รายละเอียดและกําหนดการ

18 May – 18 Aug 2024 (รวมการจัดนิทรรศการแสดงผลงาน)
Every Saturday 1pm – 4pm
Venue: Mana Craft / Mana Craft Gallery
ราคา 55,000* บาท
*Early Bird Discount ลดราคา 3,000 บาท
*Alumni Discount ลดราคาอีก 10%

Program Initiated & Designed by PRACTICAL school of design ( PS±D )
Program Supervisor : ณัฏฐ์กฤตา นราพรพิพัฒน์ (Natkritta Narapornpipath)
©2024. All right reserved. PRACTICAL AND CO, Co., Ltd.

Course Outlines :

18 พ.ค. 2567
Introduction to design
Host: PS±D Full Team

เริ่มจากทําความรู้จักกัน แนะนําคอร์สและรูปแบบกิจกรรมในแต่ละเวิร์คช็อป กําหนดการ และการจัดแสดงผลงาน
และกิจกรรมเสวนาหัวข้อ What is design?

25 พ.ค. 2567
Designing Design Project 01 : อยากให้คนทุกแบบได้ออกแบบ
Host: PS±D Full Team

แนะนําเป้าหมายและกระบวนการของโปรแกรม DDP ให้แก่ผู้เข้าร่วม และกิจกรรมเสวนาหัวข้อ “เราออกแบบอะไร และ ทําไมเราจึงออกแบบ”

1 มิ.ย. 2567
EveryOne-O-1 : เข้า-แบบ
Host: ณัฐพงศ์ ดาววิจิตร (นัดดาว)

หากพูดถึงการ “ออกแบบ” หนึ่งในกระบวนการที่สําคัญคือการ “เข้าแบบ” หรือที่หลายๆ คนเรียกอย่างคุ้นเคยว่าเป็นการหาแรงบันดาลใจ การออกแบบให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีย่อมเริ่มต้นจากการรับที่ดี ไม่ว่าจะเป็นการมองเห็น สังเกต รู้สึก สัมผัส หรือแม้กระทั่งการพูดคุยก็ตาม การสนใจสิ่งหนึ่งให้ถึงที่สุด ทําให้เรามองเห็นความพิเศษของสิ่งนั้นมากยิ่งขึ้น มองเห็นความเชื่อมโยง เห็นความเปลี่ยนแปลง จนนํามาสู่ความเข้าใจต่อสิ่งที่เราสนใจในที่สุด

กิจกรรมนี้จะพาทุกคนไปสํารวจสิ่งรอบตัว ผ่าน ตา มือ และสมอง ชักชวนกันสังเกตผ่านการวาด ว่าเราเห็นอะไรบ้าง และเก็บอะไรได้บ้างจากสิ่งที่เรามองเห็น การวาดจะช่วยทําให้ค้นพบว่าอะไรคือสิ่งสําคัญ อะไรที่เราสนใจมันจริงๆ และอะไรที่จะปล่อยมันไป เพื่อให้สิ่งที่เราต้องการชัดเจนขึ้น การสํารวจช่องทางเข้าที่ละเอียดอ่อนและหลากหลาย จะทําให้เกิดคลังทางความคิดให้เราได้เลือกใช้อย่างอิสระ และที่สําคัญ… หากเราเริ่มต้นสายตาและมุมมองที่พิเศษ ก็จะเกิดความเป็นไปได้ที่ผลลัพธ์จะเป็นสิ่งที่พิเศษด้วยเช่นกัน

8 มิ.ย. 2567
EveryOne-O-2 : แยก-เยอะ-แยะ
Host: สันติ ลอรัชวี (ติ๊ก)

หลายคนอาจไม่คิดว่าการจัดหมวดหมู่ (Categorization) เป็นทักษะการออกแบบ แต่ในทางปฏิบัติแล้ว การแยกแยะ-จัดหมวดหมู่กลับเป็นทักษะที่สําคัญสําหรับความคิดสร้างสรรค์อย่างยิ่ง เนื่องจากมันช่วยให้เราเข้าใจโลกและจัดระเบียบสิ่งต่างๆ ได้อย่างมีความหมาย และช่วยให้เราสร้างโครงสร้างทางความคิดในการประมวลผลและจัดการข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

