Host:
สันติ ลอรัชวี
รูปแบบการอบรม:
- เวิร์คช็อป
- การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
- การทําแบบฝึกหัดและการบ้าน
- การบรรยายและสนทนา
- การนําเสนอต่อชั้นเรียน
- การอ่านและค้นคว้า
- การจัดแสดงผลงาน
รายละเอียดและกําหนดการ
Coming Soon
Course Outlines :
โยนหินถามทาง
เริ่มจากโยนหินถามไถ่ทําความรู้จักกัน แนะนําคอร์สและรูปแบบกิจกรรมในแต่ละเวิร์คช็อป กําหนดการ และการจัดแสดงผลงานและกิจกรรมเสวนาหัวข้อ “การออกแบบความหมาย”
เราเป็นก้อนหินแบบไหน
กิจกรรมสํารวจตนเองผ่านการจําลองตัวแทน (representation) ของผู้เรียนเป็น “ก้อนหินหนึ่งก้อน” ในมิติต่างๆ เริ่มตั้งแต่ด้านองค์ประกอบทางกายภาพ บริบทแวดล้อม ธรณีวิทยา ความเชื่อ ความหมายทางวัฒนธรรม ตลอดจนความรู้สึกส่วนบุคคล
ก้อนหินในรองเท้า
กิจกรรมทดลองสร้างแบบจําลองตัวแทน (representation) ผ่าน “ก้อนหินหนึ่งก้อน” ที่ตกตะกอนมาจากการสํารวจ
(discover) และสืบค้น (investigation) อย่างเข้มข้น เพื่อค้นหาและคัดสรรความคิดที่สนใจจะยกระดับต่อไป
หิน เหล็ก ไฟ
กิจกรรมบรรยายและแลกเปลี่ยนหัวข้อ “สัญศาสตร์: หิน เหล็ก ไฟ ของการออกแบบ” เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจสัญศาสตร์การออกแบบ (design semiotics) พื้นฐานและการนําไปใช้ในการสร้างสรรค์ผลงาน
นี่ไม่ใช่หิน! (1)
กิจกรรมนําเสนอแนวคิดของผลงานของผู้เรียนที่จะสร้างสรรค์ขึ้น จากกระบวนการก่อนหน้า เพื่อนําไปสู่การการจัดแสดงผลงาน โดยจะเน้นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันระหว่างผู้ร่วมชั้นเรียน
นี่ไม่ใช่หิน! (2)
กิจกรรมพัฒนาแนวคิดของผลงานของผู้เรียนที่จะสร้างสรรค์ขึ้น จากกระบวนการก่อนหน้า เพื่อนําไปสู่การการจัดแสดงผลงาน โดยจะเน้นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันระหว่างผู้ร่วมชั้นเรียน
นี่ไม่ใช่หิน! (3)
กิจกรรมนําเสนอต้นแบบผลงานของผู้เรียนรายบุคคล โดยครั้งนี้จะเน้นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันในบริบทของ
การนําเสนอผลงาน (presentation)
นิทรรศการ “A Stone In Your Mind (04) 2024”
การนําเสนอผลงานของผู้เรียนผ่านรูปแบบการจัดนิทรรศการที่เป็นบทส่งท้ายเพื่อใช้สร้างบทสนทนา มุมมอง ข้อแลกเปลี่ยนคําติชม และกําลังใจ ทั้งจากผู้สอน ผู้เรียนด้วยกันเอง รวมไปถึงผู้ชมงาน ทั้งนี้ทีม PS±D ที่มีประสบการณ์ในการจัดนิทรรศการสร้างสรรค์จะคอยสนับสนุนทั้งการติดตั้งผลงาน การจัดการพื้นที่ สื่อประชาสัมพันธ์ และสูจิบัตรนิทรรศการให้อีกด้วย
±เกี่ยวกับผู้สอน
สันติ ลอรัชวี ผู้ร่วมก่อตั้ง PRACTICAL school of design / PRACTICAL design studio เป็นอาจารย์สอน
