EveryOne-O-One (2024) : Class Note #8

บทความนี้เป็นบันทึกการเรียนรู้ จากห้องเรียน EveryOne-O-One วันเสาร์ที่ 6 กรกฎาคม 2567
บันทึกโดยคุณณัฐชยาพร แสงคำ (EveryOne-O-One : Note Taker)

EveryONE-O-ONE week 07:
EveryOne-O-5 : สร้าง-สรร

Host: รมิตา บุราสัย (มาย)

มินิกิจกรรม ประธาน-กริยา-กรรม

วันนี้มาพร้อมวิทยากรหลัก 2 ท่าน คุณรมิกับคุณเตย กับกิจกรรม สร้าง-สรร ชวนมาสำรวจสิ่งที่เกิดขึ้นระหว่างที่ทำโปรเจคทั้งที่คิดไว้หรือนอกเหนือจากที่พบในเส้นทาง จุดประสงค์ของกิจกรรมคือการสร้างหลาย ๆ ทางเพื่อให้เกิดตัวเลือกในการตัดสินใจ ดีไซน์โหมดทำให้เห็นทางเลือกมากมาย และเมื่อเห็นทางเลือกมาก ย่อมหมายความว่าได้ทำเรื่องมากมายต่อไปด้วย

ประธาน-กริยา-กรรม  อยากให้ทุกคนใช้เวลาสั้น ๆ สรุปกับตัวเองว่าจะทำอะไรเป็นโปรเจค ลองทบทวนตนเอง หลังจากนั้นใช้สมุดตัวเองหรือกระดาษแผ่นใหญ่ที่วางอยู่บนโต๊ะ

  • ขั้นแรก นำคำที่เกี่ยวข้องเขียนลงมาบนกระดาษเป็น Bubble Map ใน 3 นาที คำที่เขียนลงไปอาจมาจากกิจกรรม 4 ใจได้ (กิจกรรมสัปดาห์แรก)
  • ขั้นที่สอง สร้างประโยคหลาย ๆ ประโยคจากคำเหล่านี้ แต่เลือกเพียงประโยคเดียวมานำเสนอ โดยจะต้องมี ประธาน กริยา กรรม เฉพาะเจาะจง สมมติว่าหากทำกระดาษหล่นคนอื่นสามารถอ่านแล้วเก็บเอาไอเดียไปทำต่อได้เลย คิดประโยคภายใน 3 นาที ใช้คำจากที่เขียนก่อนหน้าหรือคิดเพิ่มเพื่อให้ครบใจความได้ สามารถเรียกเมนเทอร์เข้าไปช่วยเหลือได้
    • ประธาน หัวข้อ หัวเรื่อง
    • กริยา ทำอย่างไร ทำด้วยวิธีอะไร เครื่องมือ หรือ เทคนิค
    • กรรม ผลของการกระทำ ผลลัพธ์ ทำเพื่อใคร สำหรับใคร เป้าหมายคืออะไร หรือ กำลังแสวงหาอะไร

เทคแรก

คุณเบส – การเดินทางของความเป็นไปได้ที่เกินการคาดเดา ทีม PS+D แสดงความเห็นว่า คนที่ได้หยิบกระดาษขึ้นมาน่าจะเข้าใจว่าหมายถึงการได้ลองทำอะไรใหม่ ๆ พร้อมเสริมว่าเข้าใจคอนเซปต์แต่ยังไม่เข้าใจว่าจะกระทำเป็นรูปธรรมอย่างไร อาจต้องลองขยายความเพิ่มเพื่อให้ชัดเจน

คุณแก้ว – Pairing time and space reflect what inbetween the lines การที่เราจะออกแบบอะไรสักอย่างอย่างเช่นตัวอักษร ต้องเอาพื้นที่มาใช้ในการออกแบบตัวอักษร จึงเล่นกับคำว่า Space and time ทีม PS+D เสนอว่า แก่นเริ่มมาแล้วแต่อยากให้ลองเพิ่มคำว่าที่มีความหมายเกี่ยวกับตัวอักษรเข้าไปใช้เช่น alphabet / letter จะได้เจาะจงมากขึ้น

คุณแอล – ปล่อยรูปร่างให้เป็นตามธรรมชาติของน้ำและหมึก และมีอีกสี่ประโยคสำรองที่คิดไว้ต่อกัน อารมณ์ของเราซึมหาผู้คนอย่างไม่ได้ตั้งใจ / หยดหมึกซ้ำ ๆ ทั้งเข้มและจางแทนอารมณ์ของเรา / ปล่อยให้เกิดขึ้นแล้ว Appreciate สิ่งนั้น / ความสัมพันธ์ของหมึกและน้ำทำงานด้วยการปรากฏบนกระดาษ ทั้งสี่ประโยคสำรองเป็นต้นทางและประโยคที่เลือกมาปลายทางให้ใจความ ประโยคที่เลือกมาเป็นการกระทำ อาจจะต้องผสมทั้งหมดและทำให้กระชับขึ้น