กิจกรรมนี้จะช่วยเปิดเผยโลกแห่งความสัมพันธ์และความเป็นไปได้ผ่านกระบวนการแยกแยะและการจัดหมวดหมู่สิ่งของในชีวิตประจําวันที่เราคุ้นเคย ทั้งในมิติทางกายภาพ สังคม วัฒนธรรม ยุคสมัย สถานที่ บทบาทหน้าที่ ฯลฯ อันเป็นขั้นตอนสําคัญที่ส่งผลต่อต่อกระบวนการอื่นๆ ทางความคิด ซึ่งจะนํามาประยุกต์ใช้ในชีวิตการทํางานและชีวิตส่วนตัวได้อย่างสร้างสรรค์และมีประสิทธิภาพ

15 มิ.ย. 2567
EveryOne-O-3 : ขยับ-ปรับ-โฟกัส
Host: สันติ ลอรัชวี (ติ๊ก)

ในโลกที่เต็มไปด้วยข้อมูลมากมายที่ถาโถมเข้ามาให้เราตัดสินใจว่าสิ่งใดเป็นประโยชน์หรือสิ่งไหนเป็นที่จําเป็นต่อเรา การสร้างกรอบความคิดในการรับรู้และการคัดสรรสิ่งต่างๆ จึงเป็นกลยุทธ์ที่จะช่วยให้เราสามารถเรียนรู้ได้ดีขึ้น เร็วขึ้น และมากขึ้น ภายใต้ความสับสนวุ่นวายและปัญหาที่แก้ไม่ตกมากมาย

กิจกรรมนี้ถูกออกแบบมาเพื่อเสริมทักษะการรื้อ-สร้างกรอบความคิด เพื่อแสวงหาความเป็นไปได้อื่นๆ และค้นพบแนวทางใหม่ๆในการสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ผ่านวัตถุสิ่งของในชีวิตประจําวันที่คุ้นเคย

22 มิ.ย. 2567
Designing Design Project 02 : พักสักครู่เพื่อชมสิ่งที่น่า “สนใจ”
Host: กนกนุช ศิลปวิศวกุล (เบล)

กิจกรรมสร้างสรรค์โครงการออกแบบที่เริ่มจุดประกายจากประเด็นที่ผู้เข้าร่วมแต่ละคน “สนใจ” และร่วมกันติดตามประเด็นเหล่านั้นเพื่อขยับขยายการสํารวจทั้งเชิงกว้างและเชิงลึก เพื่อเกิดความเข้าใจที่ลึกซึ้งและชัดเจนต่อสิ่งที่กําลังสนใจ จนสามารถยกระดับความสนใจนั้นเป็นเป้าหมายในการสร้างสรรค์ผลงาน

29 มิ.ย. 2567
EveryOne-O-4 : ทด-ลอง-กล้า
Host: กนกนุช ศิลปวิศวกุล (เบล)

“การลองผิดลองถูก (trial and error)” เป็นหนึ่งในรากฐานสําคัญของกระบวนการออกแบบและการสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ การ“ลอง” ในหลากหลายวิธี แล้ว “ทด” ไว้ว่าอะไรที่ควรไปต่อ อะไรควรหยุด ตรงไหนควรปรับ-เปลี่ยน-ย้าย-เพิ่ม-ลด กระบวนการนี้จึงเป็นทัศนคติที่สําคัญให้เราเกิดความกล้าและสนุกไปกับการค้นหาความเป็นไปได้ทั้งหลาย โดยไม่กลัว “ความล้มเหลว”