การออกแบบสื่อสารให้กับหลายมหาวิทยาลัยมาร่วม 25 ปี ปัจจุบันก่อตั้งสตูดิโอออกแบบร่วมกับ “โซซู” สุนัขสีขาว
ภายใต้ชื่อ สันติวิธีออกแบบ
±คอร์สนี้เกี่ยวกับอะไร
A Stone In Your Mind เป็นคอร์สที่ปรับปรุงและพัฒนารูปแบบการเรียนรู้มาจากประสบการณ์การสอนวิชา
Design Semiotics กว่า 10 ปี ให้เหมาะสมกับทุกๆ คน จึงไม่ได้เป็นการเรียนโดยยึดโยงกับทฤษฎีมากเกินไป
แต่เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับกระบวนการเกิดขึ้นของความหมายต่างๆ รอบตัวเราผ่าน “ก้อนหิน” หนึ่งก้อน ตลอด 8
สัปดาห์ เป็นการเรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติ ที่จะสร้างความเข้าใจและเชื่อมโยงไปสู่การนําไปใช้ในชีวิตประจําวัน
±ทําไมต้องเป็น “ก้อนหิน”
ก้อนหินเป็นสิ่งที่แทบทุกคนสามารถพบเจอได้ในชีวิตประจําวัน หลายคนเหยียบยํ่า มองผ่าน หรือไม่เคยให้ความ
สนใจ ก้อนหินใน A Stone In Your Mind จะทําหน้าที่เป็นสื่อกลางการเรียนรู้ เพื่อสร้างความเข้าใจถึงกระบวนการ
เกิดขึ้นของความหมาย ผ่านก้อนหินที่มีลักษณะคล้ายกันและต่างกัน ที่เราพบเจออยู่ทุกวัน ว่าสามารถสร้างความ
หมายที่แตกต่างกันหรือเหมือนกันได้อย่างไร และเพราะอะไร
±คอร์สนี้เหมาะกับใคร
คอร์สนี้ถูกออกแบบมาสําหรับทุกคน โดยมีความตั้งใจให้ผู้ที่ได้เข้าร่วมได้มีประสบการณ์และได้ทําความรู้จักกับ
Semiotics ที่กลมกลืนอยู่ในชีวิตประจําวัน สัญญะเป็นสิ่งที่อยู่รอบตัวเรา มีบทบาททางความคิดและส่งผลถึง
การกระทํา การมองเห็นและทําความเข้าใจกระบวนการเกิดขึ้นของความหมาย จะช่วยให้เรามองโลกและรับรู้สิ่ง
ต่างๆ รอบตัวได้ละเอียดมากขึ้น และสามารถนําไปปรับใช้กับการทํางานและการสื่อสารในชีวิตประจําวันได้ดียิ่งขึ้น
±รูปแบบการเรียนรู้เป็นอย่างไร
รูปแบบการเรียนรู้ตลอด 8 สัปดาห์ ถูกออกแบบอย่างพิถีพิถันเพื่อสร้างประสบการณ์ให้กับผู้เข้าร่วม โดยมีรูปแบบ
การเรียนรู้ที่หลากหลาย ผ่านการอ่าน ผ่านบทสนทนา ไปจนถึงการลงมือปฏิบัติ และปิดท้ายด้วยการการจัด
นิทรรศการเต็มรูปแบบ เพื่อนําเสนอผลการเรียนรู้ซึ่งเป็นกลไกสําคัญที่จะสํารวจและสะท้อนความคิดของผู้เรียน
แต่ละคนออกไปสู่ผู้ชมในวงกว้าง
บทนํา
A Stone In Your Mind (SIM) เป็นกิจกรรมสร้างเสริมประสบการณ์ที่ปรับปรุงและพัฒนารูปแบบมาจาก
ประสบการณ์การสอนวิชา Design Semiotics ให้เหมาะกับทุกๆ คน โดยมีความตั้งใจให้ผู้ที่เข้าร่วมได้มี
ประสบการณ์และได้ทําความรู้จักกับสัญญะ (sign) ที่กลมกลืนอยู่ในชีวิตประจําวัน และมีอิทธิพลทางความคิดจน
ส่งผลถึงการกระทําของเราแต่ละคน ดังนั้นการมองเห็นและทําความเข้าใจกระบวนการเกิดขึ้นของความหมายในสิ่ง