คุณส้ม – กำลังรื้อโครงสร้างวัตถุดิบหมาล่ามาสร้างเป็นโมบาย เย็บวัตถุดิบจากชิ้นส่วนต่าง ๆ มีความเห็นว่ายังรู้สึกไม่ค่อยลงตัวขาดคำเชื่อมหรือกริยา การแต่งประโยคบางทีเราเข้าใจได้แม้จะละเนื้อหาบางส่วนแต่เมื่ออ่านแล้วความทำให้คิดปรากฏขึ้นได้ ลองย้อนดูว่าหากปรับโดยไม่ยึดติดกับคำเชื่อมอาจได้คำที่ถูกใจกว่า

คุณน้ำอุ่น – ก้อนที่จัดเก็บการบันทึกและระบายความคิดความรู้สึกและจินตนาการของตัวเราที่จะทำให้เห็นเส้นทางการเดินและเห็นความทรงจำที่เราสร้างและหวั่นไหว ตนรู้สึกว่ายังหาคำแทนประธานไม่ได้ ทีมจึงแนะนำว่าอาจจะกลับไปดูอีกครั้งว่าคำใดจะแทนค่าคำว่าก้อนได้เห็นภาพชัดสุด

คุณแค๊ท – Planner plans for your life เปลี่ยนมาอยากทำแพลนเนอร์ ทีม PS+D คิดว่าถ้าตกอยู่ก็รู้เรื่องแต่ยังขาดเสน่ห์ อาจลองคิดต่อว่าแพลนเนอร์นี้มีจุดต่างจากของทั่วไปอย่างไร ลองขีดคำว่าแพลนเนอร์แล้วเปลี่ยนเป็นอะไรได้บ้าง Your Life สื่อถึงอะไร แทนสิ่งใด

เทคสอง

อาจารย์ติ๊กเสนอวิธีคิดประโยคว่า ประโยคเป็น composition หรือองค์ประกอบหนึ่ง ลองเริ่มจาก

มองหาความสัมพันธ์ของบับเบิ้ล
เมื่อเข้าใจความสัมพันธ์ → จะสื่อสารกับคนอื่นได้ สื่อสารกับคนอื่นได้ → ทำงานร่วมกับคนได้ → และวนกลับไป

  • เริ่มจากคีย์เวิร์ด: โครงการออกแบบ… ชั้นกำลังจะออกแบบ…
  • บวกด้วย end product / กระบวนการ / คอนเซปต์ / Scenario / วิธี / ความสัมพันธ์… จะสามารถถอนรากถอนโคนความคิดที่ไม่ชัดเจนได้ 
  • ไขว้ด้วยคำขยายไอดีย for / with / in / on / at / that / which / but /under
  • กลับมาไขว้ end product / กระบวนการ / คอนเซปต์ / Scenario / วิธี / ความสัมพันธ์…
  • ไขว้คำขยาย วนจนได้ประโยคที่ชัดเจน

★ เครื่องมือนี้ไม่ใช่เพื่อระบุแต่เพื่อคิดต่อให้ชัดเจน ด้วยเทคนิคทั้งหมดที่อาจารย์ติ๊กนำเสนอให้ลองไปนำเป็นไกด์ไลน์แต่ไม่ต้องยึดติดมาก เพื่อที่ประโยคจะได้ลื่นไหลขึ้น

ทีม PS+D ให้ทุกคนลองคิดต่ออีก 3 นาที ก่อนแชร์ไว ๆ เพื่อข้ามไปกิจกรรมหลัก

คุณแค๊ท – Daily plan makes us happiness กลายเป็นโจทย์ใหญ่ขึ้นแต่ช่วยกำหนดทิศทางที่จะไปต่อคู่กับเป้าหมายชัดเจนขึ้น

คุณเบส – ออกแบบความเป็นไปได้ของการเดินทางของเดอะฟูลผ่าน 21 คฑา มีศัพท์ที่เจาะจงไปทำให้อาจจะตีกรอบไปหน่อย

คุณส้ม – เรียนรู้โครงสร้างของวัตถุดิบเพื่อสร้างเป็นโมบาย ยังขยายความได้อีก ลองไขว้เยอะ ๆ ขึ้นเพื่อขยายประโยคให้มากขึ้น เช่นโยงเรื่องสีเรื่องรสชาติ

