EveryOne-O-One (2024) : Class Note #10

บทความนี้เป็นบันทึกการเรียนรู้ จากห้องเรียน EveryOne-O-One วันเสาร์ที่ 20 กรกฎาคม 2567
บันทึกโดยคุณเกวลี วรุตม์โกเมน และ คุณณัฐชยาพร แสงคำ (EveryOne-O-One : Note Taker)

EveryONE-O-ONE week 10:
EveryOne-O-6 : สัมผัส-รับ-รู้สึก

Host: จักรพันธ์ สุวรรณะบุณย์ (เติร์ก)

สิ่งของและการเลือก

วิทยากรวันนี้เป็นคุณเติร์ก โมดูลวันนี้จะเน้นเป็นการชวนคุยหลังจากที่ลองมาแล้วหลายวิธี คุณเติร์กโคกันกับ D1839 Magazine แมกาซีนภาพถ่าย แขกพิเศษ 2 ท่านมาพูดคุยผ่านบันทึกวิดีโอ คุณโต้ วิรุนันท์ ชิตเตชะและคุณเต้ย กษิดิ์เดช มาลีหอม สัปดาห์ก่อนคุณเติร์กมอบหมายให้ทุกคนพกนาฬิกาเรือนโปรดมากันคนละเรือน เริ่มต้นจากคำตอบของแขกพิเศษ

นาฬิกา

คุณโต้ แม้จะไม่ได้หยิบนาฬิกามาโชว์แต่มีการแทรกภาพ นาฬิการุ่น Jaeger-LeCoultre Classic สามารถสลับหน้าได้ ชอบที่สุดแต่ว่าทุกวันนี้ไม่ได้พกอยู่กับตัว เพราะว่าขายไปแล้ว รู้สึกเสียดายที่ขายไป ขายให้คนทั่วไป ตอนนั้นรู้สึกว่าตนไม่ได้ใส่บ่อย ปกติใส่ Apple Watch ไม่อยากเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาบ่อยเลยเหตุผลหลายอย่างประกอบกันทำให้ตอนนั้นตัดสินใจขาย ปกติไม่เคยขายสิ่งของเลย กล้องทุกรุ่นที่เคยใช้เก็บหมด เป็นไปได้ก็อยากจะซื้อเรือนนี้กลับมา ชอบนาฬิกาเรือนนี้ หน้าปัดเหลี่ยม ๆ อาจไม่ได้เหมาะกับการใส่ในชีวิตประจำวันแต่เหมาะกับการใส่กับสูท ที่รู้สึกว่าอยากซื้อกลับมาเพราะว่านาฬิกาเรือนนี้สามารถบอกเล่าเรื่องราวของเราได้มากที่สุด ทั้งเป็นแบรนด์ฝรั่งเศส (เคยไปเรียนต่อ) นาฬิกาเรือนนั้นเหมือนคนที่ใช่ในเวลาที่ผิด

คุณเต้ย เมื่อกล่าวถึงนาฬิกาเรือนโปรดคิดถึงการออกแบบมาก่อนเลย ต้องเป็นนาฬิกาที่ถูกผลิตมาเพื่อการใช้งานแม้ว่าอาจมีเป็นจิวเวอรี่บ้างก็ตาม เลือก smart watch มีอรรถประโยชน์ ตอบโจทย์ความต้องการชีวิตมากขึ้น ถ้าไม่ได้ใส่ก็จะหงุดหงิดตลอด สาเหตุที่ต้องเป็นเรือนนี้ เพราะปกติเป็นคนวิ่งเทรลสามารถบันทึกการไต่ระดับความสูงได้ นาฬิกาเรือนนี้จึงครอบคลุมการใช้งานของชีวิตในช่วงนี้  เหมือนจะไม่ได้เลือกแต่ถูกเลือกด้วยกรอบเวลาที่เหมาะสม

คุณเติร์ก นาฬิกายี่ห้อ Nixon ปกติเป็นคนอะไรก็ได้เลยมักใช้ของที่คนอื่นซื้อให้ตลอด นาฬิกาเรือนนี้พี่เบลก็เป็นคนซื้อให้ แม้ว่าหน้าปัดอาจจะดูยากแต่ส่วนตัวรู้สึกว่าปกติดูเวลาเป๊ะ ๆ จากมือถืออยู่แล้วเลยไม่รู้สึกเป็นปัญหา นิยามปัจจุบันของนาฬิกาสมัยนี้เปลี่ยนไปมาก การใส่เรือนนี้ทำให้คนมักชวนคุย ฟังก์ชันไม่ได้ต้องตอบโจทย์ร้อยเปอร์เซ็นแต่มีความเกี่ยวข้องกับเรา

คุณเบส นาฬิกาเหล็กใส่ตั้งแต่ปีสี่ นัดเพื่อนไปเที่ยวญี่ปุ่นและเป็นการไปเที่ยวคนเดียวครั้งแรก เมื่อก่อนชอบใส่ G-Shock หน้าปัดใหญ่ นาฬิกาเรือนแรกที่เก็บเงินซื้อเองเป็นของที่อยู่กับเรามานานที่สุด หน้าปัดแตกก็ซ่อม ไม่ว่าจะอยู่ทวีปไหนนาฬิกาเรือนนี้ก็อยู่ด้วยตลอด จึงเลือกเพราะมีคุณค่าทางจิตใจกลายเป็นอวัยวะส่วนหนึ่งกับเราไปแล้ว รู้สึกผูกพันไม่ได้ทรีตเป็นวัตถุอีกต่อไป อยากได้แอปเปิ้ลวอชแต่ก็ไม่อยากใส่ว้อชที่มาแทนเรือนที่ใส่อยู่ นาฬิกาเรือนนี้สำหรับคุณเบสผูกความสัมพันธ์เข้ากับวัตถุเหมือนเช่นน้องตุ๊กตาเน่าของใครหลาย ๆ คน