ต่างๆ จะช่วยให้เรามองโลกและรับรู้สิ่งต่างๆ รอบตัวได้ละเอียดยิ่งขึ้น จนสามารถนําไปปรับใช้กับการทํางานและการ
สื่อสารในชีวิตประจําวันได้
แม้ว่า SIM จะตั้งอยู่บนพื้นฐานสัญศาสตร์ก็ตาม แต่กระบวนการเรียนรู้จะไม่ได้ยึดโยงกับทฤษฎีมากเกินไป หากแต่
จับจุดมุ่งหมายหลักของแนวคิดหลังโครงสร้างนิยม ด้วยการสํารวจ แยกส่วน ถอดรื้อ และประกอบขึ้นใหม่ ผ่าน
ความหมายและบริบทแวดล้อมของ “ก้อนหินก้อนหนึ่ง” เป็นการเรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติและพูดคุย เพื่อขยับ
ขยายความเข้าใจและเชื่อมโยงไปสู่การนําไปใช้ในชีวิตประจําวัน
ทําไมต้องเป็นสัญศาสตร์
กล่าวให้ง่าย… สัญศาสตร์ (Semiotics) คือการสืบสวน (investigation) ถึงกระบวนการที่ความหมายถูกสร้าง
ขึ้นต่อมนุษย์เรา รวมไปถึงวิธีมนุษย์สื่อสารความหมายต่างๆ ต่อกัน ต้นกําเนิดมาจากด้านภาษาศาสตร์ โดยมุ่ง
ศึกษาว่า “สัญญะ (sign) ต่างๆ นั้น สร้างความหมายต่อเราได้อย่างไร ?” สัญศาสตร์ยังเป็นวิธีการมองโลกและการทําความเข้าใจว่าภูมิทัศน์และวัฒนธรรม (landscape and culture) ที่เราอาศัยอยู่มีผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อเราทุกคนโดยไม่รู้ตัว
การกระทําและความคิดของเรา – สิ่งที่เราทําโดยอัตโนมัติ – มักจะถูกควบคุมโดยสารและข้อตกลงทางวัฒนธรรมที่
สลับซับซ้อน และขึ้นตรงอยู่กับความสามารถของเราในการตีความตามสัญชาตญาณอย่างทันทีทันใด ตัวอย่างเช่น
เมื่อเราเห็นสีต่างๆ ของสัญญาณไฟจราจร เราจะรู้โดยอัตโนมัติว่าจะตอบสนองต่อสีเหล่านั้นอย่างไร เรารู้เรื่องนี้โดย
ไม่ต้องคิด แต่จริงๆ แล้ว สัญญาณไฟนี้เป็นสัญญะซึ่งถูกกําหนดขึ้นโดยเงื่อนไขทางวัฒนธรรมมาเป็นเวลานาน เรา
เรียนรู้ตั้งแต่ยังเป็นเด็ก แต่เราก็จําเป็นต้องใช้ความรู้ทางวัฒนธรรมนี้ (โดยไม่รู้ตัว) จึงจะเข้าใจความหมายของมัน
ได้
การมองและการตีความ (หรืออาจเรียกว่าการถอดรหัส) สัญญะทั้งหลายนี้ ช่วยให้เราสามารถสํารวจภูมิทัศน์ของ
ถนนและสังคมของเราได้
ทุกคนเป็นนักสัญศาสตร์ เพราะทุกคนมักจะตีความความหมายของสัญญะต่างๆ รอบตัวโดยไม่รู้ตัว ตั้งแต่
สัญญาณไฟจราจรไปจนถึงสีของธง รูปทรงของรถยนต์ รูปแบบทางสถาปัตยกรรม และการออกแบบบรรจุภัณฑ์
ทั้งหลายในร้านสะดวกซื้อ เป็นต้น
แน่นอนว่าสัญญะไม่จําเป็นต้องเป็นภาพเท่านั้น แต่อาจเป็นเสียง กลิ่น รส และสัมผัสได้เช่นกัน เช่น เสียงไซเรนของ
ตํารวจ กลิ่นหรือรสชาติอาหาร หรืออุณหภูมิของสิ่งที่เราสัมผัส
เรารู้ว่าการยกนิ้วโป้งขึ้นหมายความว่าอย่างไรได้บ้าง
โอเค! จักรพรรดิโรมันก็เคยใช้สัญญาณนี้เพื่อส่งสัญญาณว่าจะให้นักสู้คนนี้จะมีชีวิตอยู่หรือไม่
ตรงกันข้าม หากควํ่านิ้วโป้ง นั่นหมายถึงความตาย!
