป็นทางหนึ่งที่ถอดรื้อ เลือกที่จะ explore อดีตปัจจุบันขอองวัตถุดิบซึ่งน่าสนใจ ที่เป็นซอง ๆ ลองหาเป็นกระเปาะหลอดอาจจะดูล้อกันกับรูปทรงของพริก เห็นความสนุกในงาน อาจลองดึงเรื่องประสาทสัมผัสสีกลิ่นที่เรามีกับมันจะกลับมาเติมอย่างไร เช่นสีแดงของพริก สีที่สะท้อนความเผ็ด หรือความเผ็ดอย่างเดียว มีการห้อยเป็นเซ็ตแล้วส่วนบริบทรอบ ๆ จะเป็นอย่างไร ไปห้อยในพวงประทัดก็ช่วยให้ดูจีนขึ้นเข้ากับธีมหมาล่า ถ้าเป็นสถานที่ทั่วไปอาจจะไม่ดึงดูด เห็นครั้งแรกแล้วปะทะกับคนดูเลยว่าเป็นร้านหมาล่า อาจลองทำให้เป็นสัญลักษณ์เพิ่มเพื่อมารวมไอเดีย ส้มตากแห้งที่ใช้เป็นของประดับในคริสต์สามารถเป็นตัวอย่างของการนำวัตถุดิบมาตากแห้งเป็นของประดับได้ อาจเลือกเครื่องเทศมาเพิ่มลองเสก็ชเพื่อมาคุยกับทีมก่อนก็ได้ คอยกลับมาดูว่าแต่ละทางที่เลือกเป็นตัวแทนของหมาล่าไหมอยู่เสมอ

คุณน้ำอุ่น

สัปดาห์ที่แล้วไม่ค่อยว่างเลยเพิ่งได้มาลองเขียนจริง ๆ จัง ๆ เขาไปศึกษาเรื่องการทำ Index เพิ่มดู นอกจากนั้นลองเขียนสิ่งที่คิดช่วงนี้ อาจทำเป็นการบันทึกการเดินทางของการเรียนรู้ในช่วงที่ผ่านมาแต่ว่ายังไม่มีภาพอะไร ยังคงใช้คำว่ามวลอยู่ จากที่ศึกษาเรื่อง Index มีเรื่องการบันทึกด้วย ยังไม่ได้ลงมือทำอะไรเท่าไหร่ในช่วงนี้ มีแต่ความคิดที่แฟลชในหัวตลอดเวลา ครุ่นคิดว่าจะเอาออกมาอย่างไร จะจัดนิทรรศการอย่างไร ตอนนี้เริ่มสนใจที่กระบวนการคิดมากกว่าผลลัพธ์ ยังไม่รู้ว่าเอาท์พุตจะออกมาเป็นอย่างไร