คุณส้ม นึกถึงนาฬิกาที่บ้านจึงให้แม่ถ่ายรูปมาให้ นาฬิกาเรือนลูกตุ้ม ปกติไม่ใส่นาฬิกาข้อมือ พอพูดถึงนาฬิกาจะนึกถึงนาฬิกาที่บ้านเรือนนี้มากกว่า เวลาครบชั่วโมงจะดัง ซึ่งคุณส้มชินกับบรรยากาศที่มีนาฬิกานี้ดังที่บ้าน มีเหตุการณ์ร่วมกันกับที่บ้านมากมาก เวลานาฬิกาตายแม่จะต้องไปไขเพื่อซ่อม บางทีก็ทะเลาะกับแม่เกี่ยวกับการปรับเวลา เป็นนาฬิกาที่คุ้นชินด้วยเสียง ตายก็ซ่อมไม่ปลดประจำการ ไม่ได้อยู่กับตัวแต่ว่าห่อหุ้มบรรยากาศของที่บ้านเรา คนเรามีมุมมองต่อนาฬิกาที่ต่างกัน บางคนอาจนึกถึงเรือนนาฬิกาแบบนี้เห็นแล้วนึกถึงผี บรรยากาศการใช้งานร่วมกันมีผลต่อความรู้สึก

คุณน้ำอุ่น มีนาฬิกาที่คล้าย ๆ กับคุณส้ม นาฬิกาที่บ้านอันใหญ่ มักเห็นตลอดเวลาจะออกจากบ้าน ส่วนนาฬิกาที่ใส่มา เห็นจากโฆษณาในเฟสบุ๊กไม่ค่อยใช้ดูเวลาใส่เหมือนเป็นเครื่องประดับมากกว่า ปกติจะดูเวลาจากมือถือ ซื้อมาห้าหกปีได้แล้ว ไม่ได้ทรีตในแง่ฟังก์ชันแค่ใส่แล้วทำให้เรามั่นใจ หน้าปัดเป็นเลขโรมันใช้เวลาดู

คุณแอล นาฬิกาที่ได้มาตอนมหาลัย ให้พ่อเลือกด้วย ไม่ได้มีความหมายเท่าไหร่ หากพูดถึงนาฬิกาบ้านที่บ้านเองก็มีเรือนใหญ่ได้ยินเสียงเข็มวินาทีตลอดซึ่งทำให้ไม่ชอบนาฬิกาที่บ้าน

คุณอะตอม นาฬิกาข้อมือเรือนที่พังและเลิกผลิตไปแล้วยี่ห้อ Timex สามารถกดให้ไฟเรืองที่หน้าปัดได้  เคยได้เรือนแบบนี้จากแม่ ตอนเด็ก ๆ เคยใส่นาฬิกาหลายแบบทั้งดิจิทัล โรเล็กส์ แต่เรือนนี้ทำให้รู้ตัวเองว่าชอบนาฬิกาสเปคประมาณนี้

อาจารย์ติ๊ก นาฬิกาดนตรีโดยใช้ดีไซน์ตัวโน๊ตบอกตามจังหวะเวลา ใช้เวลาทำความเข้าใจเยอะในการดูโน๊ตเพื่อแกะเลข แต่มีดีไซน์ที่น่าสนใจ

จากบทสนทนา คำว่า สเปค เป็นคำที่น่าสนใจมาก ในการรู้สเปคนั้นไม่ต่างจากการเลือกแฟน การตัดสินใจเลือกนาฬิกามีองค์ประกอบเยอะมาก เชปอะไร หนา บาง วัสดุ เลือกที่จะให้หน้าปัดมีเลขไหม เป็นอักษรโรมันหรืออาราบิก เข็มตรงหรือเป็นลูกศร มีเข็มวินาทีมั้ย สเปคของแต่ละคนก็ประกอบไปด้วยการตัดสินใจขององค์ประกอบต่าง ๆ เหล่านี้ แตกออกเป็นเส้นทางมากมาย เมื่อถึงเวลาเลือกมักจะเลือกจากภาพรวม น่าสนใจว่าการเลือกมี combination มหาศาล แต่มนุษย์กับมีอะไรบางอย่างที่บอกเลยว่าสิ่งนี้ใช่สำหรับเราเลย น้ำหนักแบบไหน วัสดุแบบใดเหมาะกับเราไหม หรือเคยมีประสบการณ์แล้วทำให้ไม่ชอบแบบใดแบบหนึ่ง แม้กระทั่งการเลือกใส่นาฬิกาข้างที่ถนัดไม่ถนัดก็ยังเป็นทางเลือกในการตัดสินใจ เมื่อแต่งตัวอีกแบบบางทีก็ต้องเลือกที่จะไม่ใส่เพราะไม่เข้ากับชุดเหมือนเครื่องประดับ