กิจกรรมคิดเช่น map

อยากให้ผู้เรียนได้ลองคิดแบบแผนที่เพื่อขยายความเข้าใจหน้าที่และคุณค่าของแผนที่ให้กว้างขึ้น การทำ mind map หรือ map ลงมาช่วยให้เห็นรูปของความคิดมากขึ้น ในเมฆก้อนใหญ่เราอาจเห็นได้หลายสิ่ง ตั้งแต่ต้นไม้ที่บังเมฆ เมฆทำมาจากหยดน้ำ หรือเมฆช่วยซ่อนพระอาทิตย์อยู่ เมื่อเราทำการนำความคิดมาวาดเป็นแผนภูมิ ความคิดเราจะมีความชัดเจนขึ้นและนำสู่ความคิดอื่น ๆ หรือแผนที่ในแง่ของการเดินทาง ก็ช่วยให้เหนเส้นทางของความคิด เห็นเส้นทางที่จะเดินไปยังความคิดอื่น ๆ หรือบางครั้งอาจไม่ได้มีเส้นทางที่ชัดเจนขนาดนั้น แต่หากเดินไปไกลพอเราจะพบตัวเลือกทางการออกแบบมากมาย เมื่อเราเห็นเส้นทางเรามองย้อนกลับไปเราจะเห็นกระบวนท่าและเข้าใจวิถีของตนมากขึ้นด้วยดีไซน์โหมด อาจารย์ทุกคนต่างมี map ของตัวเองในการออกแบบ ใช้แผนที่ในการแก้ปัญหาอย่างไร เมื่อเราเริ่มนำความคิดออกจากหัว เราจะค่อย ๆ เจอเส้นทางโยงเข้ามาเรื่อย ๆ เหมือนตัวอย่างที่คุณเติร์กเคยเล่าเกี่ยวกับการออกแบบโลโก้ที่ค่อย ๆ คลี่คลายเจอผลลัพธ์จากลายแทงของสินแซ ซึ่งคลาสนี้มีเป้าประสงค์อยากให้ทุกคนมีกระบวนคิดของตัวเอง การเขียนประโยคก็เช่นกัน เป็นการ map ด้วยตัวหนังสือ

ในกิจกรรมถัดไปนี้อยากให้ลองคิดเป็นภาพมากขึ้น ด้วยโจทย์ว่า ทำกับข้าวกัน ให้ทุกคนคิดถึงเมนูหนึ่งแล้วเขียนวิธีทำเป็นแผนภาพออกมาแทนจากเดิมที่มักพบเห็นเป็นการลิสต์ขั้นตอนการทำ อาจใช้วิธีที่อาจารย์ติ๊กสอนเกี่ยวกับการคิดประโยคเพื่อช่วยในการเขียน หลังจากนั้นให้ส่งงานแผนภาพของตนให้เพื่อทางด้านซ้ายดู แล้วลองอธิบายตามเข้าใจจากภาพ

ผลลัพธ์กิจกรรม

คุณเบสเล่าคุณน้ำอุ่น ไปหาข้าว หุงข้าวทอดไข่ เป็นข้าวไข่เจียว แต่จริง ๆ คือเมนูไข่ชะอม ซึ่งต้นข้าวที่คุณเบสเห็นแท้จริงคือชะอม

คุณน้ำอุ่นเล่าคุณส้ม แกนของการทำข้าวผัด ส่วนผสมมีอะไรบ้าง เครื่องปรุงรส โปรตีน และผักออกมาเป็นข้าวผัดที่มีสารอาหารครบ ซึ่งตรงกับที่คุณส้มจะสื่อสาร

คุณส้มเล่าคุณแอล สปาเก็ตตี้เพสโต้ แยกส่วนระหว่างวัตถุดิบกับวิธีทำ ข้างล่างเป็นไอคอนวิธีการทำ ก่อนออกมาหนึ่งจาน ต้มเส้น ใส่ซอสสำเร็จรูป วัตถุดิบกับกระบวนการทำ แผนภาพแสดงให้เห็นว่ามีเลเยอร์ของการให้ข้อมูลทั้งวัตถุดิบและวิธีทำ

คุณแอลเล่าคุณแก้ว ซุปใสต้มกระดูกหมู แผนภาพละเอียดทั้งวิธีและภาพประกอบ หั่นหยาบ ก่อนใส่หม้อแรงดัน มีการแจงว่าใส่ทั้งหมดเท่าไหร่ ใส่น้ำเท่าไหร่ เสร็จเรียบร้อย แผนภาพครบถ้วนทุกขั้นตอน

คุณแก้วเล่าคุณแค๊ท สะตอผัดกุ้งกะปิ คุณแค๊ทเขียนเป็นคำวัตถุดิบแล้วก็รวมเป็นอร่อย คุณแก้วทำไม่เป็นเพราะไม่เคยทานเลยเดาเมนูไม่ถูก ลงน้ำมัน ลงกะปิแล้วคลุก แม้ไม่มีภาพแต่ซีเควนส์ตรงมาก

คุณแค๊ทเล่าคุณเบส แซลมอนดงบุริ 5 ขั้นตอน เอาข้าวญี่ปุ่นมาแช่น้ำ หั่นปลาเอียงมีด 45 องศา เอาน้ำออกจากข้าวแล้วก็หุงระหว่างเตรียมปลา เทมิรินแล้วคนรอเอาข้าวโป๊ะ ระวังข้าวร้อนเกินปลาจะสุก วางปลาวางวาซาบิและโชยุ เรียบร้อย

แต่ละคนมีความจำเพาะด้วยการเลือกเมนูและการเล่าผ่านแมพ บางคนเห็นเป็นกระบวนการ บางคนเห็นภาพรวม คุณรามิเปิดผลงานที่ตัวเองทำออกม