กิจกรรมนี้เกิดขึ้นเพื่อสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้เกิดความกล้าที่จะ “ทดลอง” และ “ลองทด” ความเป็นไปได้ทั้งหลาย ผ่านโจทย์ที่ท้าทายต่อพื้นที่ปลอดภัยของแต่ละคน จนค้นพบว่า… ภายใต้จุดหมายปลายทางเดียวกันนั้น มักมีเส้นทางเดินมากมายเกินกว่าเราคาดคิดไว้แต่แรก

6 ก.ค. 2567
EveryOne-O-5 : สร้าง-สรร
Host: รมิตา บุราสัย (มาย)

ทุกความคิดสร้างสรรค์ย่อมถูกต่อยอดไปสู่การทดลองและการจําลองตัวอย่างขึ้นมา เพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนขึ้น จนเรา
สามารถสํารวจสิ่งที่เกิดขึ้น ทั้งในแบบที่ได้คาดการณ์ไว้และที่นอกเหนือจากนั้น เพื่อให้เห็นแง่มุมและความเป็นไปได้ที่หลากหลายก่อนที่จะลงมือทําจริงได้อย่างรอบคอบแม่นยํา บ่อยครั้งที่กระบวนการ “สร้าง” จึงเป็นไปเพื่อ “การคัดสรร” จากต้นแบบที่หลากหลาย มากกว่าการ “สร้างเพื่อเสร็จ”

กิจกรรมสร้างสรรค์ฉากทัศน์ทางความคิดนี้ จะชวนทุกคนมาลองทําความเข้าใจและมีประสบการณ์ในการสร้างต้นแบบ (prototype) จากโจทย์ที่สนุกท้าทาย ผ่านกระบวนการพัฒนาความคิดของเราให้ออกมาเป็นรูปธรรม (implementation)

13 ก.ค. 2567
Designing Design Project 03 : “เสนอสิ่งที่สนใจให้น่าสนใจ”
Host: กนกนุช ศิลปวิศวกุล (เบล)

กิจกรรมนี้จะช่วยผลักดันความคืบหน้าของโครงการออกแบบ ด้วยการการนําเสนอแบบจําลองทางความคิด พร้อมชิ้นงานที่ทดลองทํา โดยมุ่งสร้างให้เกิดความเข้าใจและความน่าสนใจของโครงการ ด้วยการร่วมกันผลักดันและแลกเปลี่ยนจากเพื่อนร่วมชั้นเรียน

20 ก.ค. 2567
EveryOne-O-6 : สัมผัส-รับ-รู้สึก
Host: จักรพันธ์ สุวรรณะบุณย์ (เติร์ก)

กระบวนการออกแบบนั้นเป็นกิจกรรมที่ผสมผสานความเข้าอกเข้าใจ ตรรกะเหตุผล จินตนาการ และความรู้สึก โดยเฉพาะสิ่งที่เป็นนามธรรมอย่างความรู้สึกซึ่งเป็นสิ่งสําคัญที่ควรคํานึงถึง เนื่องจากเป็นสิ่งที่คนแต่ละคนมีบรรทัดฐานในใจแตกต่างกัน การกลับมาให้ความสําคัญกับทั้งความรู้สึกตนเองและผู้อื่น น่าจะสามารถนํามาปรับใช้ในการออกแบบชีวิตประจําวันได้อย่างมีชีวิตชีวาเป็นธรรมชาติ

กิจกรรมสนทนา Feel the Gap จะเชิญวิทยากรที่มีประสบการณ์สร้างสรรค์มาร่วมสนทนาแลกเปลี่ยนมุมมอง ที่จะชวนกันคิดถึงความผูกพันระหว่างกระบวนการสร้างสรรค์กับความรู้สึก ทั้งในฐานะผู้สร้างสรรค์ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ผู้ใช้งาน หรือจะเป็นผู้พบเห็นก็ตาม

27 ก.ค. 2567
EveryOne-O-7 : จัด-สลับ-จับ-วาง
Host: ณัฐพงศ์ ดาววิจิตร (นัดดาว)