แก้ว

มีแก้ว 3 ใบจากคุณเติร์กวางบนโต๊ะให้ทุกคนลองจับพิจารณาดู แล้วอธิบายว่าชอบอันไหนเพราะอะไร

  • คุณแอลชอบแก้วคุณหมี เพราะน่ารักกว่า แก้วสีฟ้าหนักและที่จับไม่พอดีนิ้ว ต่างจากแก้วคุณหมี
  • คุณน้ำอุ่นก็ชอบด้วยเหตุผลเดียวกับคุณแอล
  • คุณส้มชอบแบบเดียวกันกับทั้งสองคน รู้สึกว่าหากกินผ่านแก้วนี้น่าจะใส่น้ำหวานน่าจะอร่อยเพราะทรงสูงกว่า 
  • คุณเบสชอบแก้วสีขาวเรียบ เพราะดูสงบไม่รบกวนเวลาวางทำงานอยู่

คุณเติร์กเลือกใช้แก้วลายคุณหมีบ่อยจึงดูสกปรกสุด แก้วสีขาวเป็นแก้วที่ดูเหมือนมีดีไซน์ ใบนี้หากใช้น่าจะช่วยให้ดูเป็นดีไซน์เนอร์ แก้วลายคุณหมีกับแก้วสีฟ้าหูจับหนาซื้อที่เกาหลี ที่จับของแก้วลายคุณหมีดูน่ารักและเป็นห่วงให้สอดได้สองนิ้วซึ่งมีลักษณะแปลกดี อีกทั้งมีโควตที่ทำให้เห็นระหว่างดื่มแล้วรู้สึกดีกว่า ส่วนแก้วสีฟ้าตอนเห็นที่เชลฟ์ ตอนแรกช่างใจแต่วันต่อมาเดินกลับมาซื้อ พอใช้จริงรู้สึกว่าหนักไม่เหมาะมือเท่าไหร่ เอาไว้โชว์บนชั้นดีกว่า ที่บ้านทุกคนมีแก้วมากมาย แต่ละแก้วมีฟังก์ชันบางอย่างต่างกันทั้งโชว์เพื่อน เน้นใช้จริง เวลาเลือกแต่ละคนก็มีเหตุผลต่างกัน บางทีอาจมาหาเหตุผลเติมการตัดสินใจทีหลังก็เป็นได้

อาจารย์ติ๊กเองก็เหมือนกันเก็บเยอะแต่ใช้จริงไม่กี่ใบ อาจารย์ติ๊กก็คิดเช่นกันว่าคุณหมีน่าจะได้ใช้เยอะกว่า ด้วยรูปทรงที่อำนวยความสะดวกตอนใช้มากกว่า แก้วที่ปากบานช่วยให้เราจับแล้วไม่ร้อน ข้าวของในชีวิตประจำวัน เราสามารถเลือกได้อย่างรวดเร็วว่าจะเอาแบบใด ทั้งที่ตัวสิ่งของมีหลายองค์ประกอบ เมื่อเราลองหยุดคิดว่าทำไมเราถึงรู้ เราจะค้นพบรายละเอียดที่เป็นสาเหตุการเลือกอย่างแท้จริง และทำให้การเลือกในครั้งถัดไปเปลี่ยนไป เช่นส้มที่บอกว่าแก้วใบคุณหมีดูทำให้เรามีความคิดที่จะทานสะดวกกว่า จะมีสักกี่ใบที่ให้ความใส่ใจในการออกแบบที่จัด ในแง่การผลิตทรงสีขาวเฟรนด์ลี่แม้จะเป็นทรงทั่วไป หูจับสองช่องของแก้วลายคุณหมีทำให้เราได้ลองหลายแบบว่าจะจับอย่างไรจับแบบไหน

เมื่อต้องเลือกระหว่างความรู้สึกกับเหตุผล

เวลาทำงานบางทีเราใช้เหตุผล บางทีใช้ความรู้สึก บางทีใช้ความรู้สึกกับเหตุผลร่วมกันทั้งคู่แต่อยู่ที่ดีกรีว่าอันไหนจะมากกว่ากัน ลองรีเช็กกับตัวเองว่าปกติเลือกใช้อย่างไรกัน