ข้าวผัดเต้าเจี้ยว แผนภาพมุมมองจาก Top view มองด้านข้างเห็นปริมาณ มองด้านล่างเห็นเนื้อสัตว์เยอะ แผนภาพแต่ละแบบได้รายละเอียดที่ต่างกัน หากลองแยกส่วนประกอบจากใต้สุดสู่บนสุดจะเห็นความสัมพันธ์ระหว่างวันถุดิบกับกระบวนการ หรือทำชาร์ตด้วยระยะเวลาของขั้นตอน หรือคิดเป็นสมการผ่านกราฟ ภาชนะที่คนภายในบ้านเลือกใช้ในการใส่ก็มีผลให้ดูอร่อยด้วย บริบทรอบ ๆ ทำให้ดูมีคอนเทนต์ หรือวาดโครงออกมาเป็นครอบครัวคนที่กินและทำ ได้ข้อมูลความสัมพันธ์คนในบ้านพ่วงขึ้นมา ภาพที่เห็นไม่ได้มีแค่ข้าวผัด เมื่อเปลี่ยนเกณฑ์ในการวัดผลลัพธ์ที่แสดงก็จะต่างกันไป ซึ่งสามารถช่วยทำให้เราเข้าใจว่าหากข้าวผัดเต้าเจี้ยวเป็นแบรนด์จะเป็นอย่างไร ข้าวผัดหนึ่งจานมีความเป็นไปได้ในการทำแผนภาพเยอะมาก

ปรับกิจกรรมวันนี้เข้ากับโปรเจคของตัวเอง

แม้โปรเจคจะยังไม่รูปเป็นร่าง แต่กิจกรรมถัดไปอยากลองทำออกมาเป็นแผนภาพเล่าสิ่งที่อยู่ในหัวออกมา ลองนำประโยคจากมินิกิจกรรมมาทำเป็นเฟรม แผนภาพจะเล่าคำจำกัดความอย่างไรให้ชัดเจนที่สุด แผนภาพแบบใดจะช่วยให้เราเห็นความสัมพันธ์ของไอเดีย

มีเทคนิคว่าลองนำประโยคที่คิดว่าใช่ที่สุดจากทั้งหมดที่ทดไว้ตอนทำมินิกิจกรรม ดูโครงสร้างประโยคจากตัวอักษรสู่ภาพ ให้เวลา 10 นาทีในการทำ สามารถทำได้หลายแผ่น เสร็จแล้วให้เล่าควบคู่กับประโยค

คุณเบส ออกแบบความเป็นไปได้ของการเดินทาง The Fool ผ่านไพ่ 21 คณะ แบ่งเป็นแผนภาพเส้นตรงที่แตกเป็นหลายแกน ยังไม่แน่ใจว่าจะเอาคอนเซปต์ไหนมาจับกับเส้นทาง ABCDE ว่าแต่ละเส้นทางจะเป็นยังไง เช่นเอาโฟกัสอัสโฟกัสมาจับกับ A แล้วอาจออกมาเป็นเซ็ตไพ่ที่มีแต่แบคกราวน์ เอา Key Message มาโยงกับตัวละคร The Fool เป็นภาพร่างก่อนแตกเป็นไพ่อื่น ๆ ในสำรับนั้น พอทำเป็นไดอะแกรมช่วยอธิบายความคิดให้จับต้องได้ ทีม PS+D อยากให้ลองไปต่อด้วยการชวนคิดว่าหากเปลี่ยนรูปทรงของไดอะแกรมเป็นรูปทรงอื่นจะเป็นแบบไหนได้อีก

คุณส้ม รื้อโครงสร้างวัตถุดิบหมาล่ามาสร้างเป็นโมบาย  ลองทำ Thinking Map แตกว่าหมาล่าคืออะไร น้ำจิ้มจะให้เป็นพริกจริงหรือสัญลักษณ์ นำกลิ่นหรือสีมาแทนในเชิงภาพ หากความเป็นไปได้ที่จะเอาวัตถุดิบที่จะมีข้อจำกัดมากอยู่ร่วมกับข้อจำกัดไม่มากอย่างไร เช่นเนื้อเอาไปทำแดดเดียวได้ไหม สิ่งที่ระโยงระยางจะเป็นแบบไหนได้บ้าง เอาตัวเองไปอยู่ในนั้นบ้างเช่นห้อยเป็นลูกปัดสี ไม่ใช่แค่เส้นเดียว ทำยาวมากจนไม่มีสิ้นสุดไหม หรือห้อยแบบไทย ๆ คล้ายพวงมาลัย ติดเข้าไปไม่ระยางลงมา พวงมาลัย

ลูกปัดน่าจะเป็นส่วนที่กรุ๊งกริ๊งได้ แผนภาพคุณส้มน่าสนใจตรงการแบ่ง section แล้วเห็นความเป็นไปได้ภายในแต่ละส่วน อยากให้ลองคิดว่าหากแบ่งด้วยวิธีอื่นจะทำอย่างไรได้บ้าง ถ้าทำไดอะแกรมเป็นโมบายก็รีเลทกลับมาได้ ตอนลงมือทำของจริงลองคิดว่าหากเราอยากทำให้คนดูเห็นอะไรจะช่วยให้เราเลือกได้ว่าอันไหนจะฟิตกับเราสุดโดยไม่ต้องลองทุกเส้นทางเสมอไป