ความเห็นทีม PS±D: ลองตกตะกอนว่ากระบวนการตอนนี้จะเป็นรูปธรรมอย่างไร ซึ่งน้ำอุ่นคิดว่าจะเป็น Text-Based หรือReconstruct โครงที่ให้คนได้มาลองประกอบกันเอง นิทรรศการน่าจะเป็นการย่อยให้เข้าใจง่ายมากกว่า อยากถอยออกมาเห็นกรอบเพื่อให้คนได้ร่วมใส่ความคิดด้วย ณ ตอนนี้ ให้ Simplify Framework ของงาน อยากเป็นแบบการเปิดให้ทุกคนจัดการได้ หรือเน้นจากตัวเองอยู่ เมื่อนึกถึงการบันทึกสิ่งหนึ่งที่คุณน้ำอุ่นมีความเห็นคือการบันทึกสำหรับตนช่วยให้จำ ณ ตอนนั้นแต่ไม่ค่อยกลับไปอ่านซ้ำ เลยนึกถึงเว็บ Interactive ให้คนมาใส่ข้อมูล เล่นเพื่อจะได้รีเฟลคตัวเอง เป็นหน้าเว็บที่เลือกได้ว่าให้คนคลิกแล้วดาวน์โฟลดแค่ส่วนที่ต้องการเป็นรวมเล่ม ทีม PS+D อยากชวนให้น้ำอุ่นหาเป้าหมายที่ชัดเจนให้งานตัวเอง เช่นทำแล้วมีเป้าหมายการ archive ของตัวเองได้ คำที่จะกระตุ้นความคิดมีอะไรได้บ้าง น้ำอุ่นมองหาผลลัพธ์ของการเก็บซึ่งอาจเป็นภาพที่ไกลตัวไป ชวนย้อนศรกระบวนการ อาจเริ่มจากกลับไปอ่านบันทึกของตัวเอง มีเป้าหมายในการบันทึกแต่ละช่วงอย่างไรแล้วอาจเลือกสักหนึ่งอัน ลองหยิบสิ่งนั้นมาใช้งานดู ก่อนครุ่นคิดว่าจะแบ่งกลุ่มหรือจัดเก็บอย่างไรซึ่งจะช่วยให้เจอระบบ ในส่วนของคำว่ามวล มวลในที่นี้คืออะไรบ้างลองจดออกมาเพื่อช่วยทำความเข้าใจตัวเอง เวลาเราออกแบบระบบมักยากตรงที่ต้องเริ่มที่ตรงไหน ซึ่งพบว่าสิ่งที่สนุกสุดจะช่วยให้ง่ายขึ้น อย่างตอนนี้อาจะตัดเรื่อง Productivity ออกก่อน แล้วใช้แฟลชไอเดียแทน ฟอร์แมตของสมุดที่รู้สึกไม่ค่อยสะดวก การบันทึกคืออะไร คือการทบทวนมากกว่ารึเปล่า การบันทึกเพื่อเตือนอะไรบางอย่างมากกว่ารึเปล่า การไม่มีเวลาอาจจับคู่กับอะไรได้บ้าง เช่นการจดแบบชวเลขหรือตัวแทนสิ่งนั้นเพื่อช่วยย่นย่อเวลาได้ คุณแก้วแชร์ว่าใช้ไอคอนกับสีในการช่วยบันทึกปฏิทิน พอสเตตัสเตือนเด้งขึ้นมานึกออกเลย ปัญหาสากลของการจัดบันทึกคือทำให้คนเริ่มไม่ได้

คุณแอล

ยังไม่ได้ทำต่อจากที่ได้ตกผลึกทฤษฏีจากเมนเทอร์ทุกคน เท่าที่รู้ตอนนี้แก่นงานตอนนี้คือเรื่องของการซึม อาจจะไม่ถูกใจกับวัสดุอื่นที่ถ่ายทอดการซึมได้ดีเช่นผ้า รู้สึกว่าต้องไปลงมือทำอย่างเดียวเพื่อให้ได้รู้ว่าจะไปต่ออย่างไร รวมถึงการเขียนบันทึกถ่ายทอดเส้นทางว่าจะทำอย่างไรอยากรู้เกี่ยวกับ Design Ways เพิ่ม