คุณโต้ ตรรกะกับความรู้สึกมักขัดแย้งกัน เจอแทบทุกวัน คุณโต้ทำงานด้วยตรรกะมาแต่ไหนแต่ไรอยู่แล้วเพราะเราไม่สามารถบังคับให้คนมีรสนิยมหรือคำจำกัดความว่าสวยเหมือนกันได้ แต่เราอธิบายเหตุผลให้คนคล้อยตามกันได้ หากทำงานเชิงพาณิชย์คงถกกันไม่จบว่าแบบใดคืองาม แต่ก็มีสิ่งที่เรียกว่าสุนทรีย์ ซึ่งพัฒนาเป็นการ execution ที่เราเลือกใช้ในงานของเรา เขาเคยรับงานของนักร้องนักแสดงท่านหนึ่งที่ต้องการฉีกลุค จากลุคเท่เป็นลุคคิ้วท์เพื่อเรียกเรทติ้งแฟนคลับ เมื่อถึงหน้ากองถ่ายไปได้สักพักรู้สึกว่าฝืนทั้งตัวเราและตัวเขา สุดท้ายพยายามถ่ายที่น่ารักกับแบบที่เราคิดว่าดีไปให้ และจบที่ลูกค้าเลือกปล่อยแบบที่เท่มากกว่า หลายครั้งเราต้องฟังเสียงและเชื่อในเซนส์ตัวเองแม้จะขายกับลูกค้าแล้ว จากประสบการณ์ของเขา หากไม่ฟังเสียงในใจให้ดี ไม่ชิบหายที่งานก็ชิบหายที่ความรู้สึกแทน งานส่วนตัวยิ่งไม่ต้องประนีประนอมเลย งานเชิงพาณิชย์อาจต้องประนีประนอมบ้าง หากทำออกมาแล้วไม่ภูมิใจทั้งลูกค้าหรือเราก็ไม่มีใครวิน งานเชิงพาณิชย์ต้องตรงบรีฟลูกค้ามากที่สุด ให้ทุกองค์ประกอบตรงกับบรีฟที่สุดเพื่อตัดสิน หากเป็นไปได้ Pre-visualize ให้ตรงกับที่ต้องการ แล้วเลือกอะไรที่ตอบกับวัตถุประสงค์ที่จะนำไปใช้มากที่สุด หากเป็นงานที่ใช้ส่วนตัวล้วน ๆ สามารถเลือกจากที่เราเห็นหรือสัมผัสแล้วเรารู้สึกอะไรมากที่สุด ใช้กึ๋นล้วน ๆ เลย  มาจากการสะสมประสบการณ์

คุณเต้ย มักเน้นทำงานให้ตัวเองภูมิใจ เป็นแกนหลักของการทำงานสายนี้ 2 ปีก่อนหน้านี้ทำงานคอมมิวนิตี้ศิลปะ ซึ่งศิลปะมักไม่ใช่องค์ประกอบหลักของงาน คนมักใช้อย่างอื่นช่วยดึงคนมางานเช่นขายอาหาร วงดนตรี ส่วนตัวรู้สึกไม่ค่อยถูกต้อง พอลองทำเองที่ลพบุรีซึ่งเป็นเมืองไม่น่าอยู่และไม่ปลอดภัย ตัดสินใจทำเกี่ยวกับงานศิลปะร่วมสมัย เพื่อท้าทายต่อคนในพื้นที่เพราะเป็นสิ่งไม่คุ้นเคย คุยกับคนในทีมเยอะอยู่ กึ่ง ๆ อุดมการณ์ การดึงองค์ประกอบเสริมที่ไม่ค่อยชอบก็จำเป็นต้องมีไม่งั้นคนก็ไม่มา ตอนนั้นครุ่นคิดอยู่นานแต่สุดท้ายเลือกสุดโต่งเพื่อจะได้ลองทำดู แค่เด็กคนเดียวได้อะไรก็เพียงพอแล้วที่จะทำออกมา งานออกมาเงียบตามที่คิดแต่ว่าอิ่มเอมที่ได้เห็นผลงานผลิตใหม่ให้คนมาดู และช่วยเปิดบทสนทนากับคนในพื้นที่ได้ ประสบความสำเร็จในแง่ที่ได้สนับสนุนศิลปินในพื้นที่ ระหว่างที่ทำไม่มีเสียงในหัวเลยเพราะตัดสินใจแล้วว่าจะทำแบบนี้ จึงไม่ได้มีอะไรมาฉุดรั้ง

ทั้งสองคนมีวิธีสร้างสมดุลที่แตกต่างกัน คุณโต้ทำงานเชิงพาณิชย์เป็นหลัก ใช้ตรรกะในการรีเชคงาน แม้คุณเต้ยเลือกใช้ความรู้สึกเป็นตัวนำแต่ตรรกะจะไม่ได้รบกวนความรู้สึกที่เป็นโครงหลักขนาดนั้น ถึงตาผู้เรียนร่วมแชร์ประสบการณ์ที่คล้ายกัน

สถานการณ์เมื่อต้องเลือก

คุณเบส ผ่านมาหลายช่วงชีวิต เมื่อก่อนทำตามความรู้สึกบ่อยครั้ง พบว่าการตั้งกรอบก่อนและมองสิ่งที่อยู่นอกกรอบเป็นแค่ข้อเสนอแนะเป็นวิธีของตน มักเซ็ตเกณฑ์หลักแล้วเอากรอบแรกให้เต็มก่อน พอเข้าสู่บทใหม่ของชีวิตซึ่งคือการทำศิลปะบำบัด สิ่งที่เราคาดหวังอาจไม่สำคัญที่สุด เวลาทำศิลปะบำบัด ต้องตั้งกระบวนการให้ปลายเปิด เหมือนเล่นละครแล้วด้นสดไปเรื่อย ๆ เพื่อเน้นไปที่กระบวนการกับผู้บำบัด