คุณแอล ฉันกำลังสร้างภาพจากการใช้น้ำและหมึก เป็นสื่อแทนอารมณ์ และความสัมพันธ์ของฉันกับผู้คน โดยที่ให้หมึกนั้นซึมหากันและเกิดรูปร่างบางอย่างขึ้น การวางคำทำให้เกิดเซนส์ที่ต่างกันขึ้น วาดแทนสัญลักษณ์ของอุปกรณ์ที่มาอยู่รวมกัน ลองคิดถึงในกระบวนการทำออกมาวาดออกมาเป็นชาร์ตระหว่างความตั้งใจกับความรู้สึก มองจากด้านบนด้านล่าง เข้าใจความหมายของรูปผ่านมุมมองที่ต่างไปเป็นกราฟออกมา ทีม PS+D เสนอว่าพาร์ท ๆ เหล่านี้จะอยู่ร่วมกันได้อย่างไรบ้าง ลองร่างภาพทั้งหมดอาจเจอซีเควนส์เพิ่มขึ้น ช่วยให้คนอื่นเข้าใจโปรเจคได้ดีขึ้น มีเอฟเฟคของการซึมแล้วลองมีเอฟเคของการไม่ซึมดูด้วย ลองทาเป็นน้ำมันหรือเกลือหรือน้ำส้มสายชู การกำหนดจุดเริ่มต้นไม่ใช่การยึดกับคำตอบ เป็นการกำหนดตัวแปรที่ต่างกันออกไป ศึกษาเพื่อใช้ประโยชน์เหมือนการค้นพบไฟ มนุษย์ค้นพบแล้วศึกษาให้เข้าใจไม่ได้ปล่อยตามยถากรรม การมีเจตนาไม่ได้แปลว่าไม่ธรรมชาติเสมอไป

คุณแก้ว Pairing or something that reflect inbetween the lines for communicating between people to the nature การสื่อสารของคนกับผึ้ง นำเอาการสื่อสารของผึ้งกับคนมาใส่ ผึ้งก็จะแฮปปี้ สื่อสารให้คนมีความตระหนักรู้ถึงเรื่องผึ้งมากขึ้นเพื่อที่จะได้ชื่นชมสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ เหล่านี้มากขึ้น แม้ตัวอักษรจะสะท้อนความเป็นผึ้งขึ้นอย่างไรจะยังยังคิดไม่ออก อาจจะต้องลองเข้าธรรมแบบผึ้ง เท่าที่ศึกษามีเรื่องการวนและเรื่องแสงที่มีผลต่อผึ้งต้องไปศึกษาเพิ่ม ทีม PS+D เห็นว่ากราฟนี้มีพยายามสร้างเหตุผลบางอย่างแล้วนำมาเป็นตัวแปรเพื่อหลอมรวมให้เกิดภาษาของแก้ว แม้ดีเทลตรงที่รวมคำจะยังไม่ชัดเจนแต่เห็นภาพรวมถึงเป้าหมายที่คาดหวังไว้ได้ ความน่าสนใจของผึ้งมีเรื่องการขยับก้นของผึ้งเพื่อสื่อสารกันในรัง การมองเห็นแสงเป็นยูวี วิธีเล่าของแสงอาจจะไม่ต้องเหมือนเชปก็ได้ อาจตีความเป็นการ inbetween ระยะบรรทัดแทน ยังเล่นได้อีกในสิ่งที่อยากแทรกไว้ เราเข้าธรรมผึ้งแบบใดก็พาไปสู่ผลลัพธ์ที่ต่างกันได้

คุณน้ำอุ่น ก้อนโครงสร้างการบันทึกความคิดความรู้สึกของเราเพื่อสะท้อนความทรงจำและเป็นที่ระบายและวางผังเส้นความคิด ยังไม่ค่อยแน่ใจว่าจะเริ่มโปรเจคอย่างไรเลยเริ่มจากสิ่งที่ได้สัปดาห์ก่อนโยงมาเป็นกราฟ ทราบแน่นอนแค่ว่าการบันทึกอย่างเป็นเส้นตรงหายไปแน่ ๆ โยงมาเป็นหลาย ๆ มิติทั้ง Tangible และ Intangible objects โยงต่อว่ากำลังทำอะไรต่อ เป็นความเป็นไปได้ทางโอกาส ทำความเข้าใจโครงสร้างที่มีอยู่แล้วให้เข้าใจมากขึ้น เพื่อที่จะได้รู้ว่าจะไปรวมกับความเป็นไปได้อย่างไรต่อ และคอนเซปต์เรื่องปรัชญาชีวิตที่จะช่วยให้แตกต่างออกไปได้ พอได้เขียนออกมาก็เคลียร์เห็นว่าในหัวมีอะไรอยู่และกำลังทำอะไร อ่านอะไรมาแล้วบ้างแล้วเห็นชัดว่าอะไรที่ไม่ใช่สิ่งที่ต้องการแน่ ๆ ทีม PS+D ให้ความเห็นว่าภาพรวมครบมาก เห็นโครงสร้างรวมชัดเจน เมื่อถึงเวลาที่จะลงดีเทล จะลงดีเทลอย่างไร แบ่งเป็นส่วน ๆ หรือร้อยเล่มทั้งหมดชาเลนจ์ว่าไม่ใช่ตัวอักษรจะเล่าได้ครบได้เข้าใจเหมือนเดิมไหม เปลี่ยนจากแพลนเนอร์เป็นเรื่องการกระทำมากกว่า