ความเห็นทีม PS±D: นำเสนอ Design Ways จริง ๆ ไม่ได้ต้องมีทฤษฏีอะไรแค่ถ่ายทอดเรื่องราวทางแยก ในระหว่างการรอลงมืออาจคิดกระบวนการล่วงหน้าว่าจะเกิดอย่างไร ตั้งสมมติฐาน เช่นอยากเปลี่ยนมาใช้ผ้า จะต้องเลือกอุปกรณ์แบบใด ความหนืดจะช่วยหรือจะต่างกับวัสดุอีกชนิดอย่างไร เมื่อถึงเวลาลงมือจะได้ทำเลย ในส่วนของการเขียน Design Ways เอาตัวเองแยกร่างออกมา เราเจออะไรบ้าง ตอนแรกเจอหมึกจีน แอลค่อย ๆ เดินทางจนพบว่าสนใจการซึมและมาถึงทางแยกระหว่างกระดาษกับผ้าเล่าว่าเราเจออะไรในกระดาษเช่น รูปร่างที่เราอยากให้เห็นอาจจะไม่ชัดเวลาหมึกแห้ง มีเทคนิคเช่นการฉีดฟอกกี้ช่วย ไม่ได้พึ่งน้ำเพียงอย่างเดียว เล่าให้เห็นเป็นเส้นเรื่องแล้ววางตัวอย่างงานให้ดู ซึ่งกระบวนการนี้เอาไปใช้ในโปรเจคอะไรได้บ้างหรือจะเหมาะกับโปรเจคแบบไหน ส่วนเรื่องที่ไม่มีเวลาอาจจะลองแบ่งท่อนการทดลองเป็นช่วง ๆ หรือบันทึกว่าตอนวิที่สิบ วิที่หกสิบ เห็นอย่างไร หรืออาจโยงเรื่องความรู้สึกขณะทำมาพูดถึงได้ เพราะใช้ใจเป็นตัวตั้ง ซึ่งส่งผลต่อภาพที่ต่างกันได้ คุณเตยเองเคยมีความรู้สึกไม่ยอมทำเหมือนกันตอนเรียน Creative Drawing ทำ Kintsugi ถ้าซ่อมก็เสร็จเสียที พอซ่อมแล้วค้นพบระหว่างทางว่าสิ่งที่ทำเป็นดรออิ้งในแบบอีกทางหนึ่งเช่นกัน หรืออาจเอาข้อมูลที่ได้จากการบันทึกการซึมมานำเสนอเผื่อสะท้อนสิ่งที่เป็นแก่นออกมา กระดาษผสมเยื่อผ้าก็น่าสนใจ หรือซึมซ้อนจากบนลงล่างหลายแผ่นช่วยให้มีมิติอีกแบบ ความรู้สึกที่ถ่ายเทจากเรื่องหนึ่งไปยังเรื่องหนึ่งก็สื่อสารได้

ทบทวนและทำต่อ

หลังพักเบรคให้นำเสนอกระบวนการเรียนรู้ โดยเขียนภายในเวลา 5 นาทีเพื่อ Wrap up และบอกความตั้งใจที่จะทำในอาทิตย์ที่เหลือ เขียนลงกระดาษก่อนแชร์ให้ทุกคนฟัง

คุณน้ำอุ่น จะเริ่มนับหนึ่งนับสอง คิดถึง Output มากกว่า Outcome ความคิดที่ฉุกคิดขึ้นมาจดไว้ เพื่ออนาคตข้างหน้ากลับมานั่งอ่านความคิดในตอนนั้น Fleeting Thoughts ใช้มือลองพับ ๆ อะไรสักอย่างให้เป็นสิ่งของสำหรับจัดเก็บ

คุณแอล หาวัสดุ วัตถุ วิธีใช้หมึกบนนั้นเอาเจตนาเป็นโจทย์ตั้ง เลือกที่เหมาะที่สุด พลอตทางแยกเพิ่ม ลองวิธีแบบซึมลงล่างด้วย

คุณแก้ว ค่อนข้างชัดเจน คงทำการปรับต่อ ตกลงกับตัวเองว่าจะเอาแกนหลักสื่อสารเรื่องผึ้งแต่ไม่ต้องใส่ลงไป ทดลองการใช้แสงเพื่อให้สัมพันธ์กับการจัดแสดงรวมมถึงเลือกคำที่เหมาะ

คุณเบส Narrative Structure นำเสนอที่มาที่ไปของแต่ละคอนเซปต์ Hint บ้างเผื่อคนไม่รู้ คุมเส้นนำสายตาอย่างไรบนกระดาษที่เป็น Accordion อาจต้องคิดก่อน Dimensional ไปสำรวจวัสดุและเทคนิคการพิมพ์ และลงมือลุย ซองแจคเก็ตไขเสียบการ์ดเข้าไปเลย

คุณส้ม คิดว่าจะไปทำเพิ่มในเชิง Metaphor, Symbolic โมบายทั้งพวงเป็นอดีตปัจจุบันอนาคตไปเลย หรือไปหาพวกอุปกรณ์ยึด ทั้งหมดนี้ทำควบคู่ไปการนำเสนอดีไซน์เวย์