คุณเติร์ก ทำโลโก้เป็นหลัก งานเชิงพาณิชย์โจทย์ที่ได้จากลูกค้ามักมีคำตอบเดียว ทำตามตรรกะได้ แต่บางครั้งก็เลือกที่จะขึ้นตัวดีไซน์อีกแบบจากสัญชาตญาณที่ฝึกฝนมา มีแบบในใจแล้วแต่เราจะจินตนาการว่าจะไปขายเขาอย่างไร หว่านล้อมอย่างไร การหาเหตุผลมาซัพพอร์ตความรู้สึกก็สำคัญเหมือนกัน ตอนที่คิดว่าเป็นแบบนี้แน่ ๆ ก็มีเหตุผลอีกทีเหมือนกัน การรู้ว่าต้องพอแค่ไหนคือเสียงจากตัวเราเองว่าเท่าใดที่พอ
สองสัปดาห์ก่อนงานทำคอนเทนต์ให้ร้านอาหาร แฟนเป็นผู้ช่วยให้รับผิดชอบซึ่งต้องช่วยคิดเนื้อหาเกี่ยวกับงานให้เยอะ ปกติเขาเป็นชอบให้เขาเตรียมให้ทางลูกค้าพร้อมแล้วมากกว่า คุณเติร์กแก้ปัญหาด้วยการพาไปกินที่ร้านได้เจอเจ้าของร้านอัธยาศัยดี แฟนแฮปปี้อยากทำงานชิ้นนี้ต่อ เหตุผลตอนแรกที่ไม่โอเค พอรู้สึกอินกับงานกลับเปลี่ยนไมน์เซ็ตให้อยากทำงานต่อ การแก้ปัญหาบางอย่างให้เขาอินตามก็อาจเป็นอีกวิธี

คุณส้ม เรื่องราวของสุนับที่บ้านที่ป่วย คุณแม่กลุ้มใจที่เห็นน้องทรมานอยากเห็นน้องไปดีแต่ก้ไม่โอเคที่ทรมานจิตใจ เมื่อแม่เริ่มรับมือทางใจไม่ไหวต้องตัดสินใจว่าจะทำอย่างไร ซึ่งเป็นสถานการณ์ระหว่างเหตุผลกับความรู้สึกเหมือนกัน คุณส้มบอกไปว่าไม่อยากให้แม่โทษตัวเองเหมือนกันตอนตัดสินใจเลือกเส้นทางใดเส้นทางหนึ่ง เหตุผลกับความรู้สึต้องควบคู่กันใช้งาน เมื่อความรู้สึกทำงานในบริบทนั้นไม่ได้เราจำเป็นต้องมีเหตุผลมาอธิบาย หรือกลับกัน เหตุผลอธิบายไม่ได้แต่ความรู้สึกต้องอธิบายได้

อาจารย์ติ๊ก ตอนที่เป็นอาจารย์ใหม่ ๆ ลูกศิษย์เกรดไม่ถึง อาจารย์ที่ปรึกษาของนักศึกาษบอกเขาว่าคนนี้ต้องได้เอถึงจะเรียนจบ อาจารย์ติ๊กต้องเลือกระหว่างตัดสินใจตามคุณภาพ หรือว่าตัดสินใจเพื่อให้อนาคตเขาได้ไปต่อเพราะเรียนถึงลิมิตแปดปีแล้ว อาจารย์ติ๊กเลือกตามคุณภาพ นักศึกษาคนนั้นเรียนไม่จบแต่กลับไปเปิดร้านต่างจังหวัด แผลนี้ยังอยู่ในใจตั้งแต่นั้น
หรือตอนทำงานลูกค้าพูดไม่ค่อยฟัง การให้เหตุผลเป็นเรื่องสำคัญ เหมือนเวลาไปคุยกับหมอ งานรีแบรนด์โลโก้งานหนึ่งขรุขระอยู่ประมาณนึงต้องให้เหตุผลจนลูกค้าซื้อ เวลาผ่านไปเห็นโลโก้ไม่เปลี่ยนสักทีเลยโทรไปถาม พบว่าที่ประชุมไม่มั่นใจในโลโก้ที่อาจารย์ติ๊กทำซึ่งเป็นเรื่องของความรู้สึกแล้ว ขายได้ชนะได้ก็ยังแพ้ในท้ายที่สุด หรือลูกค้าที่ชอบย้อนถามว่าชอบแบบไหน ซึ่งคำถามนี้ไม่ควรตอบ คำตอบของเราไม่มีน้ำหนักกับเขาแถมยังเป็นการปล่อยไก่กับเขาอีก ควรอธิบายข้อดีข้อเสีย ถ้าตรงกับที่ลูกค้าชอบลูกค้าก็แค่มั่นใจขึ้น
ตอนจัดแสดงงานเดี่ยวครั้งแรก เริ่มจากศูนย์มีเวลาอยู่กับตัวเอง หกเดือนก่อนแสดงงาน ทิ้งความคิดว่าจะจัดอะไรไปมากกว่าสิบอย่าง จนกระทั่งกว่าจะพบคำตอบ ลองบอกพี่เบลแล้วจับจากปฏิกริยาว่าว้าวไหมซึ่งเป็นเรื่องความรู้สึกที่สัมผัสกันได้ไว ๆ มนุษย์มีการฝึกมาอย่างดีว่าอะไรใช่ไม่ใช่ ถ้าเราหามาตรวัดได้ จะช่วยให้เราตัดสินใจได้ดีขึ้น หากคุณถามตัวเองแล้วคุณยังระเบิดอยู่ในใจ แสดงว่าสิ่งคือสิ่งที่คุณต้องการกว่า