คุณแค๊ท Daily plan makes us happiness แผนภาพในกระดาษแผ่นแรกของคุณแค๊ทแบ่งออกเป็นตามวันแล้วให้ผู้ใช้แพลนวันถัดไป ลองขยี้ต่อเป็นแผ่นที่ 2 จากคำแนะนำของทีม PS+D ตอนแรกเป็นชี้เส้นตรงทื่อ ๆ ลองเปลี่ยนเป็นลูกศรยึก ๆ ถูกทีมชวนคุยไปเรื่อย ๆ เปลี่ยนเป็นน้องหน้ายิ้ม แตกเป็น 3 องค์กประกอบ ซึ่งแผ่นแรกมองว่าเป็น Daily Planner หรือ Weekly Planner หลังจากนั้นถามตัวเองว่า Daily คืออะไร พระอาทิตย์ขึ้นและตกรึเปล่า เกิดเป็นแผนภาพในกระดาษแผ่นที่สามซึ่งผนวกความสุขของตัวเราในนั้นด้วย วาดได้เป็นน้องหน้ายิ้มออกมา Make us happy จะหมายถึงอะไร และได้เป็นรหัสภาพออกมา ความสัมพันธ์ของ 3 สิ่งนี้คืออะไรกับอะไร ทีม PS+D ฟี้ดแบ็กว่าแพลนเนอร์ส่งต่อให้ใครไหม การที่จะเลือกแพลนเนอร์มาจดอะไรบางอย่างอาจหน้าตาไม่เหมือนกัน กลไกอะไรที่จะช่วยให้สร้างสมดุลในชีวิต คุณแค๊ทตอบว่าปกติเป็นคนใช้ To-Do-List  มีการใช้อีโมจิควบคู่ในการดูลิสต์ด้วย ดังนั้นแพลนคือการวางแผนให้มีความสุขแพลนของเราจะทำหน้าที่ไกด์อย่างไร  ออกแบบให้ใคร การมีคำว่าให้หรือเพื่อในมาเสริมจะช่วยในการออกแบบสิ่งนี้ให้มีทิศทางมากขึ้น กฏของโครงสร้างกลไกแพลนเนอร์จะเป็นอย่างไรระหว่างเอาเข้ากับนำออก คุณแก้วแนะนำเจอหนังสือ 365 วันแห่งความสุข เป้าหมายของหนังสือคือให้คนมาลองเปิดแล้วลองไปทำง่าย ๆ เพื่อให้ผู้อ่านมีความสุข

จาก 2D สู่ 3D

กิจกรรมถัดไป กระดาษแบน ๆ สองมิติอาจจะให้ความเป็นไปได้มากพอเพราะขาดมิติ ทุกคนลองขึ้นไอเดียมาเป็นสามมิติแทนกับกิจกรรม ดีดี๊ดี บนโต๊ะด้านหลังมีรูปแบบกระดาษหลาย ๆ แบบทั้งชนิด พื้นผิว รูปทรง การสาน ให้ทุกคนคัดกระดาษโดยมองที่คุณสมบัติเป็นหลักว่าจะเอาไปใช้อะไรได้บ้างหรือส่วนไหนในโปรเจค ลองเลือกแค่ 1 อย่าง แล้วลองเลือกเพิ่มอีกชิ้นถ้าอยากได้เพิ่ม

คุณแอล เลือกกระดาษทายใจ เพราะว่าน่าจะช่วยให้เห็นข้อมูลได้เยอะ สามารถเลือกที่จะซ่อนและเห็นไอเดียได้ด้วยการเปิดปิดทำให้เจตนาหรือความเป็นธรรมชาติมาเจอกันได้ และเลือกกระดาษยับ มีความยับที่ตั้งใจและไม่ตั้งใจ เมื่อกระทบแสงแล้วเห็นหลายมุมเปรียบเปรยเหมือนสิ่งที่จะทำได้

คุณน้ำอุ่น เลือกซองจดหมาย เพราะเห็นว่ามีลักษณะที่สามารถเก็บหรือแทรกอะไรได้หลาย ๆ ช่อง

คุณแก้ว เลือกกระดาษสานเพราะเหมือนที่เคยทำในคลาสสมัยเด็ก แล้วก็เหมือนการสอดประสานกันของผึ้ง และสามารถมองเป็นอีกมุมว่าเป็นสองสีรวมกันเป็นหนึ่ง

คุณแค๊ท เลือกกระดาษสานชิ้นเดียวกับคุณแก้ว สานเป็นตระกร้า มองเป็นแพลนเนอร์หรือเป็นกระเป๋าสานต่อได้ แม้จะเป็นของชิ้นเดียวกันคุณแก้วมองในเชิงเนื้อเรื่อง คุณแค๊ทมองเรื่องเทคนิคว่ามีหลายมุมมีดีไซน์ทำได้หลายอย่าง

คุณส้ม เลือกกระดาษพับร้อยกัน มองว่าเป็นการรวมกันของแต่ละชิ้นเกิดเป็นอีกสิ่งหนึ่ง และมีการพับเป็นอีกขั้น