ทิ้งท้าย

Design Ways ลองกลับไปคุยกับตัวเองว่าประสบการณ์ที่ผ่านมาเป็นอย่างไร ทั้ง 7 โมดูล แต่ละโมดูลเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ เมื่อออกแบบจริง ๆ จะกลับมารีเสิรชอีกก็ได้ กระบวนการเรียนรู้ทั้งหมดค่อย ๆ เก็บเป็นคลังลองหยิบนำมาใช้

  • เข้าแบบ การเข้าไปหาสิ่งหนึ่งด้วยมุมมองใหม่ ๆ เพื่อให้เห็นมุมอื่น เป้าหมายอื่น เพื่อให้สนใจสิ่งหนึ่งให้ถึงที่สุด เราสนใจสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่สุด กำลังมองหาอะไรอยู่ เราสนใจสิ่งนั้นจนถึงอย่างที่สุดหรือยัง มุมมองของตัวเองก็เป็นอีกมุมหนึ่งเช่นกัน กิจกรรมเป็นเพียงไกด์ไลน์เฉย ๆ ให้ทุกคนได้เห็นเส้นทางที่หลากหลาย
  • แยก-เยอะ-แยะ ปรับโฟกัส กิจกรรมแยกกุญแจกับสร้างเมือง ซึ่งเป็นสิ่งที่สอดคล้องกับสิ่งหนึ่ง สะท้อนว่าเราเข้าใจอย่างไรจึงนำไปจัดกลุ่มเช่นนั้น ในการแยกเยอะแยะพาเรามาถูกทางรึยัง หากเป็นทางที่ไม่ใช่ เราจะขยับปรับโฟกัสตัวเองอย่างไร  เห็นความสัมพันธ์ของสิ่งต่าง ๆ แต่สามารถแยกย่อยสิ่งต่าง ๆ ผูกเรื่องราวของสิ่งที่ต่างกันมาก ๆ ได้  เฟรมได้ว่าเห็นอะไรย่อมช่วยให้เลือกประกอบได้ดีขึ้น ตระหนักว่าสิ่งใดเกี่ยวหรือไม่เกี่ยวกับเรื่องที่กำลังทำอยู่
  • สร้าง-สรร การสร้างความคิดออกมาเป็นรูปธรรมเพื่อที่จะได้สร้างต่อได้ ซึ่งคือการสร้างแผนผัง การที่เราเห็นเป็น Mind map ออกมา เราเห็นเส้นทางเดินที่ผ่านมาและรู้ว่าจะไปต่ออย่างไร ไมน์เซ็ตที่อยากชวนให้นำไปใช้คือ เราลงมือสร้างสรรค์ดีไซน์โปรเจคว่ากำลังคิดอะไรอยู่ จะได้เข้าใจตัวเองมากขึ้น จะได้เห็นว่าเลือกเส้นทางที่จะเดินไปต่อรึยัง หรือยังเป็นเส้นตรง เครื่องมือที่ช่วยให้มองให้มวลความคิดเราเป็นรูปร่างชัดเจน 
  • ทดลองกล้า ลองไขว้จับการ์ด เพื่อให้ได้ลองกล้า ลองสิ่งที่ไม่เคยคิด ไม่แน่ใจ หรือไม่เคยคิดถึง จะได้คิดถึงความเป็นไปได้ใหม่ ๆ เมื่อทุกคนกล้าทำลายกำแพงเดิมแล้วการทำงานของทุกคนก็จะไม่มีจุดสิ้นสุด ชวนกลับไปในระหว่างที่ทำมามีอะไรที่ไม่คาดคิดว่าจะเกิดขึ้น แต่ค้นพบโดยไม่ตั้งใจ ไม่ใช่สิ่งแรกที่คิดแต่กลับเลือกมาทำ หรือแนวทางที่อยากทดลองต่อไปในอนาคต

Realated Content

25 Jul 2024
EveryOne-O-One (2024) : Class Note #10
18 Jul 2024
EveryOne-O-One (2024) : Class Note #9
18 Jul 2024
EveryOne-O-One (2024) : Class Note #8
08 Jul 2024
ANATOMY OF MIND & IKKYO-SAN
HASHTAG