คุณน้ำอุ่น มีเรื่องแบบนี้เยอะคล้าย ๆ กัน การเปลี่ยนงาน มักอยู่ไม่ค่อยนาน และชอบเข้าไปก่อน ใช้เหตุผลน้อยกว่าความรู้สึกเวลารับงาน พออยู่ไปสักพักเหตุผลเริ่มมีอิทธิพลมากกว่าเช่นงานหนัก ทีมไม่ดี แต่จะทนเพราะเหตุผลว่ากว่าจะได้งานนั้นใช้เวลา ใช้เหตุผลไตร่ตรอง จนสุดท้ายวนกลับมาที่ความรู้สึก ณ วันที่ตัดสินใจว่าไม่เอาแล้วอยากลาออก อย่างน้อยทำให้รู้ว่าอะไรที่เราไม่ชอบ สภาวะที่ต้องเลือกระหว่างสองสิ่งเลยใช้กับงานเป็นหลัก

เวลาทำงานก็มักจะมีเสียงจากทั้งลูกค้า คนอื่นมากมาย ที่เขาว่าดี Dieter Rams ที่เคยพูดถึงหลักการออกแบบสิบประการ Good Design is innovative แต่  Paul Rand บอก Don’t Try to be original, just try to be good แนวคิดของคนอื่นก็มาช่วยง้างก็ได้ แล้วแต่สุนทรียะส่วนตัว ดีไซน์เนอร์บางคนมีแนวคิดไปด้วยกันบางอันก็หักล้างกัน กระบวนการของศิลปินแต่ละคนย่อมต่างกัน

คุณโต้ ชอบการ Pre-Visualization ชอบเตรียมตัวก่อน แล้วลองเปลี่ยนเทคนิคไปเรื่อย ๆ จนพอลองถ่ายจริงแล้วไม่ได้ก็เปลี่ยน คุณเต้ย เวลาเลือกหนังมาฉายบางทีกังวลว่าคนจะมาดูมั้ยนะ สะท้อนกลับไปถึงกระบวนการคัดกรองหนังของตัวเองที่จะนำเสนอต่อพื้นที่ ย้อนกลับไปทบทวนว่าเราเลือกได้ถูกต้องไหม มีเสียงในหัวช่วยในการรีเช็คตัวเองมากขึ้น

เกี่ยวกับการจัดแสดงโปรเจคและอัพเดทงาน

กิจกรรมสุดท้าย อยากให้กลับไปลองมองโปรเจคตัวเอง ฟังเสียงในในว่าใช่หรือยัง ลองกลับไปใช้ความรู้สึกทบทวนงานดู เพราะก่อนหน้านี้เราทำตามโมดูลมาตลอด

คุณเติร์กเปิดงานตัวเองจากคลาส A Stone in Your mind ภาพแต่ละชิ้นต้องสื่อถึงหินแต่ผู้ชมไม่เห็นว่าหินอยู่ตรงนั้น เลือกชิ้นตรงกลางมาต่อยอด ซึ่งอยากนำเสนอเกี่ยวกับอนาคต แล้วไปหาบทกวีที่จะถูกหินทับ เพื่อทดลองว่ามันจะออกมาอย่างไร วิธีให้แดดเลียจนซีดไม่เวิร์กเพราะใช้เวลาเป็นปี ต่อมาลองใช้แอลกอฮอลเทคนิคอื่นช่วย ลองปริ้นท์ลงกระดาษใบเสร็จแล้วลองเอาแอลกอฮอลมาเช็ดให้เห็นรอยตัวอักษรขึ้น พอลองทำออกมารู้สึกว่าใช่ละ เป็นงานที่ใช้ความรู้สึกมากกว่าเหตุผล

งานจัดแสดงหัวข้อ Print is not dead เริ่มจากตีความ เนื้อหาที่เราสื่อให้แสดงความรู้สึกออกมาได้ดี เป็นรูปโพราลอยด์ที่อยู่ในกระเป๋าตังค์คู่กับไทโปเรียบๆ ภาพถ่าย (prints) ชิ้นนี้มีมูลค่าทางจิตใจมากกว่ารูปมากมายในมือถือเสียอีก

คุณเบลออกแบบปกหนังสือที่เกี่ยวกับแม่น้ำ ตอนเริ่มนำอารมณ์ตั้งก่อนว่าเราจะทำกระดาษให้เป็นแม่น้ำ แม่น้ำเหมือนการข้ามไปอีกฝั่งหนึ่งข้ามไปเผชิญกับชีวิตอีกฟากนึง การทำหนังสือเล่มนี้ต้องการแทนภาพแม่น้ำ ในระหว่างทำเหตุผลกับความรู้สึกมาคู่กัน ตอนที่เป็นงานจัดแสดงดีไซน์เนอร์ออกแบบว่าจะให้ผู้ชมรู้สึกอย่างไร เพราะผู้ชมจับชิ้นงานไม่ได้ แต่พอเป็นหนังสือคนสัมผัสได้ส่งผลให้ทำออกมาคนละแบบ