คุณเบส เลือกกระดาษไซส์เล็ก ชอบการ์ดและความเป็นระนาบเปล่า เลือกไซส์นี้เพราะมองเป็นแนวตั้ง ปกติชอบ A6 ขนาดที่สื่อสารกันได้พอดีมือ ชวนให้ใครมาทำอะไรร่วมกันในงานได้ ชิ้นที่สองที่แอบอยากเลือกคือกระดาษไขเพราะเล่นเอฟเฟควัสดุทะลุได้

กลุ่มกระดาษที่นำมาใช้เลือกทั้งหมดแบ่งใหญ่ได้เป็น กลุ่มขึ้นรูป (ทรงลูกบาศก์ต่าง ๆ) กลุ่มที่เป็นซีเควนส์ (กระดาษที่มีการพับหลากหลายแบบ) กลุ่มที่เป็นระนาบสามารถให้ข้อมูลที่แตกต่างกันได้ กลุ่มแผ่นพับพูดในแง่การให้ข้อมูลอย่างตรงไปตรงมา ลองปรับเปลี่ยนสิ่งที่ตัวเองเลือกมาให้ตอบโจทย์ที่สุดในการนำโครงการที่จะทำมานำเสนอเป็นรูปแบบสามมิติ ตั้งแต่การเลือกรูปร่างรูปทรงแล้วไปต่อว่าจะลำดับเรื่องอย่างไรได้บ้าง ในโครงสร้างอาจทำให้สเต็ปการเล่าเรื่องต่างกันได้ อย่าลืมว่าด้านหลังของกระดาษรูปแบบต่าง ๆ ก็ใช้ด้วย อยากให้ค่อย ๆ ค้นหาเพื่อที่จะได้ทดลองเห็นมิติทางการเล่าเรื่อง ให้มองกระดาษที่เลือกไปเป็นแรงบันดาลใจให้ในการนำเสนอโปรเจค ภายในเวลา 10 นาที

คุณเบส ทำเป็นหนังสือพับขนาดเล็ก เอาแจคเกตที่พับจากกระดาษไขทับแล้วพับกลับเป็นเล่มวางซ้อนกลายเป็นการเสริมลายระเอียดมีอีกเลเยอร์ กิจกรรมนี้ช่วยทำให้รู้ว่ามีเทคนิคมากกว่าระนาบ 2 มิติของการวาด พอเอากระดาษไขทับมีคอนเท็กส์มาทับภาพชุดแรกที่เป็นรูปเดอะฟูลอย่างเดียว ทำให้รู้ว่าเอบวกบีได้ซีได้ด้วย ได้ใช้ฟังก์ชันของกระดาษเต็มที่

คุณแก้ว นำเอากระดาษมาติดกับฐาน แต่ละมุมจะเห็นภาพไม่เหมือนกัน อยากเล่นกับ Spacing ขยับด้านแล้วเห็นอีกตัวอักษรรวมกัน เหมือนการเล่นคำว่า Bee กับ Inbetween

คุณแอล แผ่นแรกอยากให้เจตนาและความเป็นธรรมชาติผสมกันเลยฉีกกระดาษเป็นรู ต่อมาเพื่อสะท้อนการซึมที่ไม่ชัดเลยเลือกกระดาษไขมาทับแล้วฉีกก่อนลองเอากระดาษไขมาซ้อนกันซึ่งทำให้เห็นกระดาษบางแผ่นด้านในในบางมุมและไม่เห็นในบางมุม

คุณส้ม เอากราฟมาต่อกันโดยจำลองเป็นโมบายกระดาษออกมาเลย สีเขียวแทนผัก สีแดงเป็นเนื้อ

คุณน้ำอุ่น เปรียบการเก็บบันทึกเก็บเป็นแฟ้มที่เปิดออกมาเก็บทุกอย่างที่ทำวันนี้ไปด้วยแทนความรู้สึกความคิด พับและตัด เป็นช่องต่าง ๆ รู้สึกตนคิดเยอะพยายามปล่อยให้เป็นธรรมชาติ ค้นพบว่ายังหาวิธีให้เป็นมิติไม่ได้ ยังหลุดจากความแบนไม่เจอ ทีม PS+D เสนอว่าในอีกมุมการตั้งขึ้นมองเป็นมวลได้ พอมองเป็นมวลแทนก้อนดูเปิดความเป็นไปได้ได้

คุณแค๊ท นำกระดาษสีสามสีมาสาน เชื่อมสามชิ้น จะบันทึกเป็นช่อง หรือมองทั้งชิ้นเป็นหนึ่งวันก็ได้ ความรู้สึกแต่ละก้อนในแต่ละช่อง เป็นไปได้หมด มีหลายสีช่วยให้ดูสนุก แต่เนื่องจากไม่เคยสานงานก็เลยยังออกมาไม่ลงตัวเท่าไหร่ การปรากฏของสีไม่ได้เป็นแพทเทิร์นช่วยให้ความหมายได้ด้วยโยงกับวีคที่แล้วหยินหยางด้วยสีได้ด้วย งานของคุณแค๊ทดึงดูดให้ผู้ใช้งานอยากเข้าหา เป็นการออกแบบการวางแผนที่ดีมาก เพราะแพลนเนอร์ปกติบางทีก็ทิ้งไว้เพราะเราไม่อยากใช้งานแล้ว การดีไซน์การใช้งานเป็นจุดช่วยดึงดูดได้