แต่ในการดํานํ้าสกูบาสัญญะนี้หมายถึงการขึ้นสู่ผิวนํ้า
แต่หากคุณไปยกนิ้วโป้งข้างถนนหมายความว่าคุณต้องการโบกรถ
กล่าวอีกนัยหนึ่ง เราจําเป็นต้องเข้าใจบริบทในการสื่อสารสัญญะเพื่อที่จะเข้าใจความหมายที่แท้จริงของมัน
จนสามารถตอบสนองได้อย่างเหมาะสม สิ่งที่เกิดขึ้นรอบๆ สัญญะมักจะสําคัญพอๆ กับที่เราจะต้องรู้จักสัญญะนั้น
เพื่อการตีความความหมายของสัญญะนั้นได้อย่างถูกต้อง
สัญศาสตร์จึงเป็นเครื่องมือสําคัญเพื่อให้แน่ใจว่าความหมายที่ตั้งใจไว้ จะถูกเข้าใจได้อย่างชัดเจนโดยผู้รับ โดยปกติ
แล้วมันจะมีเหตุผลเสมอหากมีคนไม่เข้าใจเจตนาที่แท้จริงของสารที่เราส่งออกไป สัญศาสตร์จึงสามารถช่วย
คลี่คลายความสับสนนั้น และรับรองความชัดเจนของความหมาย
ถึงตรงนี้ จึงอยากยํ้าว่า การรู้ว่าสิ่งต่างๆ มีความหมายอย่างไร อาจไม่ใช่เป้าหมายของการศึกษาสัญศาสตร์
หากแต่เราควรจะสนใจในกระบวนการเกิดขึ้นของความหมายในสิ่งต่างๆ (semiosis) ต่างหาก นั่นเป็นสิ่งที่เราสนจะ
ใส่ใจ อาจเรียกได้ว่าเราจะเพ่งความสนใจไปที่ความหมายต่างๆ ที่เกิดขึ้นต่อเราได้อย่างไร มันแพร่หลายจนเป็นที่รับรู้
ในวงกว้างได้อย่างไร มันเสื่อมลงและเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยและวัฒนธรรมต่างๆ ได้อย่างไร เป็นต้น
สัญญศาสตร์เริ่มต้นจากการค้นคว้าเชิงวิชาการเกี่ยวกับความหมายของคํา (ภาษาศาสตร์) จนได้ย้ายไปสู่การ
ตรวจสอบพฤติกรรมของผู้คน (มานุษยวิทยาและจิตวิทยา) จากนั้นจึงพัฒนามาเป็นคําถามในวัฒนธรรมและสังคม
(สังคมวิทยาและปรัชญา) ต่อมายังข้ามไปช่วยเหลือการวิเคราะห์ผลิตผลทางวัฒนธรรมอย่าง ภาพยนตร์
วรรณกรรม ทฤษฎีวิจารณ์ศิลปะ งานออกแบบ และล่าสุดได้กลายเป็นวิธีการสําหรับการวิจัยและวิเคราะห์
พฤติกรรมผู้บริโภคและการสื่อสารแบรนด์ ที่นักออกแบบแบรนด์เริ่มใช้ภูมิหลังทางสังคมศาสตร์ ด้วยการคิดเชิง
สัญศาสตร์เพื่อให้ลูกค้าเข้าใจความหมายเชิงการค้าของวัฒนธรรมรอบๆ แบรนด์และผลกระทบที่มีต่อผู้บริโภค
สุดท้ายนี้สัญศาสตร์ก็ยังเป็นวิธีการมองโลกที่เราอาศัยอยู่ ว่าสิ่งต่างๆ รอบตัวเรานั้น ล้วนประกอบสร้างคุณค่าและ
ความหมาย อันมีอิทธิพลและผลกระทบต่อการดําเนินชีวิตประจําวันของเราทุกคนโดยไม่รู้ตัว การศึกษาสัญศาสตร์
จึงเปรียบเหมือนการเพ่งมองโลกแบบภาพสโลโมชั่น แฟลชแบ็ค แฟลชฟอร์เวิร์ด ด้วยมุม 360º นั่นเอง ทั้งนี้ก็เพื่อให้
เราได้สํารวจชีวิตประจําวันในฐานะแหล่งเรียนรู้ จนสามารถนําไปประยุกต์ใช้ในการดําเนินชีวิตต่อไปได้อย่างละเอียด
ลึกซึ้งยิ่งขึ้น