กระบวนการทำงานเริ่มต้นจากรูปแบบหนังสือจะเป็นตัวแทนเนื้อหา อ่านทำความเข้าใจ แล้วตีความว่าเป็นวิชวลอะไรได้บ้าง แต่ระหว่างทางกลายเป็นใช้ความรู้สึกแทน ลองทำออกมาหลายรูป เอาเหตุผลกลับมาจับว่าวิชวลที่เราจะนำเสนอคืออะไรเพื่อเลือกชุดภาพสุดท้าย อะไรจะเป็นสื่อที่สำคัญที่สุด ตอนใช้เป็นปกกับเนื้อในการจัดวางก็สร้างความหมายอีกแบบได้ เลือกผิวสัมผัสของปกที่ให้ความรู้สึกเหมือนทราย ด้วยความที่มีวิชวลเยอะตอนเปิดตัวหนังสือทำกระดาษห่อของขวัญเพิ่มไปในชุด เกิดเป็นเซ็ตชิ้นงาน กระบวนการและการสื่อสารกับผู้ชมที่อยู่ในงาน การไขว้ระหว่างเหตุผลและความรู้สึก ถ้าเปิดถูกจังหวะก็จะกลมกล่อมมากขึ้น ซึ่งผลงานชิ้นนี้มีการไปประกวดที่ต่างประเทศ ดีเบตระหว่างกรรมการน่าสนใจว่า กรรมการท่านหนึ่งมองว่าหนังสืออีกเล่มมีการออกแบบที่ครบเครื่อง แต่กรรมการอีกท่านอยู่ข้างหนังสือของพี่เบลเพราะมีวิชวล สุดท้ายด้วยเกณฑ์การประกวดอีกเล่มชนะไป หนังสือเล่มคุณเบลมี Sublime ที่สร้างความรู้สึกบางอย่างออกมา ผู้ดูมีความรู้สึกเปี่ยมล้นออกมาจนอธิบายไม่ได้ กรรมการท่านนั้นเห็นในจุดนี้ ในการตัดสินใจมีการปะทะระหว่างสองอย่างเสมอ หาจุดร่วมหาจุดเหมือน หาที่ดีทีสุดในแต่ละกลุ่ม แต่ละกลุ่มมีคอนเซปต์อยู่ เลือกที่มีช่องโหว่น้อยสุด พิจารณาในรายละเอียดด้วย อาจจะดึงแค่บางส่วนมาใช้ จะแมเนจอย่างไรให้ดูสวยที่สุดเช่นครอปเข้า ในกระบวนการมีการสวิตช์อยู่ตลอดเวลา

คุณเบส
อยากมีมิติหรือปฏิสัมพันธ์กับผู้ชม ไม่อยากให้เป็นภาพวาด อยากให้มีหลายรสชาติหน่อย ระหว่างที่นั่งฟังก็นึกถึงซองที่จะมาสวมการ์ดว่าจะเล่นอะไรได้ต่อ ยังพยายามคิดอยู่ ลองหลาย ๆ อย่างอยู่ อาจารย์ยกตัวอย่างงานศิลปินญี่ปุ่นท่านหนึ่งว่าเขาวาดงานเพื่อพิมพ์ เพื่อการสร้างกระบวนการให้ได้ผลลัพธ์อีกแบบ คุณเบสต้องการไพ่ไม่ได้ต้องการภาพวาด ถ้าต้องการภาพวาดก็เพ้นท์แล้วแขวนเลย

คุณแอล

ลองกระดาษใหม่จากที่ไปโรงพิมพ์กับคุณเบล กระดาษที่อาจารย์ติ๊กให้มาน้ำวิ่งไวมาก ลายที่ไม่ตั้งใจเกิดขึ้นเยอะมาก มันควรจะหายไปแต่กลับยังอยู่แต่พอเป็นวงก็ทำให้รู้สึกกระตุ้นโรคกลัวรู ลองหากระดาษเพิ่ม อย่างใน Arche ก็ทึบไปเลย ยังทดลองซ้ำ ๆ ไปเรื่อย ๆ  ชอบการหยดจากขวดสี ใช้แค่น้ำที่ใสกับหยดหมึกเลย แต่ยังไม่ค้นพบกระดาษกับผลลัพธ์ที่อยากได้ ผลลัพธ์ที่อยากได้ คืออยากให้เห็นการซึม บางทีก็เริ่มเซ็งตรงที่ลายเริ่มดูซ้ำ ๆ กัน เกิดคำถามว่าจะได้ที่อยากได้ไหม 