จากตัวอย่างของทุกคนจะเห็นได้ว่าแต่ละคนตีความโจทย์ไม่เหมือนกัน ซึ่งเป็นเสน่ห์ของการ Implement และการ Prototype ผลงานของทุกคนน่าสนใจและไม่มีชิ้นใดผิดหรือถูก

ทิ้งท้าย

คุณรามิโชว์ผลงานสามมิติของตนให้ทุกคนดู ในมุมของเธอทรีตว่าเป็นการเล่าเรื่อง มีพับมีม้วนเพื่อสื่อสารข้อมูลของไข่ เพื่อทำให้ถึงข้าวผัดเต้าไจี้ยวของคุณย่า แม้จะเห็นว่าลงมือวาดมาหลายสิบกราฟแต่เลือกมาแค่ไม่กี่กราฟมาเชื่อมให้เป็นโครงใหญ่ชิ้นเดียว

  • คิดให้เห็นแบบให้เป็นรูปธรรม ให้ทั้งเราและคนอื่นเคลียร์ เมื่อนั้นเราก็จะรู้ว่างานออกแบบของเราถึงหมุดหมายหรือยัง การออกแบบเหมือนแผนที่ที่ไม่มีใครขีดเส้นให้เรา แต่ถ้าเราชัดเจนกับตัวเองย่อมรู้ว่าต้องเดินไปทางไหนจึงจะถูกต้อง หรือสิ่งที่ใดที่เป็นตัวเรารวมถึงสิ่งที่ต้องทิ้งไประหว่างทาง
  • ผู้เรียนร่วมแชร์กันว่าพอได้ทำงานเป็นสามมิติได้เห็นลูกเล่นมากขึ้น คาดเดายากว่าจะจบอย่างไรแต่ได้ค้นพบระหว่างทางเยอะมาก  ช่วยให้ได้เอาออกมาไม่ได้อยู่แตในความคิด ได้วิวัฒนาการจากก้อนเป็นมวล การเอาคำออกมาช่วยให้ชัดขึ้น  ค้นพบจังหวะของตัวเองที่บาลานส์ขึ้น พอได้ทำออกมาเป็นสามมิติยิ่งได้เห็นความเป็นไปได้มากขึ้นไปอีกเปิดมุมมอง เหมือนการธีมปาร์ค ทุกอย่างเป็นการจำลอง ดูโครงสร้างการจำลอง เห็นบทเรียน เป็น practical sense ว่าตัวเองจะทำอะไรอย่างชัดเจน สิ่งแรกคือการตั้งชื่ออย่างเอาจริงเอาจัง ต่อมา แมพ มาจากภาษาละตินแปลว่าชีท แผ่น กับ โลก สร้างอาภรณ์ให้กับโลกห่อหุ้ม กริยาคือการเกี่ยวข้อง แผ่นกระดาษที่เขียนออกมานั้นเกี่ยวข้องกับเนื้อแท้ของโปรเจคไหม งานคุณต้องการมิติในแง่ใดเข้มข้นกับการตีความเพื่อหามิติ
  • สำหรับในช่วงครึ่งหลังของคอร์ส สิ่งที่จะจัดแสดงในนิทรรศการต้องมีเหมือนกันคือ เสนอ Design Ways อยากให้แสดงถึงกระบวนการทำงานของโปรเจคนั้น ประกอบทุกอย่างที่ทำ การจัดแสดงงานไม่ได้มุ่งเป้าที่การโชว์ผลงานสุดท้ายแต่โชว์กระบวนการ ไดอะแกรมที่เรียนวันนี้จะมาช่วยสรุปวิถีการออกแบบของผู้เรียนได้

แนะนำหนังสือประจำสัปดาห์

ป้ายยาประจำสัปดาห์นี้ หนังสือ The Path ของ Open Books หนังสือที่เล่าถึงการไม่ยึดติดกับการเป็นตัวเรามากเกินไป เวิร์กชอปคลาสนี้ที่ทุกคนมาร่วมเรียนกำลังพาไปอยู่ในที่ที่ไม่คุ้นชินเมื่อจบคลาสคุณกลับมาที่เดิมของคุณและเป็นอิสระ สัปดาห์หน้านำเสนอโปรเจคที่จะทำนั้นท่ามกลางเส้นทางและวิธีมากมายคุณจะเลือกอะไร กลับไปขัดเกลาเพื่อขมวดเป็นโครงการออกแบบ (สมมติ) ที่จะนำเสนอ

Realated Content

25 Jul 2024
EveryOne-O-One (2024) : Class Note #10
18 Jul 2024
EveryOne-O-One (2024) : Class Note #9
18 Jul 2024
EveryOne-O-One (2024) : Class Note #8
08 Jul 2024
ANATOMY OF MIND & IKKYO-SAN
HASHTAG