การจัดวาง (composition / installation) เป็นเหมือนประตูเชื่อมระหว่างผู้ชมกับความคิดที่เราต้องการนําเสนอ หากเราจัดวางได้ถูกที่ถูกเวลา ผู้ชมก็จะเข้าถึงสิ่งที่เราตั้งใจได้ง่ายขึ้น สัดส่วน ขนาด อากาศ แสง ตําแหน่ง วิธีติดตั้ง ระยะการมอง และปัจจัยอีกมากมายนั้น ล้วนส่งผลกับความคิดที่เราต้องการนําเสนอ คงจะดีไม่น้อยหากเราเข้าใจและเห็นทางเลือกในการนําเสนองานที่หลากหลายและละเอียดอ่อนยิ่งขึ้น

กิจกรรมนี้จะพาทุกคนมาสร้างประสบการณ์กับพื้นที่จริง ผู้เรียนจะได้พบความแตกต่างของอารมณ์ความรู้สึกที่เกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างกับผลงานกับพื้นที่แวดล้อม โดยทุกคนจะได้ทดลองการติดตั้งผลงานในรูปแบบต่างๆ และร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองกับผู้ร่วมชั้นเรียน

10 ส.ค. 2567 – 18 ส.ค. 2567
Designing Design Project 04 : แบบ-ออก
Host: PS±D Full Team

รากศัพท์ของคําว่า design มาจากภาษาละติน อันประกอบไปด้วยคําว่า De- ที่แปลว่า Out และ Signare ที่แปลว่า To Mark แปลตามศัพท์ได้ว่า To Mark Out ซึ่งมีความหมายเท่ากับคําว่า “ออกแบบ” ในภาษาไทยนั่นเอง ในแนวทางการเรียนรู้การออกแบบของ PS±D นั้น มองว่าการเอา “แบบ” ทางความคิด “ออก” มาแสดงให้ผู้อื่นเห็นและเกิดการแลกเปลี่ยนกันนั้น เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่สําคัญอย่างยิ่ง เพราะเมื่อเราพยายามอย่างเต็มที่ในการแสดงออกให้ผู้อื่นได้เข้าใจนั้น ย่อมจะได้รับความคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่มีคุณค่ากลับมาจนเกิดกระบวนการ “ถอดบทเรียน (lesson learned)” ให้กับทุกคนในชั้นเรียน ไม่เว้นแม้กระทั่งผู้สอน

การนําเสนอผลงานผ่านรูปแบบการจัดนิทรรศการนั้น จึงเป็นบทส่งท้ายเพื่อใช้สร้างบทสนทนา มุมมอง ข้อแลกเปลี่ยน คําติชมและกําลังใจ ทั้งจากผู้สอน ผู้เรียนด้วยกันเอง รวมไปถึงผู้ชมงาน ทั้งนี้ทีม PS±D ที่มีประสบการณ์ในการจัดนิทรรศการสร้างสรรค์จะคอยสนับสนุนทั้งการติดตั้งผลงาน การจัดการพื้นที่ สื่อประชาสัมพันธ์ และสูจิบัตรนิทรรศการให้อีกด้วย

10 ส.ค. 2567 – 18 ส.ค. 2567
EveryOne-O-8 : คิด-ว่า-ดี
Host: PS±D Full Team

กิจกรรมส่งท้ายที่ตั้งใจจะฝากคําถามสําคัญเกี่ยวกับ “good design” ให้กับทุกคนติดหัวออกไป ผ่านการจัดนิทรรศการที่ผู้เรียนทุกคนจะได้คัดสรรผลงานออกแบบที่แต่ละคน “คิดว่าดี” มานําเสนอประกอบเหตุผล ด้วยความคาดหวังที่จะขยับขยายกรอบการประเมิน “การออกแบบที่ดี” ให้กว้างขวางและหลากหลายยิ่งขึ้น ด้วยความเชื่อว่าการออกแบบนั้นเกิดขึ้นด้วยจุดมุ่งหมายหลักเดียวกัน คือ “การทําให้ดีขึ้น”