ความเห็นจากทีม PS±D พยายามทำขั้นตอนให้เหมือนกันหมด ภาพนิ่งอาจดูเหมือนกัน แต่จริง ๆ ในกระบวนการนั้นต่างกันเช่น มีการไหลกลับด้วย ตอนที่ทำสนใจว่า ตั้งคำถามกับตัวเองว่าเราต้องการอะไร เราต้องการกระบวนการภาพเคลื่อนไหวด้วยรึเปล่า ภาพที่แห้งแต่ละอันก็จะไม่เหมือนกันอีกต่อไป จากที่คุณแอลเล่าเพิ่งคิดได้ว่าน่าจะต้องลองบันทึกเป็นคลิปด้วย งานที่ออกมาดูน้อยแต่มากมักจะเป็นอย่างนี้เสมอ ผลลัพธ์ที่ออกมาดูเหมือนแต่ในกระบวนการอาจต่างกัน รูปปั้นทำด้วยไม้อันหนึ่งใช้กระดาษทรายค่อย ๆ ขัด กับอีกชิ้นใช้กระบวนการอีกแบบ เสียงที่เกิดขึ้นในใจว่าควรจะลองถ่ายวิดีโอ ลองฟังเสียงนั้น พักจากสิ่งที่คาดหวังมาหาสิ่งที่น่าสนใจ กระดาษแอ่นตัวทำให้เกิดการไหลกลับ สมมติฐานพวกนี้ลองปรับในการทดลอง น้ำหมึกน้ำเปล่าสลับกัน ความสูงในการหยด หากอยากให้ไปได้ไกลที่สุดลองกลับมาปรับรายละเอียดสมมติฐาน หรือลองแช่แข็ง ลองผสมสบู่ ลองเปิดดีไซน์โหมด อาจจินตนาการยากว่าต้องทำถึงเท่าไหร่ อาจลองให้ฟังก์ชันหรือท้าทายตัวเองว่ามีความหมายอะไร เช่นเมื่อได้ชุดภาพชุดวิดีโอ ลองตั้งโจทย์กับตัวเองว่าชุดภาพเล่านี้แทนบทกวีอะไรหรือสื่อถึงคำอะไร ภาพเหล่านี้จะทำหน้าที่อะไร อาจไม่ต้องสร้างความหมายตั้งแต่แรกเริ่มแต่ทำไปสักพักแล้วมันให้ความหมายอะไรแทนได้ ลองเปิดช่องให้ใช้สีอื่นดู คุณแอลมีภาพปลายทางอยู่ถ้าระหว่างทางเราค้นพบอะไรบางอย่าง ภาพปลายทางอาจไม่ใช่สารสำคัญแล้วก็ได้ อาจต้องวางภาพปลายทางที่คิดไว้ลงก่อน

คุณน้ำอุ่น

ลองพับเป็นพ๊อคเก็ตโน๊ต นึกอะไรได้ก็เขียนแล้วก็พับเก็บไว้ เรื่อง Free Writing แว่บขึ้นมา แต่ว่าติดเป็นคำเลยปรับเป็น Free Drawing ยังอยากวางแผนอะไรไปเรื่อย รวม ๆ ได้คลายความคิดออกมา แม้จะยังดูไม่เป็นรูปธรรมมากก็ตาม ทีม PS+D แนะนำสิ่งที่ archive จะน่าสนใจขึ้นเมื่อมีการระบุบริบทของมันด้วย ทำให้กลับไปแทรคชีวิตประจำวัน เครื่องมือแบบไหนจะเอื้อให้กับการเข้าไปอยู่ในชีวิตประจำวันได้ แล้วกลับไปรวมกับภาพใหญ่ได้ เพื่อให้เจตนาในการทำแสดงออกมา เห็นกระบวนการออกมา อะไรที่ไม่เวิร์กยังสามารถเก็บมาใช้ในการนำเสนอได้ อาจต้องเริ่มที่จะสรุปและหาระบบใหญ่ให้กับงาน วางแผนว่าจะรวมอย่างไรต่อ

คุณแก้ว
จากสัปดาห์ที่แล้วไปทดลองหามุมในการอ่านตัวอักษร ว่าจะกลับไปทดลองเรื่องตำแหน่งของแสดงให้สามารถอ่านแยกกับอ่านรวมได้ หลังจากที่คุยกันสัปดาห์ก่อนว่าจะเอาลวดกำมะหยี่กลับมาทดลองทำเพิ่ม ทีม PS±D ลอง simplify ว่าในความเป็นเส้นทำไมถึงเชื่อมกับผึ้ง เส้นลวดแทนผึ้งก็จะเปลี่ยนการสื่อสารถึงคอนเซปต์ การที่โฟกัสว่าเส้นเป็นตัวอักษรไหมแสดงว่ากำลังโฟกัสว่าเป็นตัวอักษรไหมมากกว่าสื่อถึงผึ้งอย่างไร ลองทำใหญ่ขึ้นอาจทำให้เห็นความเป็นไปได้มากขึ้น คิดให้เป็นธรรมชาติตัวเองเยอะ ๆ พาตัวเองกลับเข้ามาหาตัวเองให้มากขึ้นมากกกว่าโฟกัสที่การสร้างผลลัพธ์

คุณส้ม
ของเพิ่งมาส่งเลยยังไม่ได้ทำต่อ เสียงในหัวตลอดอาทิตย์คืออยากลองเจาะชามเซรามิคเพื่อมาห้อย จะเจาะอย่างไร อาจต้องลองไปปั้นดินมวลเบา หรือปรึกษามานาคราฟต์เผื่อมีอุปกรณ์เจาะแนะนำเพราะทางร้านทำเซรามิคเยอะ กระบวนการที่หาการเจาะก็น่าบันทึกไว้ จากโจทย์ที่เริ่มว่าอยากได้เสียงกุ๊งกิ๊งได้ผลลัพธ์ออกมาเป็นอย่างไร วางแผนซื้อของอย่างไร หรือถ้าไม่สำเร็จอาจตระเวนเก็บเสียงเพื่อหาเสียงกุ๊งกิ๊งที่อยากได้แทน

Realated Content

25 Jul 2024
EveryOne-O-One (2024) : Class Note #10
18 Jul 2024
EveryOne-O-One (2024) : Class Note #9
18 Jul 2024
EveryOne-O-One (2024) : Class Note #8
08 Jul 2024
ANATOMY OF MIND & IKKYO-SAN
HASHTAG